วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

8. เศรษฐกิจการท่องเที่ยวในโลก

8.เศรษฐกิจการท่องเที่ยวในโลก ศึกษาเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในภูมิภาคต่าง ๆ ส่วนแบ่งตลาดการท่องเที่ยวในยุโรป เอเชีย อเมริกา แอฟริกา ออสเตรเลียและโอเชียเนีย





สรุปสถานการณ์ท่องเที่ยวปี 2553

§ 
§ 
Published on Thursday, 05 May 2011 09:53
Written by สิรินาถ นุชัยเหล็ก
Hits: 5883
สรุปภาพรวมการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศปี  2553

จากรายงานข้อมูลขององค์การการท่องเที่ยวโลก UNWTO World Tourism Barometer  ณ เดือนเมษายน 2554  สรุปว่า สถานการณ์การเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ในปี 2553 มีการฟื้นตัวอย่างเข้มแข็ง แม้ว่าจะมีความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจคงอยู่ในบางตลาด พร้อมกับการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ และปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองและสังคมในบางประเทศ     โดยมีนักท่องเที่ยวเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศ จำนวน ทั้งสิ้น 940 ล้านคน อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.6  เป็นอัตราการเติบโตที่กลับมาขยายตัว หลังจากที่จำนวนการเดินทางนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศได้หดตัวลงในปี 2552 ในอัตราร้อยละ 3.8 จากการได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรงที่สุด   ดังนั้น
ในปี 2553 ประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางทั่วโลกจึงมีจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศปรับเพิ่มขึ้นมากจนสามารถชดเชยความสูญเสียที่เพิ่งผ่านพ้น     อย่างไรก็ตาม   การฟื้นตัวของประเทศต่างๆ ก็มีความเร็วแตกต่างกัน  โดยเริ่มต้นฟื้นตัวจากการขับเคลื่อนของประเทศเขตเศรษฐกิจเกิดใหม่   ทั้งนี้ สามารถจำแนกตามรายภูมิภาคได้ดังต่อไปนี้




เอเชีย มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13  หรือมีจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ 204 ล้านคน โดยเป็นภูมิภาคแรกที่มีการฟื้นตัว และเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งที่สุด

แอฟริกา มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ หรือมีจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ 49 ล้านคน  โดยเป็นภูมิภาคเดียวที่มีการเติบโตเป็นบวกต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากแรงขับเคลื่อนทางด้านเศรษฐกิจ และการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาฟุตบอลโลก World FIFA Cup 2010 ที่ประเทศแอฟริกาใต้

ตะวันออกกลาง มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 14 หรือมีจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ 60 ล้านคน โดยเกือบทุกประเทศกลับมาขยายตัวในอัตราสูงกว่าร้อยละ 10

ยุโรป    มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 หรือมีจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ 477 ล้านคน ซึ่งฟื้นตัวได้ช้ากว่าภูมิภาคอื่น ๆ เนื่องจากการจราจรทางอากาศได้หยุดชะงักไป จากการเกิดเหตุภูเขาไฟ ระเบิด และความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจของภูมิภาคยุโรป ทำให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงมาก

อเมริกา มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ หรือมีจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ 150 ล้านคน นับเป็นการฟื้นตัวจากปี 2552  ที่ประสบความยุ่งยากทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในแถบอเมริกาเหนือ และผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ (H1N1)  ดังนั้น ในปี 2553 จึงเป็นการกลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง  จากปัจจัยทางเศรษฐกิจ ทั้งการกลับมาขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศสหรัฐฯ  และการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของประเทศในกลุ่มลาตินอเมริกา  ขณะที่ ประเทศในกลุ่มอเมริกากลางและอเมริกาใต้ สามารถฟื้นตัวได้ในระดับดี 

สำหรับ ประเทศไทย อัตราการขยายตัวทางด้านจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ เติบโตร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แม้จะประสบวิกฤติทางการเมืองในช่วงเดือนเมษายน พฤษภาคม  โดยเป็นการเติบโตไปในลักษณะเดียวกับภาพรวมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีอัตราการขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 เช่นกัน  

สรุปสถานการณ์นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทยปี 2553 


ภาพรวมสถานการณ์ตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์นักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทยรายถิ่นพำนัก ปี 2553 มีจำนวนทั้งสิ้น  15.93 ล้านคน อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.63 ซึ่งเป็นการกลับมาเติบโตได้ดีอีกครั้งหลังสิ้นเหตุการณ์วิกฤติการเมืองไทย

ภูมิภาคที่มีการขยายตัวเข้าสู่ภาวะปกติและต่อยอดจากปี 2551  คือ อาเซียน ยุโรป เอเชียใต้ โอเชียเนีย  ตะวันออกกลาง แอฟริกา และในท้ายที่สุดเป็นภูมิภาคเอเชียตะวันออกที่สามารถเร่งอัตราการเติบโตได้ดีในช่วงครึ่งปีหลัง ทำให้กลับมาอยู่ในระดับเดียวกับเมื่อปี 2551 โดยมีเพียง ภูมิภาคอเมริกา ที่ยังต้องรอเวลาฟื้นตัว

จากปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของตลาดต่างประเทศ ดังต่อไปนี้
1. ศักยภาพอันแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ทำให้สามารถฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติได้อย่างรวดเร็วเมื่อสิ้นเหตุการณ์วิกฤติ 
2. การฟื้นตัวของภาพรวมเศรษฐกิจโลก แม้ว่า ภาวะเศรษฐกิจในบางภูมิภาคจะมีการฟื้นตัวเป็นไปอย่างเชื่องช้าและค่อนข้างเปราะบาง
3. การดำเนินงานฟื้นฟูตลาด อาทิ การจัด Road Show ในพื้นที่ตลาดเพื่อเร่งสร้างความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวให้กลับคืนมาโดยเร็ว การดำเนินการตลาดแบบ Hard Sale  การส่งเสริมการตลาดร่วมกับสายการบินและบริษัทนำเที่ยวในลักษณะ Hand  in  Hand Partnership  รวมทั้ง มาตรการขยายเวลายกเว้นค่าธรรมเนียมในการตรวจลงตราเข้าประเทศไทย และการลดหย่อนค่าธรรมเนียมในการ Parking and Landing   สำหรับเที่ยวบินเช่าเหมาลำ เป็นต้น



ขณะที่ต้องเผชิญกับปัจจัยที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเดินทางท่องเที่ยว 
ดังต่อไปนี้
1. การแข็งค่าของเงินบาท เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินสกุลหลักอื่น ทั้งดอลลาร์สหรัฐ ยูโร และปอนด์  สเตอริง  โดยค่าเงินสกุลบาทที่แข็งค่าเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย ยกเว้น ค่าเงินสกุลด่องของประเทศเวียดนามที่มีการอ่อนค่าลงเช่นเดียวกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ 
2. เหตุการณ์ความไม่สงบภายในประเทศไทย ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการเดินทางเข้าประเทศ
3. วิกฤติภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั้งในตลาดต่างประเทศ และในประเทศไทย เช่น ภูเขาไฟใต้น้ำระเบิดที่ประเทศไอซ์แลนด์ อุทกภัยครั้งใหญ่ในประเทศปากีสถาน ปัญหาหมอกควันปกคลุมทั่วกรุงมอสโก เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งแรกอย่างรุนแรงช่วงเดือนธันวาคม ที่เมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์  หรือแม้กระทั่งการเกิดเหตุอุทกภัยหลายพื้นที่ของประเทศไทย  ในช่วงปลายปี 2553

ความเคลื่อนไหวสถานการณ์ตลาดต่างประเทศจำแนกรายไตรมาสปี 2553 

สถานการณ์ท่องเที่ยว ในช่วงไตรมาส 1 : 
มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทย ทั้งสิ้น 4.65 ล้านคน อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 27.83   โดยเป็นการฟื้นตัวเข้าสู่แนวโน้มปกติ และต่อยอดจากปี 2551 จากปัจจัยสนับสนุนหลักทางด้านภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังฟื้นตัว และไม่เกิดเหตุความวุ่นวายภายในประเทศ ประกอบกับแรงส่งของการส่งเสริมการท่องเที่ยว พร้อมทั้ง มาตรการสนับสนุนของรัฐบาล ในช่วงที่ผ่านมา โดยเกือบทุกกลุ่มตลาดกลับมาขยายตัวได้สูงและต่อยอดจากปี 2551 ยกเว้น เอเชียตะวันออก และอเมริกา

