2.บริการด้านการท่องเที่ยว การบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวได้แก่ การจัดการด้านที่พัก การคมนาคมขนส่ง การสื่อสารโทรคมนาคม สาธารณูปโภค การบันเทิง
ปริมาณการท่องเที่ยวที่มีผู้สนใจน้อยคือ ด้านความรู้สึกเกี่ยวกับข้อกำหนดที่สำคัญ ปริมาณการท่องเที่ยวอาจแตกต่างกันตามช่วงเวลาสั้น ๆ ดังที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ จำนวนห้องโรงแรมในประเทศเพิ่มขึ้นจาก 46,100 ห้องในปี ค.ศ.1980 เป็น 168,600 ห้องในปี ค.ศ.1990 อย่างไรก็ตามการคาดการณ์ที่ละเอียดอ่อนเกี่ยวกับปริมาณการท่องเที่ยวเป็นตัวแปรสำคัญที่อาจศึกษาได้ยาก ตัวแปรที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันรวมทั้งการส่งเสริมสิทธิพิเศษ เช่น ผู้ที่จะจัดการก่อสร้างโรงแรมในประเทศไทยก่อนปี ค.ศ.1982 และตั้งแต่ปี ค.ศ.1987 จะได้รับการส่งเสริมการลดภาษีด้านอุปกรณ์ เครื่องมือและสิทธิยกเว้นด้านภาษี การคาดการณ์เชิงปริมาณการท่องเที่ยวอาจสัมพันธ์อย่างเป็นประโยชน์กับเป้าหมายนโยบายที่ส่งเสริม ในกรณีของประเทศไทย การก่อสร้างโรงแรมปรากฏว่ามีเพิ่มสูงขึ้น ตอบสนองความสนใจผลจากการทำนายว่าจะต้องมีการขยายห้องโรงแรมในปี ค.ศ.1989 ในปี ค.ศ.1990 พบว่ามีการทำนายว่ามีห้องเกิน (Oversupply) ขณะที่ในปี ค.ศ.1991 แสดงว่ามีอัตราห้องอยู่ในช่วงมีปัญหาความกดดัน ปริมาณของการจัดห้องพักอยู่ในช่วงได้รับความกดดันจากการเจริญเติบโตของการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก รวมทั้งศักยภาพความกดดันจากระบบสาธารณูปโภค และจากจัดหาแรงงานที่มีทักษะ
ตารางที่ 43 ธุรกิจโรงแรม พ.ศ.2547-2549
ประเภทที่พัก พ.ศ.2547 พ.ศ.2549 ร้อยละการเปลี่ยนแปลง
โรงแรมและเกสต์เฮ้าส์ 2,547 2,496 -2
ห้องพัก 180,226 117,178 -1.7
ผู้เข้าพัก(ล้านคน) 42.2 45 6.6
ลูกจ้าง 120,660 117,333 -2.8
แหล่งที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ
ตารางที่ 44 ห้องพักในโรงแรม บังกะโล เกสต์เฮาส์ พ.ศ.2546
ภูมิภาค แห่ง ห้อง ร้อยละ
กทม.และปริมณฑล 603 89,394 26
ภาคตะวันออก 769 51,520 15
ภาคกลาง 1,968 37,358 11
ภาคเหนือ 1,074 44,819 13
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 567 26,670 8
ภาคใต้ 2 ,427 98,552 28
รวม 7,408 348,283 100.0
หมายเหตุ : ที่พักภาคตะวันออกเท่ากับร้อยละ 15 ของทั่วประเทศสำหรับชลบุรีมีห้องพักสูงที่สุดอันดับที่ 1 ของทั่วประเทศถึง 36,306 หน่วย หรือร้อยละ 10 สูงกว่าภูเก็ตที่มีห้องพัก 31,351 หน่วย
แหล่งที่มา : ประชาชาติธุรกิจ 15 กุมภาพันธ์ 2550
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น