9.เศรษฐกิจการท่องเที่ยวในยุโรปซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดการท่องเที่ยวจากรายได้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในยุโรปมากที่สุด จากสินค้าและบริการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในยุโรปตะวันตก ยุโรปใต้และยุโรปเหนือ โดยเฉพาะเศรษฐกิจการท่องเที่ยวภาคเมือง
ท่ามกลางความท้าทายใหม่ ๆ และการแข่งขันที่สูงขึ้น สหภาพยุโรป (EU) ปรับยุทธศาสตร์ภาคการท่องเที่ยว เพื่อรักษาตำแหน่งแชมป์สถานที่ท่องเที่ยวอันดับหนึ่งของโลก โดยเน้นเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ควบคู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมพุ่งเป้าไปที่ประเทศเศรษฐกิจใหม่ที่ประชากรมีกำลังซื้อและความต้องการท่องเที่ยวสูงขึ้น ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวของไทยสามารถศึกษาเรียนรู้จากยุทธศาสตร์ EU ได้
แม้ EU จะยังคงเป็นกลุ่มประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากที่สุดของโลกด้วยตัวเลข 370 ล้านคนในปี 2008 หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ของนักท่องเที่ยวทั้งหมดทั่วโลก แต่ EU ก็มิได้นิ่งนอนใจ โดยเฉพาะเมื่อยุโรปต้องเผชิญกับความท้าทายและพบโอกาสใหม่ ๆ ดังนี้
1. วิกฤตการเงินและเศรษฐกิจ ไม่ได้ทำให้ยอดนักท่องเที่ยวตกลงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น นักท่องเที่ยวเปลี่ยนไปเลือกสถานที่ท่องเที่ยวที่ใกล้ขึ้น ใช้ระยะเวลาท่องเที่ยวสั้นลง และเสียค่าใช้จ่ายน้อยลง ซึ่งแนวโน้มชะลอตัวนี้ ทำให้ตัวเลขกิจกรรมการท่องเที่ยวในภาพรวมของปี 2009 ตกลงร้อยละ 5.6
2. ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศเศรษฐกิจใหม่ ได้รับความนิยมมากขึ้นจากนักท่องเที่ยว ซึ่งอาจทำให้ยุโรปสูญเสียส่วนแบ่งตลาด
3. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร เมื่อถึงปี 2020 สหภาพยุโรปจะมีจำนวนประชากรที่มีอายุเกิน 65 ปี คิดเป็นร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด (หรือ 127 ล้านคน) ประชากรกลุ่มนี้มีกำลังซื้อและมีเวลาท่องเที่ยวมาก จึงเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีศักยภาพมาก เพียงแต่ต้องมีบูรณาการความต้องการต่าง ๆ ของประชากรกลุ่มนี้ เข้าไปอยูในโครงสร้างการบริหาร
4. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างข้อจำกัดให้ภาคการท่องเที่ยว อาทิ ในแง่ การขาดแคลนแหล่งน้ำ การทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ ผลกระทบที่โบราณสถานจะได้รับจากการรับนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ฤดูหนาวสั้นลง ทำให้ธุรกิจที่ผูกติดกับกิจกรรมในฤดูหนาวมีระยะเวลาประกอบการสั้นลงตามไปด้วย
5. การพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารสารสนเทศ เปลี่ยนแปลงรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้กับผู้รับบริการการท่องเที่ยว แต่กิจกรรมรายย่อยมักไม่มีเงินทุนเพียงพอที่จะพัฒนาศักยภาพของตนและลูกจ้าง เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงนี้ 6. ฤดูกาลและรูปแบบการบริโภค ที่กระจุกช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ทำให้ภาคการท่องเที่ยวไม่สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน และบุคลากรอย่างคุ้มค่าสูงสุดได้
เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในภาคธุรกิจการท่องเที่ยว เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2553 คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวฉบับใหม่ เรียกว่า “Europe, the world’s No 1 tourist destination-a new political Framework for tourism in Europe” โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
1.1 เพิ่มมูลค่าทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีอยู่ โดยสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เกิดจากการผสมผสานกันของ