สถานการณ์ท่องเที่ยว ในช่วงไตรมาส 2 : 
มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทย ทั้งสิ้น 2.89 ล้านคน อัตราการหดตัวร้อยละ 2.17   ซึ่งเป็นผลจากปัญหาความยืดเยื้อของเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองที่ได้เริ่มมาตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม 2553 ได้มีการพัฒนาไปสู่ความตึงเครียดเป็นระยะ ๆ นำไปสู่บรรยากาศที่ไม่เอื้อต่อการเดินทางท่องเที่ยว จนมีการประกาศใช้ พรก. ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในช่วงเดือนเมษายน 2553 และท้ายที่สุดได้มีการประกาศห้ามออกนอกเคหะสถานในยามค่ำคืน (เคอร์ฟิวส์) ในช่วงระหว่างวันที่ 19-28 พฤษภาคม 2553 จึงทำให้รัฐบาลในต่างประเทศประกาศห้ามการเดินทางเข้าพื้นที่ กรุงเทพมหานครหรือเดินทางเข้าประเทศไทย จำนวน 17 ประเทศ 2 เขตการปกครอง (ฮ่องกง ไต้หวัน) นอกจากนี้ ยังมีการประกาศเตือนให้ทบทวนการเดินทางเข้าประเทศไทย ในจำนวน 23 ประเทศ และกอปรกับในช่วงเวลาดังกล่าวได้เกิดเหตุภูเขาไฟระเบิดในประเทศไอซ์แลนด์  ในช่วงเดือนเมษายน 2553 ทำให้สายการบินจากประเทศในกลุ่มยุโรปจำนวนมากต้องยกเลิกการให้บริการ จึงเป็นแรงกดทับต่อการลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทยในช่วงเวลานั้น 

อย่างไรก็ตาม เมื่อเหตุการณ์วิกฤติต่าง ๆ ได้คลี่คลายลง และรัฐบาลในต่างประเทศมีการปรับลดระดับประกาศคำเตือนการเดินทางเข้ามายังประเทศไทย ทำให้สถานการณ์ท่องเที่ยวไทยมีการปรับตัวดีขึ้น ตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาส 2 เป็นต้นมา  ทั้งนี้  กลุ่มตลาดที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเมืองของประเทศไทยมากที่สุด คือ เอเชียตะวันออก ส่วนกลุ่มตลาดอื่นได้รับผลกระทบไม่มากและสามารถฟื้นตัวได้เร็วเมื่อสิ้นเหตุวิกฤติ


สถานการณ์ท่องเที่ยว ในช่วงไตรมาส 3 :
มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทย ทั้งสิ้น 3.76 ล้านคน อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ  14.52   โดยเป็นการฟื้นตัวกลับมาสู่ภาวะปกติและต่อยอดจากปี 2551 ได้อีกครั้งหลังสิ้นวิกฤติ จากปัจจัยทางด้านความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย และเหล่าพันธมิตรที่มีการปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว จากการประสบภาวะวิกฤติที่ผ่านมา ประกอบกับยังมีแรงขับเคลื่อนเดิมที่ผลักดันให้การท่องเที่ยวขยายตัว  อาทิ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และการส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐ  ทำให้เกือบทุกกลุ่มตลาดสามารถฟื้นตัวกลับมาสู่ภาวะปกติ  และต่อยอดเพิ่มขึ้นได้ โดยมีเพียง ยุโรป และ อเมริกา ที่จำนวนนักท่องเที่ยวหดตัวลงจากปีที่ผ่านมา จากการประสบปัญหาทางเศรษฐกิจภายในภูมิภาค ส่งผลให้เงินสกุลยูโร  และดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงมาก  เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินสกุลบาทของประเทศไทย


สถานการณ์ท่องเที่ยว ในช่วงไตรมาส 4 :
มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทย ทั้งสิ้น 4.61 ล้านคน อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.44 โดยเป็นการเติบโตได้ดีต่อเนื่อง จากฐานเดิมที่มีขนาดใหญ่ในปีที่ผ่านมา โดยเกือบทุกภูมิภาคปรับตัวดีขึ้นต่อยอดจากแนวโน้มเดิม ยกเว้น ภูมิภาคอเมริกา ที่มีอัตราหดตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2551 จากผลกระทบของวิกฤติการณ์ทางการเงินอันเกิดจากปัญหาซับไพรม์ของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ผ่านมา
สถานการณ์ท่องเที่ยวจำแนกรายภูมิภาคปี 2553
ภูมิภาคเอเชียตะวันออก
สถานการณ์ตลาดนักท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียตะวันออกเดินทางเข้าไทยรายถิ่นพำนัก ในปี 2553  มีจำนวนนักท่องเที่ยว ทั้งสิ้น 8.15 ล้านคน  เป็นการฟื้นตัวกลับมาเติบโตได้ดีหลังจากหดตัว ร้อยละ 7 ในช่วงปี 2552 โดยกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้น ในอัตราร้อยละ 15.43  เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เป็นผลจากการขยายตัวที่ดีทั้งกลุ่มตลาดอาเซียน และกลุ่มตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ  แม้ว่าจะมีการหดตัวลงในช่วงที่เกิดวิกฤติภายในประเทศไทย ในช่วงไตรมาส 2   แต่ตลาดก็สามารถฟื้นกลับมาขยายตัวได้เร็วและเติบโตเป็นไปตามแนวโน้มปกติเมื่อเหตุการณ์ต่าง ๆ เข้าสู่ความสงบ   โดยยังมีปัจจัยหนุนเดิมที่ผลักดันให้เกิดความต้องการเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศ คือ การขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียที่ยังมีการเติบโตต่อไปได้ แม้ว่า สภาพเศรษฐกิจของภูมิภาคอื่น ๆ  เช่น ยุโรป และอเมริกา  ยังประสบกับปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเงินอยู่ รวมทั้ง การเติบโตของธุรกิจสายการบิน โดยเฉพาะเส้นทางในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก  จึงทำให้การท่องเที่ยวของภูมิภาคนี้มีการเติบโตได้ดี ในปี 2553

เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ 
:  มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยรายถิ่นพำนัก ทั้งสิ้น 3.60 ล้านคน อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.63 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2552 และกลับมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2551 ซึ่งเป็นปีที่มีสถานการณ์ท่องเที่ยวปกติ ทั้งนี้ ในทุกตลาดกลับมาขยายตัวได้ดีหลังสิ้นวิกฤติ โดยปัจจัยสนับสนุนการเดินทางท่องเที่ยว คือ สภาพเศรษฐกิจที่กำลังปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ความต้องการเดินทางออกนอกประเทศกลับมาขยายตัวดีขึ้นในทุกตลาดหลังจากที่มีการหดตัวลงในช่วงปีที่ผ่านมาจากผลของภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา   โดยในปีนี้ จำนวนนักท่องเที่ยว ตลาดจีน ได้ก้าวมาเป็นตลาดผู้นำในภูมิภาค ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวจีนสูงกว่าหนึ่งล้านคน ในอัตราการขยายตัวที่สูงเกือบร้อยละ 45  ทำลายสถิตินักท่องเที่ยวจีนเข้าไทยที่ผ่านมา  สำหรับ ตลาดอื่น ๆ คือ ญี่ปุ่น  ฮ่องกง  ไต้หวัน และ เกาหลีใต้ มีการปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ  จากปัจจัยทางด้านภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละประเทศ  โดยตลาดส่วนใหญ่สามารถฟื้นกลับมามีจำนวนนักท่องเที่ยวอยู่เหนือระดับ ปี 2552  แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า ปี 2551 เล็กน้อย แสดงถึงแนวโน้มการกลับมาเติบโตของกลุ่มตลาดนี้ที่สามารถเร่งอัตราการขยายตัวได้ดีในช่วงครึ่งปีหลัง เมื่อสิ้นเหตุวิกฤติภายในประเทศไทย นอกจากนี้ โดยสำหรับ ตลาดญี่ปุ่น ยังมีโอกาสเพิ่มขึ้นอีกจากการเปิดสนามบินฮาเนดะเป็นสนามบินระหว่างประเทศ ในช่วงเดือนตุลาคม 2553 ส่งผลให้มีการเพิ่มเที่ยวบินจากญี่ปุ่นมาไทยอีก 21 เที่ยว/สัปดาห์ จากสายการบิน Japan Airlines ,All Nippon Airways รวมทั้ง สายการบินไทย จำกัด (มหาชน)   

