วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

3. ความต้องการด้านการท่องเที่ยว




ความต้องการ ( demand)ด้านการท่องเที่ยว ศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวผู้เป็นประเทศต้นทางผู้เป็นแขก (guest)ที่จะเข้ามาพัก โดยที่ประเทศเจ้าบ้าน (host) ต้องจัดเตรียมอาหาร ที่พัก บริการด้านการท่องเที่ยวประเภทต่าง  ๆ ให้เพียงกับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศ

ปริมาณหรืออุปสงค์การท่องเที่ยว
ผลการศึกษาปริมาณการท่องเที่ยวมีลักษณะซับซ้อนเนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่า การท่องเที่ยวประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วยวัตถุดิบที่หลากหลาย เช่น ตัวแทน หมายรวมถึง  ตัวแทนการท่องเที่ยว  ผู้ประกอบการท่องเที่ยว    สายการบิน  และผู้ประกอบการโรงแรม   ปริมาณการท่องเที่ยวยังรวมถึงทุน ทรัพยากร ประสบการณ์สิ่งดึงดูดใจ อาหารที่พัก ความสะดวกสบาย ความสามารถเข้าถึง สาธารณูปโภค การบริการโรงแรม ภัตตาคาร การค้าปลีกที่สัมพันธ์กับแรงจูงใจ การรับรู้ ความคาดหวังทางกายภาพ วัฒนธรรม ประสบการณ์ ภาพพจน์การท่องเที่ยว รวมทั้งระบบสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยวในชุมชนด้วย  จุดมุ่งหมายเพื่อทำให้ปริมาณผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวในตลาดตรงกับความต้องการ หรือเป็นที่พอใจของนักท่องเที่ยวผู้ใช้บริการให้ได้มากที่สุดนักวิจัยมักไม่ให้ความสนใจเศรษฐศาสตร์การท่องเที่ยวด้านปริมาณ ที่เกี่ยวข้องกับความต้องการหรืออุปทานการท่องเที่ยว  โครงสร้างอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ศึกษาเกี่ยวกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สนใจอัตราหรือระดับบูรณาการแนวราบและแนวดิ่งของอุตสาหกรรม ระดับบูรณาการแนวราบประกอบด้วยการเป็นเจ้าของร่วมในการประกอบการอย่างเดียวกัน เช่น กิจการโรงแรม(Hotel chains)  บูรณาการแนวดิ่งประกอบด้วย บริษัทที่มีกรรมสิทธิ์เชื่อมโยงและเป็นผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและ/หรือผู้ส่งวัตถุดิบเกี่ยวกับการท่องเที่ยว  เช่น สายการบินและโรงแรม งานวิจัยที่ศึกษาชนิดและขอบเขต บูรณาการในเอเชียและแปซิฟิกจากการศึกษาของ UNCTC   (The United Nations Centre  for Transnational Corporations 1982 )      แสดง

แผนภูมิที่ 48   ความต้องการ ตลาด และปริมาณการตอบสนองความต้องการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว





ปริมาณ                                                                                                   

จำนวนห้องของโรงแรมในรูปแบบหลายชาติ   แสดงเป็นร้อยละจำนวนรวมของห้องโรงแรมในประเทศเป้าหมายในปี ค..1978 เป็นร้อยละ 6 ในบังคลาเทศ ร้อยละ 34 ในฮ่องกง ร้อยละ 10 ในอินเดีย  ร้อยละ 11 ในอินโดนีเซีย  ร้อยละในมาเลเซีย ร้อยละ 10 ในปากีสถาน ร้อยละ 44 ในฟิลิปปินส์  ร้อยละ 28 ในสาธารณรัฐเกาหลี      ร้อยละ 33ใน






