รายได้ด้านการท่องเที่ยว คือรายได้จากกิจกรรมการขายสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว กิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวทั้งภายในและระหว่างประเทศ
รายได้
ความสำคัญของการท่องเที่ยวเกี่ยวกับรายได้ มีผู้ศึกษาผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์การท่องเที่ยว (The economics of tourism) การศึกษาแหล่งรายได้ที่เป็นผลกระทบจากการท่องเที่ยวในบางประเทศในเอเชียและแปซิฟิกมีมากขึ้น ค่าใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวในประเทศเป้าหมายการท่องเที่ยวเป็นแหล่งรายได้ ในสภาวะแวดล้อมที่มีการจ้างงานเต็มที่น้อยมาก ด้วยวิธีการศึกษาหลายกระบวนการ ขณะที่มีการเพิ่มรายได้ในส่วนท้องถิ่นที่มีผลจากค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวในส่วนรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น แหล่งที่มารวมทั้งรายรับและรายจ่ายเพิ่มขึ้นในกระบวนการหาแหล่งรายได้ ปัญหาการศึกษาเรื่องรายได้เกิดจากกระบวนการแหล่งรายได้หลายขั้นตอนเกิดขึ้นตั้งแต่ รูปแบบการจ่ายเพื่อซื้อสินค้านำเข้า การออม ภาษี ประกันภัยและการส่งเงินกลับ(Remittances) ปัญหารูปแบบค่าใช้จ่ายการนำเข้าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับระบบเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนา และมีขนาดเล็ก อัตราการเพิ่มรายได้เป็นอัตราส่วนระหว่างรายได้ทั้งหมดและการเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว มูลค่ารายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นแสดงให้เห็นอัตราส่วนแหล่งรายได้เพิ่มมากขึ้นต่อค่าใช้จ่าย ถึงแม้ว่าค่าของรายได้ขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายการท่องเที่ยว รูปแบบการเพิ่มรายได้ (The multiplier model) มีข้อจำกัดจากการขาดข้อมูลเกี่ยวกับการกระจายรายได้ของนักท่องเที่ยวใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจ นโยบาย
ฉบับที่ 1 2504-2509 มุ่งส่งเสริมให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาสู่ประเทศไทยมากขึ้น
ฉบับที่ 2 2510-2514 เผยแพร่ให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศ
ฉบับที่ 3 2515-2519 ส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง-สร้างงานในชนบท
ฉบับที่ 4 2520-2524 แสวงหาตลาดการท่องเที่ยวแหล่งใหม่ในประเทศ
ฉบับที่ 5 2525-2529 ชักจูงให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศพักนานวันและใช้จ่ายมากขึ้น
ฉบับที่ 6 2530-2534 ประกาศปีท่องเที่ยว และประกาศปีศิลปหัตถกรรม
ฉบับที่ 7 2535-2539 ไทยเป็นศูนย์กลางก.ท.ท.ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ฉบับที่ 8 2540-2544 ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
ฉบับที่ 9 2545-2549 ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
ฉบับที่ 10 2550-2554 ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวอย่างข่าว รายได้การท่องเที่ยวภายในประเทศ
ททท.เผย H1/53 มีรายได้จากการท่องเที่ยว 2.79 แสนลบ.เพิ่มขึ้น 20.90%
นางธนิฏฐา เศวตศิลา มณีโชติ รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า สถิตินักท่องเที่ยวระหว่างประเทศครึ่งปีแรกของปี 2553 (มกราคม-มิถุนายน 2553) มีจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศมีจำนวนทั้งสิ้น 7,559,528 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.38 จากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยมีวันพักเฉลี่ย 9.55 วัน เพิ่มขึ้น 0.32 วัน และมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 3,817.35 บาท ต่อคนต่อวัน และมีรายได้จากการท่องเที่ยวจำนวน 279,487.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.90 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยนักท่องเที่ยวชาวไทยมีจำนวน 2,741,672 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.31 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยมีวันพักเฉลี่ย 4.99 วัน ลดลง 0.47 วัน และมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 4,399.18 บาทต่อคนต่อวัน ลดลงร้อยละ 1.48 และมีรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว 60,184.91 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.83 จากช่วงระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทำให้ครึ่งปีแรกของปี 2553 ประเทศไทยเกินดุลด้านการท่องเที่ยว จำนวน 219,302.24 ล้านบาท ทั้งนี้ ผลการสรุปข้อมูลสถิติการท่องเที่ยวภายในประเทศ (จำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการท่องเที่ยว จำนวน 76 จังหวัด) ไตรมาสที่ 2 ปี 2553 พบว่า มีการกระจายตัว การเดินทางท่องเที่ยวของผู้เข้าเยี่ยมเยือนภายในประเทศจำนวน 30,841,574 คน ลดลง ร้อยละ 1.34 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยเป็นการเดินทางของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย 25,282,369 คน ลดลงร้อยละ 1.36 และผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างประเทศ 5,559,205 คน ลดลงร้อยละ 1.21 ซึ่งก่อให้เกิดรายได้จากการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศจำนวน 132,007.89 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 19.89 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา นางธนิฏฐา เปิดเผยว่า ขณะนี้ตนได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับด้านการท่องเที่ยวมาว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวมาเป็นอันดับที่ 12 ของโลก และมีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวภายในประเทศเป็นอันดับที่ 18 ของโลก ซึ่งจะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวในส่วนของรายได้จากการท่องเที่ยวและตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น