ในปี 2553  นอกจากประเทศไทยจะประสบเหตุวิกฤติภายในประเทศ ซึ่งเป็นอุปสรรคขัดขวางการเดินทางท่องเที่ยวไทย ในขณะเดียวกัน ยังเกิดเหตุการณ์ที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเดินทางท่องเที่ยวจากภายนอกเกิดขึ้นในบางประเทศ เช่น การเกิดสถานการณ์การสู้รบกันระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้  การเกิดเหตุการณ์ข้อขัดแย้งระหว่างจีนและญี่ปุ่น  การเกิดเหตุการณ์จับนักท่องเที่ยวฮ่องกงเป็นตัวประกันในประเทศฟิลิปปินส์  หรือแม้แต่ การเป็นเจ้าภาพจัดงาน Shanghai Expo ที่ประเทศจีน ในช่วงเดือนพฤษภาคม ตุลาคม 2553 และการจัดการแข่งขันกีฬาเอเซียนเกมส์ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2553 ทำให้เกิดการไหลของตลาดไปยังบางแหล่งท่องเที่ยวไม่คาดฝัน โดยไปยังแหล่งที่มีความสงบแทนพื้นที่ประสบวิกฤติ หรือเคลื่อนย้ายการท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวไม่อยู่ระหว่างข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทระหว่างประเทศ

อาเซียน  : มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยรายถิ่นพำนัก ทั้งสิ้น 4.53 ล้านคน เป็นอัตราการเติบโตต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 14.25  จากการขยายตัวได้ดีในทุกตลาด ยกเว้น บรูไน  โดยตลาดหลักที่มีการเติบโตดีมาก คือ มาเลเซีย มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 17  ตลาดรองลงมา คือ  เวียดนาม  ลาว ในขณะที่ ตลาดสิงคโปร์  แม้ว่าจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น แต่คงยังมีความผันผวนสูง โดยจะทรุดตัวลงมากเมื่อเกิดเหตุวิกฤติภายในประเทศไทย และเคลื่อนไหวปรับตัวดีขึ้นและลงตามภาวะเศรษฐกิจที่กำลังค่อย ๆ ฟื้นตัว  ส่วนตลาดที่มีขนาดเล็กอื่น   คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นสูงถึงสองหลัก (2 digits)  เนื่องจากมีปัจจัยบวกจากการเปิดเที่ยวบินของสายการบิน Air Asia ในตลาดอินโดนีเซีย ในเส้นทาง สุระบาย่า กรุงเทพฯ จำนวน 4 เที่ยว/สัปดาห์ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2553  และเส้นทาง บาหลี ภูเก็ต จำนวน 4 เที่ยว/สัปดาห์  ในช่วงเดือนธันวาคม 2553  ในขณะที่ ตลาดฟิลิปปินส์  สายการบิน Cebu Pacific มีการขยายเที่ยวบินในเส้นทางกรุงมะนิลา กรุงเทพฯ จาก 3 เที่ยว/สัปดาห์ เป็น 10 เที่ยว/สัปดาห์  และสถานการณ์ตามแนวชายแดนไทย กัมพูชาที่ค่อนข้างสงบ มีการกระทบกระทั่งระหว่างกันน้อย จึงทำให้ตลาดกัมพูชามีการเดินทางเข้าไทยขยายตัวได้ดีในช่วงครึ่งปีหลัง  สำหรับ ปัญหาอุทกภัยในพื้นที่หาดใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของตลาดมาเลเซีย และสิงคโปร์ ส่งผลกระทบต่อตลาดเพียงเล็กน้อยเฉพาะในช่วงที่ประสบอุทกภัย และสามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติเมื่อสิ้นเหตุวิกฤติ จากผลของการส่งเสริมการตลาดและจัดกิจกรรมกระตุ้นการท่องเที่ยวของอำเภอหาดใหญ่ในช่วงปลายปี

ภูมิภาคยุโรป สถานการณ์ตลาดนักท่องเที่ยวภูมิภาคยุโรปเดินทางเข้าไทยรายถิ่นพำนัก ในปี 2553 มีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 4.55 ล้านคน  ขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ด้วยอัตราร้อยละ โดยมีการขยายตัวในระดับที่ดีมากในช่วงไตรมาส 1 ด้วยอัตราร้อยละ 25  แต่เมื่อเข้าสู่ไตรมาส 2 หลังจากที่ประเทศไทยประสบกับปัญหาความวุ่นวายภายในประเทศไทย  กอปรกับการเกิดเหตุการณ์ภูเขาไฟใต้น้ำระเบิดได้เกิดขี้เถ้าของภูเขาไฟลอยขึ้นไปปิดน่านฟ้าหลายประเทศในแถบยุโรป ในช่วงเดือนเมษายน 2553 และยังซ้ำเติมด้วยการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในกลุ่มประเทศยุโรปตอนใต้  คือ กลุ่มประเทศ PIIGs (โปรตุเกส อิตาลี ไอร์แลนด์ กรีซ) จากการที่ปล่อยให้เกิดหนี้สาธารณะขึ้นจำนวนมาก จนหลายประเทศยักษ์ใหญ่ในกลุ่มยุโรปต้องเข้าไปให้การช่วยเหลือ  ส่งผลให้ค่าเงินสกุลยูโร และปอนด์สเตอริง ในช่วงไตรมาส มีการอ่อนค่าลง โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย ส่งผลให้ตลาดนักท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศยุโรปเกือบทั้งหมดหดตัวลงหันไปเดินทางท่องเที่ยวภายในภูมิภาคแทนการเดินทางระยะไกล  โดยมีเพียง ตลาดรัสเซีย เท่านั้น ที่ยังคงมีการเดินทางเข้าไทยเติบโตอย่างโดดเด่น ด้วยอัตราการเติบโตที่สูงเกือบเท่าตัวเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา จากปัจจัยหนุนทางด้านสภาพเศรษฐกิจที่มีการเติบโตอย่างแข็งแรง และการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินเช่าเหมาลำเข้าประเทศไทยจึงทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวของกลุ่มยุโรปยังสามารถยืนอยู่ในแดนบวกได้  อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงไตรมาส สถานการณ์ท่องเที่ยวกลุ่มตลาดยุโรป มีการปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากตลาดในภูมิภาคยุโรปที่มีศักยภาพบางแห่งเริ่มปรับตัวดีขึ้น คือ ฝรั่งเศส และสวิตเซอร์แลนด์ เนื่องจากได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจไม่มาก แต่สิ่งที่ต้องจับตามองผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ในปี 2554  คือ การขึ้นภาษีอัตราค่าโดยสารทางเครื่องบิน (Air Passenger Duty) ที่ได้เริ่มต้นใช้ในประเทศสหราชอาณาจักร ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2553 และจะประกาศใช้ในประเทศเยอรมันในลำดับถัดไป ทำให้สถานการณ์ท่องเที่ยวของภูมิภาคยุโรปยังคงไม่น่าไว้วางใจในปี 2554 