ภาพที่   364 แผนที่อินเดีย                        ภาพที่  365  แผนที่อินโดนีเซีย       
สิงคโปร์ ร้อยละ 21 ในศรีลังกา และร้อยละ 10 ในประเทศไทย                                                             
บูรณาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างกิจการท่องเที่ยว รวมทั้งการลงทุนร่วมเกี่ยวข้องกับการร่วมหุ้นสามัญ   การเช่า   สัญญาการจัดการ  และข้อตกลงสิทธิคุ้มกัน(Franchise agreements)  ภาวะแวดล้อมที่มีความต้องการท่องเที่ยวสูงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปลายทศวรรษ ค..1980 และ ค..1990          การร่วมหุ้นสามัญเพิ่มขึ้นมากด้วยวิธีการที่บริษัทจัดการโรงแรมระหว่างชาติ สามารถเลือกที่ตั้งโรงแรมในสถานที่เหมาะสม มีช่วงเวลาการทำสัญญาจัดการที่เหมาะสมสำหรับประเทศที่เป็นเป้าหมายเจ้าของกิจการ บริษัทโรงแรมพยายามกำหนดเป้าหมายโรงแรมในนครทางผ่าน(Gateway cities)  เช่น กรุงเทพ ฯ ฮ่องกง จาการ์ตา กัวลาลัมเปอร์ โซล สิงคโปร์ และไทเป เป็นเป้าหมายแรกสำหรับการลงทุน นครใหญ่และแหล่งที่พักผ่อนเป็นเป้าหมายลำดับต่อมา
                บริษัทโรงแรมอาจทำสัญญาเกี่ยวข้องในบูรณาการหลายรูปแบบกับกิจการต่าง ๆ ในประเทศและหลายประเทศ ตัวอย่างเช่น ค..1990 ฮอลิเดย์ อินน์ทำสัญญาจัดการโรงแรมกับโรงแรมในประเทศไทย และทำข้อตกลงสิทธิคุ้มกันกับบริษัทพัฒนาการนิมมานาราดี (Nimmanaradi Development company) เพื่อสร้างโรงแรมในเชียงใหม่ ข้อตกลงยินยอมให้บริษัทใช้ชื่อฮอลิเดย์ อินน์เป็นชื่อโรงแรม  ตัวอย่างการลงทุนร่วมที่เกิดขึ้นใน ค..1991 ระหว่าง ฮิลตัน (Hilton International) และ ธนาคารอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น และ Nippon Fire and Marine บริษัทพัฒนาการญี่ปุ่นรับผิดชอบจัดหาให้ฮิลตันด้านบริการรวมทั้งเตรียมการด้านการเงินสำหรับการได้มา และการพัฒนาการเงิน ที่ตั้งและการประเมินที่ตั้งโรงแรมใหม่ การลงทุนร่วม เช่น พัฒนาการโครงการฮิลตันญี่ปุ่น ( Japan Hilton Projects Development ) ทำให้ฮิลตันสามารถเพิ่มจำนวนโรงแรมชั้นหนึ่งในญี่ปุ่นและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก  ดัชนีชี้ความร่วมมือบริษัทโรงแรมหลักในเอเชียแสดงว่าบริษัทโรงแรมร่วมสำคัญลำดับต่าง ๆ ในประเทศเอเชียทำให้ลดอัตราการเสี่ยงและเพิ่มเสถียรภาพการสร้างรายได้โดยส่วนรวม
ถึงแม้ว่าบริษัทโรงแรมหลายชาติจะเน้นภาคโรงแรมชั้นหนึ่ง กลุ่มโรงแรมภายในประเทศได้พัฒนากิจการโรงแรมภายในประเทศ เช่น กลุ่มไทยดุสิตธานี (The Thai Dusit Thani Group)) พร้อมกับโรงแรมในเครือในไทยได้เริ่มดำเนินการในปี ค..1991  เป็นตัวอย่างแสดงผู้นำการตลาดในตลาดโรงแรมชั้นหนึ่งในประเทศ กลุ่มไทยดุสิตธานี ได้สร้างข้อตกลงสิทธิคุ้มกันกับโรงแรมในหลายภูมิภาคของไทย และจัดหาบริการทางด้านการตลาด การโฆษณา การส่งเสริมและบริการสำรองห้องส่วนกลาง  รวมทั้งการจอง (Booking) ของกิจการท่องเที่ยวต่างประเทศ  กลุ่มไทยดุสิตธานียังมีสัญญาการจัดการกับโรงแรม 5 แห่งในอินโดนีเซีย ในปี ค..1990 ได้เข้าไปเจรจาตกลงด้านโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวและโรงแรมกับประเทศเพื่อนบ้าน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งลาวและเวียดนามได้เข้าไปดำเนินการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก  กลุ่มบริษัทโรงแรมระหว่างประเทศอื่นมีโครงการจะเข้าร่วมกับอินโดจีน ทั้งที่อาจจะมีความเสี่ยงด้านปริมาณที่มีมากเกินไป ดังที่ปรากฏในจีน มีโรงแรมกิจการลงทุนร่วมมากกว่า 40 แห่งเปิดดำเนินกิจการตั้งแต่ ค..1982 และ กำลังก่อสร้าง 40 แห่ง
                รูปแบบบูรณาการต่าง ๆ กันมีต้นทุนและกำไรแตกต่างกัน ในแต่ละประเทศที่เป็นเป้าหมายการท่องเที่ยว มีความแตกต่างด้านขั้นพัฒนาการและภาวะแวดล้อมหรือบริบท ตัวอย่างเช่น โรงแรมในอินเดียสามารถพัฒนากิจการด้านการจัดการโรงแรมท้องถิ่น สามารถจัดหาข้อตกลงสิทธิคุ้มกันที่เป็นประโยชน์สำหรับเป้าหมายด้านการตลาด ขณะที่สัญญาการจัดการสามารถทำได้ที่สาธารณรัฐเกาหลีด้วยความจำเป็นทางด้านทักษะพิเศษเฉพาะด้านเพื่อขยายโรงแรม นิยามรูปแบบความแตกต่างกันด้านความสัมพันธ์สัญญาแตกต่างกันไปแต่ละกิจการในประเทศเดียวกัน        และประเทศอื่น