สิ่งที่แต่ละประเทศสมาชิก EU มี อาทิ การสร้างเส้นทางแสวงบุญที่ครอบคลุมประเทศต่าง ๆ ใน EU ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปจะพิจารณาให้ตรา “Europe seal of legitimacy” แก่ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะนี้ได้ และอุ่นใจในความคุ้มค่าของการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการ
สิ่งที่แต่ละประเทศสมาชิก EU มี อาทิ การสร้างเส้นทางแสวงบุญที่ครอบคลุมประเทศต่าง ๆ ใน EU ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปจะพิจารณาให้ตรา “Europe seal of legitimacy” แก่ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะนี้ได้ และอุ่นใจในความคุ้มค่าของการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการ
1.2 เพิ่มขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศของภาคการท่องเที่ยว โดยจัดตั้งเวที “ICT กับการท่องเที่ยว” เพื่อให้ทั้งสองภาคทำงานประสานกันได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
1.3 เพิ่มศักยภาพของบุคลากรในอุตสาหกรรม โดยส่งเสริมให้มีการเข้าร่วมโครงการพัฒนาความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง อาทิ โครงการ “อีราสมุสสำหรับผู้ประกอบการรุ่นเยาว์” “โครงการ e-skills เพื่อนวัตกรรม”
1.4 ขยายระยะเวลาเทศกาลท่องเที่ยว ผนวกกับจัดโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบเฉพาะกลุ่ม อาทิ การท่องเที่ยวในหมู่เยาวชน หมู่คนสูงอายุ หรือผู้พิการ ฯลฯ เพื่อใช้โครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรในภาคการท่องเที่ยวให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเพิ่มเม็ดเงิน แม้ใน Low-season
1.5 รวบรวมและจัดทำฐานข้อมูล เช่น การสำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในด้านต่าง ๆ เช่น บริการขนส่ง ที่พัก แพ็คเกจทัวร์; จัดให้มีการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบัน มหาวิทยาลัย และหน่วยงานวัดมาตรฐานภาครัฐและเอกชน และสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งชาติ
2. ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยสำนึกรับผิดชอบและยึดถือคุณภาพเป็นหลัก
ความสามารถในการแข่งขันของภาคการท่องเที่ยวจะต้องมาคู่กับการพัฒนาที่ยั่งยืน เนื่องจากคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยวขึ้นอยู่กับคุณภาพของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ/วัฒนธรรม ความเป็นหนึ่งเดียวกับชุมชน และคุณภาพและความยั่งยืนของตำแหน่งงานที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวสร้างขึ้น
ความสามารถในการแข่งขันของภาคการท่องเที่ยวจะต้องมาคู่กับการพัฒนาที่ยั่งยืน เนื่องจากคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยวขึ้นอยู่กับคุณภาพของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ/วัฒนธรรม ความเป็นหนึ่งเดียวกับชุมชน และคุณภาพและความยั่งยืนของตำแหน่งงานที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวสร้างขึ้น
2.1 จัดให้มีระบบชี้วัดการจัดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน โดยคณะกรรมาธิการยุโรปจะจัดทำฉลากเพื่อสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวที่ดำเนินการบนพื้นฐานของสำนึกที่ดีของความยั่งยืน ทั้งนี้ เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถแยกแยะผลิตภัณฑ์ลักษณะนี้ได้ และอุ่นใจในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการ
2.2 รณรงค์ให้นักท่องเที่ยวยุโรปเลือกใช้บริการของธุรกิจท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับชุมชน และไม่ละเมิดสิทธิเด็กและสตรี
2.3 ประเมินความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อหลีกเลี่ยงการลงทุนในด้านนั้น ๆ และสำรวจทางเลือกที่จะเป็นโอกาสในธุรกิจท่องเที่ยวต่อไป
2.4 เสนอกฎระเบียบให้ธุรกิจท่องเที่ยวต้องมีความยั่งยืนและรับผิดชอบต่อธรรมชาติและสังคม พร้อมจัดตั้งรางวัลสำหรับธุรกิจและจุดท่องเที่ยวที่เคารพกติกาดังกล่าว