ภูมิภาคอเมริกา สถานการณ์ตลาดนักท่องเที่ยวภูมิภาคอเมริกาเดินทางเข้าไทยรายถิ่นพำนัก ในปี 2553 มีจำนวนนักท่องเที่ยว ทั้งสิ้น 0.84 ล้านคน  ยังมีอัตราการหดตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าแม้สถานการณ์ท่องเที่ยวของภูมิภาคอเมริกามีการปรับตัวดีขึ้นแต่ก็ยังไม่ฟื้นคืนกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งผลมาจากแรงกระแทกอย่างหนักของวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2551 ทำให้ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำยาวต่อเนื่อง เกิดปัญหาการว่างงานในระดับสูง ค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงต่อเนื่อง ทำให้การเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศลดลง  นอกจากนี้  จากการที่ประเทศไทยประสบปัญหาความวุ่นวายภายในประเทศ ในช่วงไตรมาส 2 ทำให้นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคนี้เดินทางเข้าไทยทรุดตัวลงอีก โดยตลาดหลักที่ยังมีการหดตัวยาวต่อเนื่อง คือสหรัฐฯ และแคนาดา ในขณะที่ กลุ่มประเทศเกิดใหม่ที่กำลังมีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ คือ บราซิล และอาร์เจนตินาสถานการณ์ท่องเที่ยวมีการฟื้นคืนสู่ภาวะปกติ ตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 แม้ว่าจะสะดุดตัวลงบ้างเล็กน้อยในช่วงไตรมาส 2 แต่ได้ฟื้นตัวกลับมารวดเร็วเมื่อสิ้นเหตุการณ์วิกฤติ แสดงถึงความมีศักยภาพของตลาดในกลุ่มลาตินอเมริกาที่กำลังมีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ

ภูมิภาคเอเชียใต้ สถานการณ์ตลาดนักท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียใต้เดินทางเข้าไทยรายถิ่นพำนัก ในปี 2553 มีจำนวนนักท่องเที่ยว ทั้งสิ้น 0.99 ล้านคน ในอัตราการเติบโตร้อยละ 20 ซึ่งเป็นการขยายตัวที่แรงต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะสะดุดตัวลงเล็กน้อยในช่วงไตรมาส 2 จากปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทยแต่ก็สามารถฟื้นตัวกลับมาขยายตัวในระดับสูงได้อย่างรวดเร็ว โดยตลาดที่มีอิทธิพลต่อภูมิภาคนี้ คือ ตลาดอินเดีย ซึ่งเป็นตลาดหลักของภูมิภาคเอเชียใต้ ครองส่วนแบ่งตลาดเกือบร้อยละ 80  มีอัตราการขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 24 จากปัจจัยสนับสนุนทางด้านการส่งเสริมตลาดเชิงรุก โดยการเปิดสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งใหม่ ณ เมืองมุมไบ ในช่วงปลายปี 2552  มาตรการการยกเว้นค่าธรรมเนียมในการตรวจลงตราเข้าประเทศไทย กอปรกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศอินเดียที่กำลังขยายตัว ประชาชนชาวอินเดียจึงมีความต้องการเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศมากขึ้น  และการขยายตัวของธุรกิจสายการบินที่เพิ่มขึ้นในตลาดอินเดียเป็นอย่างมาก อาทิ  Kingfisher Airlines เปิดเที่ยวบินใหม่ ในเส้นทาง  กรุงเทพฯ นิวเดลี  จำนวน เที่ยว/สัปดาห์  เริ่มวันที่ 17  เมษายน 2553, Air Asia  เปิดเที่ยวบินใหม่ ในเส้นทาง กรุงเทพฯ กัลกัตตา จำนวน    7  เที่ยว/สัปดาห์ และ ในเส้นทาง กรุงเทพฯ นิวเดลี  จำนวน  4  เที่ยว/สัปดาห์  เริ่มวันที่  1 ธันวาคม  นอกจากนี้ Jet Airlines  ยังมีการปรับเพิ่มความถี่เที่ยวบิน ในเส้นทางกรุงเทพฯ มุมไบ จากจำนวน  1  เที่ยว/สัปดาห์  เป็น 2 เที่ยว/สัปดาห์  เริ่มวันที่  18  สิงหาคม 2553 เป็นต้น  ทำให้ตลาดอินเดียมีการเติบโตได้อย่างสดใส  นอกจากนี้ ผลจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวกระจายไปยังตลาดรองอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ตลาดที่มีขนาดเล็กอื่น ๆ สามารถเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง

ภูมิภาคโอเชียเนีย สถานการณ์ตลาดนักท่องเที่ยวภูมิภาคโอเชียเนียเดินทางเข้าไทยรายถิ่นพำนัก ในปี 2553 มีจำนวนนักท่องเที่ยว ทั้งสิ้น 0.79 ล้านคน อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น ร้อยละ โดยเป็นการกลับมาขยายตัวได้อย่างมั่นคงและสามารถต่อยอดจากปี 2551  ซึ่งเป็นปีที่สถานการณ์ท่องเที่ยวปกติ ถึงแม้ว่าจะสะดุดตัวลงเล็กน้อยในช่วงไตรมาส 2 จากเหตุวิกฤติภายในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม เมื่อเหตุการณ์ความไม่สงบสิ้นสุด และรัฐบาลของประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ประกาศลดระดับคำเตือนการเดินทางเข้ามายังประเทศไทย สถานการณ์ตลาดนักท่องเที่ยวได้กลับมาเดินทางเข้าไทยเป็นปกติ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน เป็นต้นมา ทั้งนี้ ปัจจัยที่สนับสนุนการขยายตัวของนักท่องเที่ยว คือ สภาพเศรษฐกิจที่มีการฟื้นตัวได้เร็วกว่าที่คาดการณ์  ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในการออกเดินทางท่องเที่ยวและจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น รวมทั้ง สายการบิน Pacific Blue ได้ขยายความถี่เที่ยวบินตรงเข้าแหล่งท่องเที่ยว ในเส้นทางเพิร์ธ - ภูเก็ต จากจำนวน 2 เที่ยวบิน/สัปดาห์ มาเป็นจำนวน 3 เที่ยว/สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2553 ทำให้การเดินทางเข้าไทยมีความสะดวกมากขึ้น สำหรับ การประสบอุทกภัยน้ำท่วมอย่างรุนแรงที่รัฐควีนแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ในช่วงเดือนธันวาคม 2553  ส่งผลให้ประเทศออสเตรเลียได้รับความเสียหายมากกว่า 1,500 ล้านเหรียญ จนทำให้รัฐบาลประกาศขึ้นภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นอีก ร้อยละ 0.5 - 1.0  อาจส่งผลให้ชาวออสเตรเลียชะลอการเดินทางท่องเที่ยวได้ ซึ่งคงต้องจับตามองต่อไปในปี 2554

ภูมิภาคตะวันออกกลาง สถานการณ์ตลาดนักท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกกลางเดินทางเข้าไทยรายถิ่นพำนัก ในปี 2553 มีจำนวนนักท่องเที่ยว ทั้งสิ้น 0.45 ล้านคน อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 21 โดยเป็นการเติบโตดีต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา แม้ว่า อัตราการเติบโตจะแผ่วลง ในช่วงไตรมาส 2 จากเหตุวิกฤติภายในประเทศ ที่ทำให้รัฐบาลของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งนับเป็นประเทศแรกๆ ที่ประกาศห้ามนักท่องเที่ยวเดินทางมายังประเทศไทย ตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553  โดยปัจจัยที่สนับสนุนการขยายตัวของนักท่องเที่ยว คือ ภาวะเศรษฐกิจที่มีการเติบโต การขยายตัวของธุรกิจสายการบิน พร้อมทั้ง การส่งเสริมการท่องเที่ยวของ ททท. และกระตุ้นตลาดร่วมกับสายการบิน อาทิ การทำ Joint Promotion ร่วมกับสายการบินเอทิฮัด ภายใต้แคมเปญ Thailand Summer Special Offer ที่ครอบคลุมลูกค้าทั่วทั้งภูมิภาค จึงทำให้เกือบทุกตลาดมีการเติบโตเพิ่มขึ้น ยกเว้น ซาอุดิอาระเบีย ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าประเทศไทยหดตัวยาวนานต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา จากปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  ทั้งนี้ ตลาดดาวรุ่งที่กำลังเติบโตสูงต่อเนื่องตลอดช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา คือ อิหร่าน จากภาวะเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัว นโยบายการเปิดประเทศ กระแสความต้องการเดินทางออกนอกประเทศ รวมทั้งการขยายเส้นทางบินตรงเข้าไทย ทำให้ตลาดมีการขยายตัวได้สูงอย่างต่อเนื่อง ในอัตราการเติบโตสูงกว่าร้อยละ 50 แม้ว่าประเทศไทยจะประสบปัญหาความวุ่นวายภายในประเทศก็ตาม