ตารางที่ 41 บริษัทโรงแรมระหว่างชาติสำคัญและโครงการโรงแรมในเอเชียไม่รวมออสเตรเลียและฟิจิ ค..1990
บริษัทโรงแรม     จำนวนโรงแรมในเอเชีย   จำนวนโครงการโรงแรมและ                .                                                                                ประเทศที่ตั้ง
 

Holiday Inn International  (UK)             37      21- จีน8 อินโดนีเซีย 7 ไทย  2 บังคลา-
                                                                                 เท                ศ กวม หมาเก๊า และอินเดีย
Hyatt International Hotels and Resorts   23        3- บาหลี กรุงเทพ ฯ หมาเก๊า
 (USA)                                                                                        
Sheraton Hotels International(USA)      20         8-อินโดนีเซีย4 ไทย 3 Saipan
Hilton International(UK)                        16         3-บาหลี Kyonju Beijing
Ramada International (Hong Kong)      10    8-จีน3 ไทย2 อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย
Inter-Continental (Japan)                       10        2-บาหลี Yokohama
Westin Corporation (Japan)                     7        1-Shanghai
Mandarin Oriental Hotel Group               8        3-เดลี กัวลาลัมเปอร์ หมาเก๊า
(Hong Kong)
Regent International(Hong Kong             5       4-Agra เดลี บาหลี จาการ์ตา
Shanghai)
Hong Kong and Shanghai Hotels            5       2-ไทย
(Hong Kong)
Shangri-La International(Private Asian)14  10-ฟิลิปปินส์3 บาหลี2 กรุงเทพฯ Hong-
                                                                              Kong จาการ์ตา ไทเป
New World Hotels International           9    9-อินโดนีเซีย2 ไทย2 จีน หมาเก๊า มาเลเซีย
(Hong Kong)                                                       ฟิลิปปินส์  เวียดนาม     
 

แหล่งที่มาข้อมูล : World Tourism Organization (WTO)  .