2.5 เสนอให้มีกลยุทธ์สำหรับการท่องเที่ยวทางทะเลและชายฝั่งที่ยั่งยืน
2.6 กระชับความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและประเทศที่ส่งเสริมเศรษฐกิจใหม่ที่สำคัญ อาทิ จีน รัสเซีย อินเดีย และบราซิล รวมถึงประเทศในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เพื่อแลกเปลี่ยน Best Practices ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
3. สร้างแบรนด์ “ยุโรป” ที่เป็นหนึ่งเดียว ในฐานะกลุ่มประเทศที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนและมีคุณภาพ เพื่อให้ยุโรปแตกต่างจากสถานที่อื่น ๆ ในโลก
3.1 ประชาสัมพันธ์อัตลักษณ์นี้ผ่านเว็บไซต์ www.visiteurope.com ภายใต้การบริหารของคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยวยุโรป (ETC - Europe Travel Commission) โดยเฉพาะในตลาดโลกและตลาดประเทศเศรษฐกิจใหม่ อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน รัสเซีย อินเดียและบราซิล
3.2 ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ “แบรนด์ยุโรป” ในงานส่งเสริมการท่องเที่ยวนานาชาติ
3.3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ EU ในคณะกรรมการการท่องเที่ยวนานาชาติ อาทิ องค์การการท่องเที่ยวโลก (WTO - World Tourism Organisation), องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development – OECD), T20 และ EURO-MED (ความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปกับประเทศรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน)
4. ใช้เครื่องมือและกรอบการลงทุนของ EU ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยในปัจจุบัน EU มีโครงการสนับสนุนการท่องเที่ยวดังต่อไปนี้
4.1 European structural fund (ERDF, ESF)
4.2 Eurpoean Agricultural fund (EAFDR)
4.3 European Fisheries fund (EFF)
4.4 The Competitive and Innovation Framework Programme (CIP)
4.2 Eurpoean Agricultural fund (EAFDR)
4.3 European Fisheries fund (EFF)
4.4 The Competitive and Innovation Framework Programme (CIP)
5. เนื่องจากกำลังซื้อและความต้องการท่องเที่ยวในประเทศเศรษฐกิจใหม่กำลังเติบโต EU ควรพิจารณาปรับนโยบายการให้วีซ่าและการข้ามเขตแดน ให้มีบรรยากาศส่งเสริมการท่องเที่ยวมากขึ้น (หมายเหตุ: EU เห็นชอบที่จะยกเว้นวีซ่าเพิ่มเติมกับบางประเทศ และเขตการปกครองพิเศษ ที่ EU ให้ความสำคัญทั้งด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ล่าสุดคือ บราซิล และไต้หวัน ซึ่งกรณีไต้หวันนั้น ข้อเสนอได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภายุโรปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 และความตกลงมีผลแล้วตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2554 ซึ่ง EU คาดการณ์ว่า จะช่วยให้จำนวนนักท่องเที่ยวและผู้เยี่ยมเยือนชาวไต้หวันที่เดินทางมายัง EU เพิ่มขึ้นอย่างน้อย ร้อยละ 30)
แม้ว่ายุทธศาสตร์ของสหภาพยุโรปมีหลายประเด็นที่ยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวของไทยอาจพยายามทำอยู่แล้ว แต่เชื่อว่ายังคงมีอีกหลายประเด็นที่ไทยยังไม่สามารถเรียนรู้จาก EU ได้ เช่น จะสามารถร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคทั้งในระดับเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะ “ข้ามชาติ” เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีอยู่แล้ว นอกจากนี้ไทยยังคงต้องทำการตลาดให้เข้มแข็งขึ้นทั้งใน EU และกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่ โดยนอกจากจะต้องหาเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากยุโรปและประเทศอื่น ๆ แล้ว ยังควรจะพิจารณาเสนอภาพลักษณ์ของภูมิประเทศ/ภูมิภาค ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนเช่นเดียวกับยุโรป เพื่อรักษาคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยวไทยและภูมิภาคนี้ไว้อย่างยั่งยืน และไม่ให้ตกเทรนด์อีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น