ภูมิภาคแอฟริกา สถานการณ์ตลาดนักท่องเที่ยวภูมิภาคแอฟริกาเดินทางเข้าไทยรายถิ่นพำนัก ในปี 2553 มีจำนวนนักท่องเที่ยว ทั้งสิ้น 0.12 ล้านคน อัตราการขยายตัวดีต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา  ในอัตราร้อยละ 14  โดยสถานการณ์ท่องเที่ยวมีการเติบโตในอัตราที่ดีมากเกือบร้อยละ 20 ในช่วงไตรมาสแรก  จากสัญญาณของการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มปรับตัวได้ดี แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงไตรมาส อัตราการขยายตัวแผ่วลง เหลืออัตราการขยายตัวร้อยละ 5 จากปัญหาวิกฤติทางการเมืองของไทย อย่างไรก็ดี เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองของไทยเข้าสู่ความสงบสถานการณ์ท่องเที่ยวเริ่มปรับตัวดีขึ้นมาเป็นปกติได้ ในช่วงกลางไตรมาส ประกอบกับยังมีปัจจัยผลักดันให้การท่องเที่ยวขยายตัวเพิ่มขึ้น คือ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)  ได้เปิดเที่ยวบินตรงขึ้นใหม่อีกครั้ง ในเส้นทางกรุงเทพฯโจฮันเนสเบิร์ก จำนวน 4 เที่ยวบิน/สัปดาห์  ในวันที่ 2 มิถุนายน 2553  เพื่อรองรับความต้องการเดินทางในช่วงที่มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกที่ประเทศแอฟริกาใต้ หลังจากที่ได้ยกเลิกทำการบิน ในช่วงเดือนมกราคม 2552  จึงทำให้สถานการณ์ท่องเที่ยวตลาดแอฟริกาใต้มีการปรับตัวดีขึ้นมาก

รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ทั้งปี 2553
จากสรุปผลสถิติจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทย ของปี 2553  มีจำนวน   15.93  ล้านคน อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น  12.63   สามารถสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ประมาณ 592,794.09 ล้านบาท  อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ  16.18 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา  ซึ่งนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทย มีระยะเวลาพำนักโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 9.12 วัน มีการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันต่อคน อยู่ที่ 4,078.67 บาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.68 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
แนวโน้มสถานการณ์ตลาดต่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทย ปี 2554
จากปัจจัยขับเคลื่อนที่ดีต่อเนื่องจากครึ่งหลัง  ของปี 2553  ต่อเนื่องไปยังช่วงต้นปี 2554  โดยในเดือนมกราคม 2554 ยังมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.62  นอกจากนี้ สถานการณ์การเมืองไทยยังอยู่ในความสงบ และภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกกำลังมีการฟื้นตัวดีขึ้น จึงคาดว่านักท่องเที่ยวตลาดต่างประเทศน่าจะมีการขยายตัวได้ดีสู่แนวโน้มสถานการณ์ท่องเที่ยวปกติ  

โดยมีข้อมูลสนับสนุนการขยายตัว ดังต่อไปนี้
1. จากข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF : International Monetary Fund) ณ เดือนมกราคม 2554 ปรับประมาณการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ของปี 2554  ดีขึ้นจากประมาณการณ์เดิมอีกร้อยละ 0.2  ดังนั้น ในปี 2554 จะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 และ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5  ในปี 2555   

2. จากข้อมูลขององค์การการท่องเที่ยวโลก (UNWTO  World Tourism Barometer)  ณ เดือนมกราคม 2554  คาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางระหว่างประเทศ มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4 - 5   เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา 

3. จากข้อมูลขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO : International Civil Aviation Organization) ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2554  คาดว่าในปี 2554  ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเป็นผู้นำการขยายตัวทางด้านการขนส่งทางอากาศ  โดยจะสามารถมีอัตราการเติบโตการขนส่งทางอากาศสูงกว่าอัตราการเติบโตการขนส่งทางอากาศในภาพรวมของโลก อีกร้อยละ  2  เป็นอย่างน้อย  (คาดว่าภาพรวมของอัตราการขนส่งทางอากาศ ในปี 2554  ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.7) 

4. จากข้อมูลจำนวนเที่ยวบินและที่นั่งโดยสารเครื่องบินเข้าประเทศไทย ในช่วงปี 2554  มีอัตราการขยายตัวของจำนวนเที่ยวบิน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.46  และอัตราการขยายตัวของจำนวนที่นั่งโดยสารเครื่องบิน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.22  เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา  

แม้ว่า จะมีปัจจัยที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเดินทางท่องเที่ยว ดังต่อไปนี้ 
1. การแข็งค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลัก 
2. ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น
3.  มาตรการการปรับขึ้นภาษีการโดยสารทางอากาศ (APD : Air Passenger Duty) ของกลุ่มประเทศยุโรป
4. การเกิดภัยธรรมชาติ การก่อการร้าย หรือแม้กระทั่ง การอุบัติขึ้นของโรคระบาดใหม่ ๆ ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า
5. การเกิดข้อพิพาทระหว่างไทย - กัมพูชา 
6. ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทย 

ประมาณการณ์แนวโน้มจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทย ในปี 2554 
หากไม่เกิดเหตุวิกฤติใด ๆ อย่างรุนแรงและเกินความคาดหมาย  คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ประมาณ  16.8  ล้านคน อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6   ซึ่งจะส่งผลให้เกิดรายได้จากตลาดต่างประเทศ ประมาณ 632,800 ล้านบาท อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา 








7.ดุลด้านการท่องเที่ยว

7.ดุลด้านการท่องเที่ยว คือความแตกต่างด้านรายได้และรายจ่ายการท่องเที่ยว ความแตกต่างระหว่างนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศและออกเดินทางไปต่างประเทศ

ตารางที่ 48 นักท่องเที่ยวระหว่างชาติที่มาถึง จำแนกตามภูมิภาค








ตารางที่ 49 รายรับนักท่องเที่ยวเข้าประเทศระหว่างชาติจำแนกตามภูมิภาคทั้งปี 2553
จากสรุปผลสถิติจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทย ของปี 2553 มีจำนวน 15.93 ล้านคน อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 12.63 สามารถสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ประมาณ 592,794.09 ล้านบาท อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.18 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทย มีระยะเวลาพำนักโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 9.12 วัน มีการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันต่อคน อยู่ที่ 4,078.67 บาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.68 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา



ตารางที่ 58 ดุลบริการท่องเที่ยวไทย ปี พ.ศ.2543-2547

ปี รายได้จากนักท่องเที่ยว จำนวนคน คนไทยเดินทางไป จำนวนคน ดุลบริการท่องเที่ยว
ต่างชาติ(ล้านบาท) (ล้านคน) ต่างประเทศ(ล้านคน) ( ล้านคน) (ล้านบาท)
2543 285,272.19 9.50 82,838.21 1,908,929 202,433.98
2544 299,047.05 10.06 96,796.91 2,010,616 202,250.14
2545 323,483.96 10.70 56,023.32 2,249,639 267,460.64
2546 309,269.02 10.00 56,810.71 2,151,709 253,458.31
2547 300,494.86 11.60 384,359.77 2,708,941 300,944.86


ภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยวไทยในรอบไตรมาสที่ 1 ของปี 2554

ภาคการท่องเที่ยว จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศมีประมาณ 5.33 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ
14.5 จากไตรมาสที่แล้วที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4

ภาคบริการ รายรับด้านบริการขยายตัวร้อยละ 5.9 โดยมีปัจจัยหลักจากการเร่งตัวของรายรับจากภาคการท่องเที่ยว ในไตรมาสที่ 1 มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้ามาประเทศไทยสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ประมาณ 5.33 ล้านคน หรือขยายตัวร้อยละ 14.5 ปรับตัวขึ้นจากไตรมาสที่แล้วขยายตัวร้อยละ 8.4 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวในเกือบทุกภูมิภาค ยกเว้น นักท่องเที่ยวจากตะวันออก เนื่องจากปัญหาการเมืองภายในภูมิภาค สำหรับภาคบริการ ในสาขาโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 8.1 และมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 64.6