ระหว่างภาวะแวดล้อมเศรษฐศาสตร์มหภาคที่แตกต่างกัน เกี่ยวข้องกับระดับการควบคุมกิจการประเทศเป้าหมายแตกต่างกัน การลงทุนร่วมเกี่ยวข้องกับการเข้าร่วมกิจการของกลุ่มภายในประเทศและต่างประเทศ  อาจหมายความว่าควรให้กลุ่มต่างประเทศเข้าร่วมในการลงทุนเพิ่มขึ้น ทำข้อตกลงพัฒนาการท่องเที่ยวในประเทศเจ้าบ้านมากขึ้น เกี่ยวข้องกับกลุ่มที่อยู่อาศัยในท้องถิ่น มีแนวโน้มจะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้านลบ  ในอินโดนีเซียเป็นตัวอย่างของผู้ลงทุนส่วนใหญ่ในภาคโรงแรม ปรากฏว่าเป็นกลุ่มภายในประเทศ  ผู้ลงทุนจากต่างประเทศอาจเข้าร่วมลงทุนทางด้านการปรับปรุงด้านที่ดิน การตรวจสอบจากผู้มีหน้าที่รับผิดชอบจะต้องทำอย่างระมัดระวังและเป็นประจำเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสิทธิและข้อเสนอในสัญญาที่มีอยู่ให้มีความเท่าเทียมกัน เป็นนโยบายที่จำเป็นสำหรับประเทศเจ้าบ้านการท่องเที่ยว
               
ตารางที่  42 จำนวนโรงแรมประเทศต่าง ๆ พร้อมกับความร่วมมือการสื่อสารชั้นนำ ค..1978
  
โรงแรมในเครือ                                                                                                             ร้อยละประ-                        
ความร่วมมือการสื่อสารชั้นนำ      ประเทศแหล่งกำเนิด  ประเทศพัฒนา        จำนวน   เทศพัฒนา
Holiday Inn                            สหรัฐอเมริกา           67               114         59
Inter-Continental                  สหรัฐอเมริกา           28                 74          38
Hilton International              สหรัฐอเมริกา           33                 72          46
Sheraton Hotels                     สหรัฐอเมริกา           34                  64         53
Club Mediterranee                ฝรั่งเศส                    30                  56         54
Trust House Forte                สหราชอาณาจักร      37                   53        70
Novotel                                    ฝรั่งเศส                    27                   45       60 
Travelodge                            สหรัฐอเมริกา            31                    34        91
Ramada Inns                       สหรัฐอเมริกา            25                     33         76
Hyatt International            สหรัฐอเมริกา              6                      26          23
Western International       สหรัฐอเมริกา             13                      26         50
Southern Pacific Hotel Corporation ออสเตรเลีย  15                    25         60
PLM Hotels                        ฝรั่งเศส                        2                       24            8
Dunfey Hotels                   ไอร์แลนด์                      24                     24         100
Crest Hotels Europe        สหราชอาณาจักร            18                    18         100 
  
แหล่งที่มา : World Tourism Organization (WTO) .
ปริมาณการท่องเที่ยวที่มีผู้สนใจน้อยคือ ด้านความรู้สึกเกี่ยวกับข้อกำหนดที่สำคัญ ปริมาณการท่องเที่ยวอาจแตกต่างกันตามช่วงเวลาสั้น ๆ ดังที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ จำนวนห้องโรงแรมในประเทศเพิ่มขึ้นจาก 46,100 ห้องในปี ค..1980 เป็น 168,600 ห้องในปี ค..1990 อย่างไรก็ตามการคาดการณ์ที่ละเอียดอ่อนเกี่ยวกับปริมาณการท่องเที่ยวเป็นตัวแปรสำคัญที่อาจศึกษาได้ยาก ตัวแปรที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันรวมทั้งการส่งเสริมสิทธิพิเศษ   เช่น ผู้ที่จะจัดการก่อสร้างโรงแรมในประเทศไทยก่อนปี ค..1982 และตั้งแต่ปี ค..1987  จะได้รับการส่งเสริมการลดภาษีด้านอุปกรณ์ เครื่องมือและสิทธิยกเว้นด้านภาษี การคาดการณ์เชิงปริมาณการท่องเที่ยวอาจสัมพันธ์อย่างเป็นประโยชน์กับเป้าหมายนโยบายที่ส่งเสริม ในกรณีของประเทศไทย การก่อสร้างโรงแรมปรากฏว่ามีเพิ่มสูงขึ้น ตอบสนองความสนใจผลจากการทำนายว่าจะต้องมีการขยายห้องโรงแรมในปี ค..1989  ในปี ค..1990 พบว่ามีการทำนายว่ามีห้องเกิน (Oversupply)   ขณะที่ในปี ค..1991 แสดงว่ามีอัตราห้องอยู่ในช่วงมีปัญหาความกดดัน ปริมาณของการจัดห้องพักอยู่ในช่วงได้รับความกดดันจากการเจริญเติบโตของการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก รวมทั้งศักยภาพความกดดันจากระบบสาธารณูปโภค และจากจัดหาแรงงานที่มีทักษะ

