7.ดุลด้านการท่องเที่ยว คือความแตกต่างด้านรายได้และรายจ่ายการท่องเที่ยว ความแตกต่างระหว่างนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศและออกเดินทางไปต่างประเทศ
ตารางที่ 48 นักท่องเที่ยวระหว่างชาติที่มาถึง จำแนกตามภูมิภาค
ตารางที่ 49 รายรับนักท่องเที่ยวเข้าประเทศระหว่างชาติจำแนกตามภูมิภาคทั้งปี 2553
จากสรุปผลสถิติจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทย ของปี 2553 มีจำนวน 15.93 ล้านคน อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 12.63 สามารถสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ประมาณ 592,794.09 ล้านบาท อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.18 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทย มีระยะเวลาพำนักโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 9.12 วัน มีการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันต่อคน อยู่ที่ 4,078.67 บาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.68 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ตารางที่ 58 ดุลบริการท่องเที่ยวไทย ปี พ.ศ.2543-2547
ปี รายได้จากนักท่องเที่ยว จำนวนคน คนไทยเดินทางไป จำนวนคน ดุลบริการท่องเที่ยว
ต่างชาติ(ล้านบาท) (ล้านคน) ต่างประเทศ(ล้านคน) ( ล้านคน) (ล้านบาท)
2543 285,272.19 9.50 82,838.21 1,908,929 202,433.98
2544 299,047.05 10.06 96,796.91 2,010,616 202,250.14
2545 323,483.96 10.70 56,023.32 2,249,639 267,460.64
2546 309,269.02 10.00 56,810.71 2,151,709 253,458.31
2547 300,494.86 11.60 384,359.77 2,708,941 300,944.86
ภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยวไทยในรอบไตรมาสที่ 1 ของปี 2554
ภาคการท่องเที่ยว จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศมีประมาณ 5.33 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ
14.5 จากไตรมาสที่แล้วที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4
ภาคบริการ รายรับด้านบริการขยายตัวร้อยละ 5.9 โดยมีปัจจัยหลักจากการเร่งตัวของรายรับจากภาคการท่องเที่ยว ในไตรมาสที่ 1 มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้ามาประเทศไทยสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ประมาณ 5.33 ล้านคน หรือขยายตัวร้อยละ 14.5 ปรับตัวขึ้นจากไตรมาสที่แล้วขยายตัวร้อยละ 8.4 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวในเกือบทุกภูมิภาค ยกเว้น นักท่องเที่ยวจากตะวันออก เนื่องจากปัญหาการเมืองภายในภูมิภาค สำหรับภาคบริการ ในสาขาโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 8.1 และมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 64.6
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น