4.รายได้ด้านการท่องเที่ยว



รายได้ด้านการท่องเที่ยว คือรายได้จากกิจกรรมการขายสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว กิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวทั้งภายในและระหว่างประเทศ
รายได้






ความสำคัญของการท่องเที่ยวเกี่ยวกับรายได้ มีผู้ศึกษาผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์การท่องเที่ยว (The economics of tourism) การศึกษาแหล่งรายได้ที่เป็นผลกระทบจากการท่องเที่ยวในบางประเทศในเอเชียและแปซิฟิกมีมากขึ้น ค่าใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวในประเทศเป้าหมายการท่องเที่ยวเป็นแหล่งรายได้ ในสภาวะแวดล้อมที่มีการจ้างงานเต็มที่น้อยมาก ด้วยวิธีการศึกษาหลายกระบวนการ ขณะที่มีการเพิ่มรายได้ในส่วนท้องถิ่นที่มีผลจากค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวในส่วนรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น แหล่งที่มารวมทั้งรายรับและรายจ่ายเพิ่มขึ้นในกระบวนการหาแหล่งรายได้ ปัญหาการศึกษาเรื่องรายได้เกิดจากกระบวนการแหล่งรายได้หลายขั้นตอนเกิดขึ้นตั้งแต่ รูปแบบการจ่ายเพื่อซื้อสินค้านำเข้า การออม ภาษี ประกันภัยและการส่งเงินกลับ(Remittances)  ปัญหารูปแบบค่าใช้จ่ายการนำเข้าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับระบบเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนา และมีขนาดเล็ก  อัตราการเพิ่มรายได้เป็นอัตราส่วนระหว่างรายได้ทั้งหมดและการเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว มูลค่ารายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นแสดงให้เห็นอัตราส่วนแหล่งรายได้เพิ่มมากขึ้นต่อค่าใช้จ่าย ถึงแม้ว่าค่าของรายได้ขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายการท่องเที่ยว รูปแบบการเพิ่มรายได้ (The multiplier model) มีข้อจำกัดจากการขาดข้อมูลเกี่ยวกับการกระจายรายได้ของนักท่องเที่ยวใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจ                                    นโยบาย
ฉบับที่ 1 2504-2509         มุ่งส่งเสริมให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาสู่ประเทศไทยมากขึ้น
ฉบับที่ 2 2510-2514         เผยแพร่ให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศ
ฉบับที่ 3 2515-2519         ส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง-สร้างงานในชนบท
ฉบับที่ 4 2520-2524         แสวงหาตลาดการท่องเที่ยวแหล่งใหม่ในประเทศ
ฉบับที่ 5 2525-2529                        ชักจูงให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศพักนานวันและใช้จ่ายมากขึ้น
ฉบับที่ 6 2530-2534         ประกาศปีท่องเที่ยว และประกาศปีศิลปหัตถกรรม
ฉบับที่ 7 2535-2539         ไทยเป็นศูนย์กลางก...ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ฉบับที่ 8 2540-2544         ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
ฉบับที่ 9 2545-2549         ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
ฉบับที่ 10 2550-2554       ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบเศรษฐกิจพอเพียง

ตัวอย่างข่าว รายได้การท่องเที่ยวภายในประเทศ
ททท.เผย H1/53 มีรายได้จากการท่องเที่ยว 2.79 แสนลบ.เพิ่มขึ้น 20.90%
นางธนิฏฐา เศวตศิลา มณีโชติ รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า สถิตินักท่องเที่ยวระหว่างประเทศครึ่งปีแรกของปี 2553 (มกราคม-มิถุนายน 2553) มีจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศมีจำนวนทั้งสิ้น 7,559,528 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.38 จากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยมีวันพักเฉลี่ย 9.55 วัน เพิ่มขึ้น 0.32 วัน และมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 3,817.35 บาท ต่อคนต่อวัน และมีรายได้จากการท่องเที่ยวจำนวน 279,487.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.90 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยนักท่องเที่ยวชาวไทยมีจำนวน 2,741,672 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.31 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา  โดยมีวันพักเฉลี่ย 4.99 วัน ลดลง 0.47 วัน และมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 4,399.18 บาทต่อคนต่อวัน ลดลงร้อยละ 1.48 และมีรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว 60,184.91 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.83 จากช่วงระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทำให้ครึ่งปีแรกของปี 2553 ประเทศไทยเกินดุลด้านการท่องเที่ยว จำนวน 219,302.24 ล้านบาท  ทั้งนี้ ผลการสรุปข้อมูลสถิติการท่องเที่ยวภายในประเทศ (จำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการท่องเที่ยว จำนวน 76 จังหวัด) ไตรมาสที่ 2 ปี 2553 พบว่า มีการกระจายตัว การเดินทางท่องเที่ยวของผู้เข้าเยี่ยมเยือนภายในประเทศจำนวน 30,841,574 คน ลดลง ร้อยละ 1.34 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยเป็นการเดินทางของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย 25,282,369 คน ลดลงร้อยละ 1.36 และผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างประเทศ 5,559,205 คน ลดลงร้อยละ 1.21 ซึ่งก่อให้เกิดรายได้จากการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศจำนวน 132,007.89 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 19.89 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา  นางธนิฏฐา เปิดเผยว่า ขณะนี้ตนได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับด้านการท่องเที่ยวมาว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวมาเป็นอันดับที่ 12 ของโลก และมีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวภายในประเทศเป็นอันดับที่ 18 ของโลก ซึ่งจะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวในส่วนของรายได้จากการท่องเที่ยวและตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น

3. ความต้องการด้านการท่องเที่ยว




ความต้องการ ( demand)ด้านการท่องเที่ยว ศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวผู้เป็นประเทศต้นทางผู้เป็นแขก (guest)ที่จะเข้ามาพัก โดยที่ประเทศเจ้าบ้าน (host) ต้องจัดเตรียมอาหาร ที่พัก บริการด้านการท่องเที่ยวประเภทต่าง  ๆ ให้เพียงกับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศ

ปริมาณหรืออุปสงค์การท่องเที่ยว
ผลการศึกษาปริมาณการท่องเที่ยวมีลักษณะซับซ้อนเนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่า การท่องเที่ยวประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วยวัตถุดิบที่หลากหลาย เช่น ตัวแทน หมายรวมถึง  ตัวแทนการท่องเที่ยว  ผู้ประกอบการท่องเที่ยว    สายการบิน  และผู้ประกอบการโรงแรม   ปริมาณการท่องเที่ยวยังรวมถึงทุน ทรัพยากร ประสบการณ์สิ่งดึงดูดใจ อาหารที่พัก ความสะดวกสบาย ความสามารถเข้าถึง สาธารณูปโภค การบริการโรงแรม ภัตตาคาร การค้าปลีกที่สัมพันธ์กับแรงจูงใจ การรับรู้ ความคาดหวังทางกายภาพ วัฒนธรรม ประสบการณ์ ภาพพจน์การท่องเที่ยว รวมทั้งระบบสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยวในชุมชนด้วย  จุดมุ่งหมายเพื่อทำให้ปริมาณผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวในตลาดตรงกับความต้องการ หรือเป็นที่พอใจของนักท่องเที่ยวผู้ใช้บริการให้ได้มากที่สุดนักวิจัยมักไม่ให้ความสนใจเศรษฐศาสตร์การท่องเที่ยวด้านปริมาณ ที่เกี่ยวข้องกับความต้องการหรืออุปทานการท่องเที่ยว  โครงสร้างอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ศึกษาเกี่ยวกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สนใจอัตราหรือระดับบูรณาการแนวราบและแนวดิ่งของอุตสาหกรรม ระดับบูรณาการแนวราบประกอบด้วยการเป็นเจ้าของร่วมในการประกอบการอย่างเดียวกัน เช่น กิจการโรงแรม(Hotel chains)  บูรณาการแนวดิ่งประกอบด้วย บริษัทที่มีกรรมสิทธิ์เชื่อมโยงและเป็นผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและ/หรือผู้ส่งวัตถุดิบเกี่ยวกับการท่องเที่ยว  เช่น สายการบินและโรงแรม งานวิจัยที่ศึกษาชนิดและขอบเขต บูรณาการในเอเชียและแปซิฟิกจากการศึกษาของ UNCTC   (The United Nations Centre  for Transnational Corporations 1982 )      แสดง

