วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

1. สังคมวิทยาการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ

สังคมวิทยาการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ






สังคมวิทยา (อังกฤษ : sociology) คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิตทางสังคมของมนุษย์, กลุ่มคน, และสังคม สิ่งที่สาขาวิชานี้สนใจคือ กฏเกณฑ์ และกระบวนการทางสังคม ที่ยึดเหนี่ยวหรือแบ่งแยกผู้คน ทั้งในสภาวะที่เป็นปัจเจก และในฐานะของสมาชิกของสมาคม, กลุ่ม, หรือสถาบัน
สังคมวิทยาสนใจพฤติกรรมมนุษย์ ในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิตทางสังคม ดังนั้นการศึกษาทางด้านนี้ จึงครอบคลุมตั้งแต่การวิเคราะห์การพบปะกันของคนที่ไม่รู้จักกันบนท้องถนน ไปจนถึงการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทางสังคมในระดับโลก


การท่องเที่ยว หมายถึงการเดินทางเพื่อพักผ่อนหย่อนใจหรือเพื่อความสนุกสนานตื่นเต้นหรือเพื่อหาความรู้ องค์กรการท่องเที่ยวของสหประชาชาติ (อังกฤษ: World Tourism Organization) กำหนดไว้ว่า การท่องเที่ยวหมายถึงการเดินทาง โดยระยะทางมากกว่า 80 กิโลเมตรจากบ้าน เพื่อจุดประสงค์ในการพักผ่อนหย่อนใจ
การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมหลักชนิดหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งนำรายได้จากประชาชนชาวไทย และชาวต่างชาติเข้าสู่ประเทศไทย
สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (SIPA) เล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ (ICT) มาพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น จึงได้ผลักดันโครงการนำร่องด้วยการสร้างพื้นฐานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กระตุ้นให้กลุ่มท่องเที่ยวร่วมกันบริการนักท่องเที่ยวผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งนับเป็นตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ระดับสูงภายใต้ชื่อ "Tourism c-Commerce" (อังกฤษ: Tourism Collabolative Commerce) หรือการพาณิชย์เชิงร่วมมือบนธุรกิจท่องเที่ยวขยายโอกาสทางการค้าที่ข่วยเพิ่มรายได้สู่หน่วยธุรกิจ

เศรษฐกิจ (Economy) คือ การกระทำใด ๆ อันก่อให้เกิด การผลิต การจำหน่ายและการบริโภค ซึ่งความหมายในทางเศรษฐกิจจะแตกต่าง จากความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไปบ้าง ดังนี้
การผลิต คือ การกระทำเพื่อให้เกิดผลที่สามารถตีค่าออกมาเป็นเงินได้ หากการกระทำใด ซึ่งผลของการกระทำแม้จะมีคุณค่ามีประโยชน์แต่ไม่สามารถตีค่าออกมาเป็นเงินได้ การกระทำนั้นในความหมายทางเศรษฐกิจไม่ถือเป็นการผลิต และผลของการกระทำก็ไม่เรียกผลผลิต อาจจะเรียกเป็นผลงาน
การจำหน่าย คือ การนำผลผลิตไปเสนอต่อผู้ที่มีความต้องการ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ การนำผลผลิตไปสู่ตลาด เพื่อให้เกิดการซื้อขายกันขึ้น
การบริโภค คือ การจับจ่ายใช้สอยรวมถึงการจับจ่ายใช้สอยรวมถึงการรับประทานด้วย จะมองเห็นได้ว่า เศรษฐกิจนั้นจะเน้นที่ราคาหรือเงิน ของบางสิ่งถึงแม้จะมีประโยชน์ซึ่งมนุษย์และสิ่งมีชีวิตจะขาดเสียมิได้ เช่น อากาศสำหรับหายใจ แต่เนื่องจากอากาศมีอยู่ทั่วไป ซื้อขายกันไม่ได้ อากาศจึงไม่ถือเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจ แต่ถ้ามีคนเอาอากาศนั้นมาบรรจุในภาชนะ เพื่อจำหน่าย อากาศเช่นนั้นก็กลายเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจไป ดังนั้นเมื่อพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจจึงต้องเกี่ยวข้องกับราคาหรือเงินเสมอ

สังคมวิทยาการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ เน้นการศึกษาระบบเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว รายได้ รายจ่าย ราคา การจ้างงาน ดุลการท่องเที่ยวและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในภูมิภาคต่าง ๆ

สังคมวิทยาการท่องเที่ยวในเอเชีย อุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยวในสังคมวัฒนธรรมไทย และเอเชียมีบทบาทความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน ทำให้มีการศึกษาสังคมวิทยาเศรษฐศาสตร์การท่องเที่ยว (The Sociological Economics of Tourism) มีเป้าหมายเพื่อศึกษาความสำคัญของการท่องเที่ยวทางด้านเศรษฐกิจในไทยและเอเชียปัจจุบัน  ศึกษาปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวรวมทั้งพัฒนาการด้านนโยบายการท่องเที่ยว มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษางานวิจัยสังคมวิทยาเศรษฐศาสตร์การท่องเที่ยว ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวและแนวโน้มศักยภาพการท่องเที่ยวในเอเชียและแปซิฟิก โดยไม่เน้นพื้นที่ในแถบออสเตรเลียและญี่ปุ่น  ศึกษาสังคมวิทยาเศรษฐศาสตร์การท่องเที่ยวกับสังคมไทยใน 6 ประเด็น  คือ
            1.ปริมาณหรืออุปสงค์การท่องเที่ยว (The supply of tourism)
            2.ความต้องการหรืออุปทานการท่องเที่ยว (The demand for tourism)
            3.ทุนและการจ้างงาน (Capital utilization and employment)
            4.ปัจจัยด้านราคา (Price determination)
            5.รายได้ (Income generation)
            6.งบดุล (The  balance of payments)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น