ตารางที่  43 ธุรกิจโรงแรม พ.ศ.2547-2549
ประเภทที่พัก                         พ.ศ.2547          พ.ศ.2549              ร้อยละการเปลี่ยนแปลง
โรงแรมและเกสต์เฮ้าส์            2,547                2,496                                 -2
ห้องพัก                              180,226             117,178                                -1.7
ผู้เข้าพัก(ล้านคน)                    42.2                       45                                 6.6
ลูกจ้าง                                120,660             117,333                                -2.8
แหล่งที่มา  : สำนักงานสถิติแห่งชาติ  
 

ตารางที่   44 ห้องพักในโรงแรม บังกะโล เกสต์เฮาส์  พ.ศ.2546
                        ภูมิภาค                      แห่ง         ห้อง          ร้อยละ   
กทม.และปริมณฑล                             603       89,394             26
ภาคตะวันออก                                     769        51,520            15
ภาคกลาง                                          1,968        37,358            11 
ภาคเหนือ                                          1,074        44,819           13 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ                    567        26,670             8  
ภาคใต้                                               2   ,427       98,552           28
รวม                                       7,408      348,283        100.0

หมายเหตุ : ที่พักภาคตะวันออกเท่ากับร้อยละ 15 ของทั่วประเทศสำหรับชลบุรีมีห้องพักสูงที่สุดอันดับที่ 1 ของทั่วประเทศถึง 36,306 หน่วย หรือร้อยละ 10 สูงกว่าภูเก็ตที่มีห้องพัก 31,351 หน่วย
แหล่งที่มา : ประชาชาติธุรกิจ 15 กุมภาพันธ์ 2550
ตัวอย่างอุปสงค์การท่องเที่ยว

10 อันดับเมืองที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากที่สุดในโลก


สื่อนอกยก เกาะพงัน ติด 1 ใน 10 สถานที่ฉลองปีใหม่สุดพิเศษ

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอให้มีความสุขในวันนี้
    ฉันชื่อฟิลิปฉันต้องการลงทุนในธุรกิจของคุณโดยสุจริตฉันมีการลงทุนที่ทำกำไรฉันยังเสนอสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์และสินเชื่อส่วนบุคคลในอัตราดอกเบี้ยต่ำมาก 3% ต่อปีเป็นระยะเวลาหนึ่ง ปีแห่งการชำระหนี้เป็นส่วนหนึ่งของโลก

    คุณต้องการเครดิตดอกเบี้ยรายปี 3% จากจำนวนเงินทั้งหมดที่คุณต้องใช้ในการจัดหาเงินทุนหรือการเป็นหุ้นส่วนหุ้น 50/50% เป็นระยะเวลา 1 ถึง 10 ปีหรือไม่? ฉันต้องการทราบตัวเลือกของคุณเพื่อให้เราสามารถดำเนินการเจรจาต่อไปได้จำนวนเงินสูงสุดคือ $ 100million USD
    อีเมลติดต่อ: info@voorhinvestcorp.com
    URL ของเว็บไซต์: http://voorhinvestcorp.com/
    WhatsApp: +1 4704068043
    LINE ID: philipvoor
    อีเมล: voorheesphilip@gmail.com
    ขอบคุณ
    VOORHEES PHILIP

    ตอบลบ