แผนภูมิที่ 48   ความต้องการ ตลาด และปริมาณการตอบสนองความต้องการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว





ปริมาณ                                                                                                   

จำนวนห้องของโรงแรมในรูปแบบหลายชาติ   แสดงเป็นร้อยละจำนวนรวมของห้องโรงแรมในประเทศเป้าหมายในปี ค..1978 เป็นร้อยละ 6 ในบังคลาเทศ ร้อยละ 34 ในฮ่องกง ร้อยละ 10 ในอินเดีย  ร้อยละ 11 ในอินโดนีเซีย  ร้อยละในมาเลเซีย ร้อยละ 10 ในปากีสถาน ร้อยละ 44 ในฟิลิปปินส์  ร้อยละ 28 ในสาธารณรัฐเกาหลี      ร้อยละ 33ใน






ภาพที่   364 แผนที่อินเดีย                        ภาพที่  365  แผนที่อินโดนีเซีย       
สิงคโปร์ ร้อยละ 21 ในศรีลังกา และร้อยละ 10 ในประเทศไทย                                                             
บูรณาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างกิจการท่องเที่ยว รวมทั้งการลงทุนร่วมเกี่ยวข้องกับการร่วมหุ้นสามัญ   การเช่า   สัญญาการจัดการ  และข้อตกลงสิทธิคุ้มกัน(Franchise agreements)  ภาวะแวดล้อมที่มีความต้องการท่องเที่ยวสูงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปลายทศวรรษ ค..1980 และ ค..1990          การร่วมหุ้นสามัญเพิ่มขึ้นมากด้วยวิธีการที่บริษัทจัดการโรงแรมระหว่างชาติ สามารถเลือกที่ตั้งโรงแรมในสถานที่เหมาะสม มีช่วงเวลาการทำสัญญาจัดการที่เหมาะสมสำหรับประเทศที่เป็นเป้าหมายเจ้าของกิจการ บริษัทโรงแรมพยายามกำหนดเป้าหมายโรงแรมในนครทางผ่าน(Gateway cities)  เช่น กรุงเทพ ฯ ฮ่องกง จาการ์ตา กัวลาลัมเปอร์ โซล สิงคโปร์ และไทเป เป็นเป้าหมายแรกสำหรับการลงทุน นครใหญ่และแหล่งที่พักผ่อนเป็นเป้าหมายลำดับต่อมา
                บริษัทโรงแรมอาจทำสัญญาเกี่ยวข้องในบูรณาการหลายรูปแบบกับกิจการต่าง ๆ ในประเทศและหลายประเทศ ตัวอย่างเช่น ค..1990 ฮอลิเดย์ อินน์ทำสัญญาจัดการโรงแรมกับโรงแรมในประเทศไทย และทำข้อตกลงสิทธิคุ้มกันกับบริษัทพัฒนาการนิมมานาราดี (Nimmanaradi Development company) เพื่อสร้างโรงแรมในเชียงใหม่ ข้อตกลงยินยอมให้บริษัทใช้ชื่อฮอลิเดย์ อินน์เป็นชื่อโรงแรม  ตัวอย่างการลงทุนร่วมที่เกิดขึ้นใน ค..1991 ระหว่าง ฮิลตัน (Hilton International) และ ธนาคารอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น และ Nippon Fire and Marine บริษัทพัฒนาการญี่ปุ่นรับผิดชอบจัดหาให้ฮิลตันด้านบริการรวมทั้งเตรียมการด้านการเงินสำหรับการได้มา และการพัฒนาการเงิน ที่ตั้งและการประเมินที่ตั้งโรงแรมใหม่ การลงทุนร่วม เช่น พัฒนาการโครงการฮิลตันญี่ปุ่น ( Japan Hilton Projects Development ) ทำให้ฮิลตันสามารถเพิ่มจำนวนโรงแรมชั้นหนึ่งในญี่ปุ่นและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก  ดัชนีชี้ความร่วมมือบริษัทโรงแรมหลักในเอเชียแสดงว่าบริษัทโรงแรมร่วมสำคัญลำดับต่าง ๆ ในประเทศเอเชียทำให้ลดอัตราการเสี่ยงและเพิ่มเสถียรภาพการสร้างรายได้โดยส่วนรวม
ถึงแม้ว่าบริษัทโรงแรมหลายชาติจะเน้นภาคโรงแรมชั้นหนึ่ง กลุ่มโรงแรมภายในประเทศได้พัฒนากิจการโรงแรมภายในประเทศ เช่น กลุ่มไทยดุสิตธานี (The Thai Dusit Thani Group)) พร้อมกับโรงแรมในเครือในไทยได้เริ่มดำเนินการในปี ค..1991  เป็นตัวอย่างแสดงผู้นำการตลาดในตลาดโรงแรมชั้นหนึ่งในประเทศ กลุ่มไทยดุสิตธานี ได้สร้างข้อตกลงสิทธิคุ้มกันกับโรงแรมในหลายภูมิภาคของไทย และจัดหาบริการทางด้านการตลาด การโฆษณา การส่งเสริมและบริการสำรองห้องส่วนกลาง  รวมทั้งการจอง (Booking) ของกิจการท่องเที่ยวต่างประเทศ  กลุ่มไทยดุสิตธานียังมีสัญญาการจัดการกับโรงแรม 5 แห่งในอินโดนีเซีย ในปี ค..1990 ได้เข้าไปเจรจาตกลงด้านโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวและโรงแรมกับประเทศเพื่อนบ้าน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งลาวและเวียดนามได้เข้าไปดำเนินการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก  กลุ่มบริษัทโรงแรมระหว่างประเทศอื่นมีโครงการจะเข้าร่วมกับอินโดจีน ทั้งที่อาจจะมีความเสี่ยงด้านปริมาณที่มีมากเกินไป ดังที่ปรากฏในจีน มีโรงแรมกิจการลงทุนร่วมมากกว่า 40 แห่งเปิดดำเนินกิจการตั้งแต่ ค..1982 และ กำลังก่อสร้าง 40 แห่ง
                รูปแบบบูรณาการต่าง ๆ กันมีต้นทุนและกำไรแตกต่างกัน ในแต่ละประเทศที่เป็นเป้าหมายการท่องเที่ยว มีความแตกต่างด้านขั้นพัฒนาการและภาวะแวดล้อมหรือบริบท ตัวอย่างเช่น โรงแรมในอินเดียสามารถพัฒนากิจการด้านการจัดการโรงแรมท้องถิ่น สามารถจัดหาข้อตกลงสิทธิคุ้มกันที่เป็นประโยชน์สำหรับเป้าหมายด้านการตลาด ขณะที่สัญญาการจัดการสามารถทำได้ที่สาธารณรัฐเกาหลีด้วยความจำเป็นทางด้านทักษะพิเศษเฉพาะด้านเพื่อขยายโรงแรม นิยามรูปแบบความแตกต่างกันด้านความสัมพันธ์สัญญาแตกต่างกันไปแต่ละกิจการในประเทศเดียวกัน        และประเทศอื่น




ตารางที่ 41 บริษัทโรงแรมระหว่างชาติสำคัญและโครงการโรงแรมในเอเชียไม่รวมออสเตรเลียและฟิจิ ค..1990
บริษัทโรงแรม     จำนวนโรงแรมในเอเชีย   จำนวนโครงการโรงแรมและ                .                                                                                ประเทศที่ตั้ง
 

Holiday Inn International  (UK)             37      21- จีน8 อินโดนีเซีย 7 ไทย  2 บังคลา-
                                                                                 เท                ศ กวม หมาเก๊า และอินเดีย
Hyatt International Hotels and Resorts   23        3- บาหลี กรุงเทพ ฯ หมาเก๊า
 (USA)                                                                                        
Sheraton Hotels International(USA)      20         8-อินโดนีเซีย4 ไทย 3 Saipan
Hilton International(UK)                        16         3-บาหลี Kyonju Beijing
Ramada International (Hong Kong)      10    8-จีน3 ไทย2 อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย
Inter-Continental (Japan)                       10        2-บาหลี Yokohama
Westin Corporation (Japan)                     7        1-Shanghai
Mandarin Oriental Hotel Group               8        3-เดลี กัวลาลัมเปอร์ หมาเก๊า
(Hong Kong)
Regent International(Hong Kong             5       4-Agra เดลี บาหลี จาการ์ตา
Shanghai)
Hong Kong and Shanghai Hotels            5       2-ไทย
(Hong Kong)
Shangri-La International(Private Asian)14  10-ฟิลิปปินส์3 บาหลี2 กรุงเทพฯ Hong-
                                                                              Kong จาการ์ตา ไทเป
New World Hotels International           9    9-อินโดนีเซีย2 ไทย2 จีน หมาเก๊า มาเลเซีย
(Hong Kong)                                                       ฟิลิปปินส์  เวียดนาม     
 

แหล่งที่มาข้อมูล : World Tourism Organization (WTO)  .

ระหว่างภาวะแวดล้อมเศรษฐศาสตร์มหภาคที่แตกต่างกัน เกี่ยวข้องกับระดับการควบคุมกิจการประเทศเป้าหมายแตกต่างกัน การลงทุนร่วมเกี่ยวข้องกับการเข้าร่วมกิจการของกลุ่มภายในประเทศและต่างประเทศ  อาจหมายความว่าควรให้กลุ่มต่างประเทศเข้าร่วมในการลงทุนเพิ่มขึ้น ทำข้อตกลงพัฒนาการท่องเที่ยวในประเทศเจ้าบ้านมากขึ้น เกี่ยวข้องกับกลุ่มที่อยู่อาศัยในท้องถิ่น มีแนวโน้มจะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้านลบ  ในอินโดนีเซียเป็นตัวอย่างของผู้ลงทุนส่วนใหญ่ในภาคโรงแรม ปรากฏว่าเป็นกลุ่มภายในประเทศ  ผู้ลงทุนจากต่างประเทศอาจเข้าร่วมลงทุนทางด้านการปรับปรุงด้านที่ดิน การตรวจสอบจากผู้มีหน้าที่รับผิดชอบจะต้องทำอย่างระมัดระวังและเป็นประจำเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสิทธิและข้อเสนอในสัญญาที่มีอยู่ให้มีความเท่าเทียมกัน เป็นนโยบายที่จำเป็นสำหรับประเทศเจ้าบ้านการท่องเที่ยว
               
ตารางที่  42 จำนวนโรงแรมประเทศต่าง ๆ พร้อมกับความร่วมมือการสื่อสารชั้นนำ ค..1978
  
โรงแรมในเครือ                                                                                                             ร้อยละประ-                        
ความร่วมมือการสื่อสารชั้นนำ      ประเทศแหล่งกำเนิด  ประเทศพัฒนา        จำนวน   เทศพัฒนา
Holiday Inn                            สหรัฐอเมริกา           67               114         59
Inter-Continental                  สหรัฐอเมริกา           28                 74          38
Hilton International              สหรัฐอเมริกา           33                 72          46
Sheraton Hotels                     สหรัฐอเมริกา           34                  64         53
Club Mediterranee                ฝรั่งเศส                    30                  56         54
Trust House Forte                สหราชอาณาจักร      37                   53        70
Novotel                                    ฝรั่งเศส                    27                   45       60 
Travelodge                            สหรัฐอเมริกา            31                    34        91
Ramada Inns                       สหรัฐอเมริกา            25                     33         76
Hyatt International            สหรัฐอเมริกา              6                      26          23
Western International       สหรัฐอเมริกา             13                      26         50
Southern Pacific Hotel Corporation ออสเตรเลีย  15                    25         60
PLM Hotels                        ฝรั่งเศส                        2                       24            8
Dunfey Hotels                   ไอร์แลนด์                      24                     24         100
Crest Hotels Europe        สหราชอาณาจักร            18                    18         100 
  
แหล่งที่มา : World Tourism Organization (WTO) .
ปริมาณการท่องเที่ยวที่มีผู้สนใจน้อยคือ ด้านความรู้สึกเกี่ยวกับข้อกำหนดที่สำคัญ ปริมาณการท่องเที่ยวอาจแตกต่างกันตามช่วงเวลาสั้น ๆ ดังที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ จำนวนห้องโรงแรมในประเทศเพิ่มขึ้นจาก 46,100 ห้องในปี ค..1980 เป็น 168,600 ห้องในปี ค..1990 อย่างไรก็ตามการคาดการณ์ที่ละเอียดอ่อนเกี่ยวกับปริมาณการท่องเที่ยวเป็นตัวแปรสำคัญที่อาจศึกษาได้ยาก ตัวแปรที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันรวมทั้งการส่งเสริมสิทธิพิเศษ   เช่น ผู้ที่จะจัดการก่อสร้างโรงแรมในประเทศไทยก่อนปี ค..1982 และตั้งแต่ปี ค..1987  จะได้รับการส่งเสริมการลดภาษีด้านอุปกรณ์ เครื่องมือและสิทธิยกเว้นด้านภาษี การคาดการณ์เชิงปริมาณการท่องเที่ยวอาจสัมพันธ์อย่างเป็นประโยชน์กับเป้าหมายนโยบายที่ส่งเสริม ในกรณีของประเทศไทย การก่อสร้างโรงแรมปรากฏว่ามีเพิ่มสูงขึ้น ตอบสนองความสนใจผลจากการทำนายว่าจะต้องมีการขยายห้องโรงแรมในปี ค..1989  ในปี ค..1990 พบว่ามีการทำนายว่ามีห้องเกิน (Oversupply)   ขณะที่ในปี ค..1991 แสดงว่ามีอัตราห้องอยู่ในช่วงมีปัญหาความกดดัน ปริมาณของการจัดห้องพักอยู่ในช่วงได้รับความกดดันจากการเจริญเติบโตของการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก รวมทั้งศักยภาพความกดดันจากระบบสาธารณูปโภค และจากจัดหาแรงงานที่มีทักษะ

ตารางที่  43 ธุรกิจโรงแรม พ.ศ.2547-2549
ประเภทที่พัก                         พ.ศ.2547          พ.ศ.2549              ร้อยละการเปลี่ยนแปลง
โรงแรมและเกสต์เฮ้าส์            2,547                2,496                                 -2
ห้องพัก                              180,226             117,178                                -1.7
ผู้เข้าพัก(ล้านคน)                    42.2                       45                                 6.6
ลูกจ้าง                                120,660             117,333                                -2.8
แหล่งที่มา  : สำนักงานสถิติแห่งชาติ  
 

ตารางที่   44 ห้องพักในโรงแรม บังกะโล เกสต์เฮาส์  พ.ศ.2546
                        ภูมิภาค                      แห่ง         ห้อง          ร้อยละ   
กทม.และปริมณฑล                             603       89,394             26
ภาคตะวันออก                                     769        51,520            15
ภาคกลาง                                          1,968        37,358            11 
ภาคเหนือ                                          1,074        44,819           13 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ                    567        26,670             8  
ภาคใต้                                               2   ,427       98,552           28
รวม                                       7,408      348,283        100.0

หมายเหตุ : ที่พักภาคตะวันออกเท่ากับร้อยละ 15 ของทั่วประเทศสำหรับชลบุรีมีห้องพักสูงที่สุดอันดับที่ 1 ของทั่วประเทศถึง 36,306 หน่วย หรือร้อยละ 10 สูงกว่าภูเก็ตที่มีห้องพัก 31,351 หน่วย
แหล่งที่มา : ประชาชาติธุรกิจ 15 กุมภาพันธ์ 2550
ตัวอย่างอุปสงค์การท่องเที่ยว

10 อันดับเมืองที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากที่สุดในโลก


สื่อนอกยก เกาะพงัน ติด 1 ใน 10 สถานที่ฉลองปีใหม่สุดพิเศษ