1. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นภาคหนึ่งในระบบเศรษฐกิจ และมีคุณลักษณะพิเศษเฉพาะตัวที่แตกต่างจากอุตสาหกรรมอื่น คือ ผู้บริโภคหรือนักท่องเที่ยวจะต้องเดินทางไปบริโภคสินค้าทางการท่องเที่ยว ณ ถิ่นที่อยู่ของสินค้านั้น ๆ เพราะไม่สามารถจะสั่งสินค้ามาบริโภค ณ ถิ่นที่อยู่ของตนเองได้ นักท่องเที่ยวประสงค์จะชื่นชมกับแหล่งท่องเที่ยวแห่งใด ก็ต้องเดินทางไปหาไปชื่นชม ณ ที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยวนั้น ปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่ควรพิจารณา ได้แก่
1.1 รายได้ของประชากร รายได้ส่วนบุคคลหรือรายได้ของครัวเรือน ซึ่งอาจพิจารณาได้ 2 แนวทาง คือ
1.1.1 ความสามารถในการหารายได้ของประชากรเป็นปัจจัยที่ใช้พิจารณาประชาชนหรือนักท่องเที่ยวของประเทศหรือภูมิภาคนั้นมีอำนาจซื้อ (purchasing power) มากหรือน้อย โดยพิจารณาได้จากอัตรารายได้ต่อหัวปี (percapita income) หากเป็นประเทศที่ประชากรของประเทศมีรายได้ต่อหัวปีสูง ก็อาจพยากรณ์ได้ว่า ประชากรของประเทศนั้นน่าจะมีอำนาจซื้อสูงกว่าประชากรของประเทศที่มีอัตรารายได้ต่อหัวต่อปีต่ำกว่า การที่ประชากรหรือนักท่องเที่ยวของประเทศหรือภูมิภาคหนึ่งมีอำนาจการซื้อสูงหรือมีรายได้สูงกว่า ย่อมมีโอกาสที่จะตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวได้มากกว่ากลุ่มประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่า เพราะตามปกติประชาชนที่มีรายได้มักจะจับจ่ายใช้สอยในสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพในลำดับแรก ๆ ก่อน เมื่อมีรายได้หรือเงินทองเหลือแล้ว จึงจะตัดสินใจนำไปใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยว เนื่องจากการเดินทางท่องเที่ยวมิได้เป็นปัจจัยหลักหรือเป็นกิจกรรมที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ แต่เป็นเพียงกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้มีชีวิตที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นเท่านั้น ดังนั้น รายได้ของประชากรหรือนักท่องเที่ยวจึงเป็นปัจจัยประการหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้น หรือลดลงของปริมาณนักท่องเที่ยวหรือการเดินทางท่องเที่ยว
1.1.2 สำหรับรายได้ของประชากรหรือรายได้ส่วนบุคคลของประเทศหรือภูมิภาคที่เป็นที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยว กรณีที่ประเทศหรือภูมิภาคที่เป็นที่ตั้งของแหล่งที่ประชากรมีรายได้สูง หรือรายได้ต่อหัวต่อปีมีอัตราสูง ย่อมเป็นประเทศหรือภูมิภาคที่มีค่าครองชีพสูง และมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวหรือผู้ที่จะตัดสินใจเดินทางไปท่องเที่ยวด้วย เพราะนักท่องเที่ยวต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปท่องเที่ยว พักผ่อน และใช้ชีวิตในประเทศหรือภูมิภาคที่มีค่าครองชีพสูงดังกล่าว เป็นผลให้แนวโน้มปริมาณนักท่องเที่ยวมีน้อยลง และมีเฉพาะนักท่องเที่ยวที่มีฐานะทางการเงินดีเท่านั้น
1.2 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ในการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ต้องอาศัยการแลกเปลี่ยนเงินตราเป็นเงินสกุลต่าง ๆ ของประเทศที่ไปท่องเที่ยว หรือไปเยือน นักท่องเที่ยวจากประเทศที่มีค่าของเงินแข็ง เมื่อเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศที่มีค่าของเงินอ่อนกว่า ย่อมมีอำนาจซื้อมากกว่าหรือมีความรู้สึกว่าการใช้จ่ายต่าง ๆ ในประเทศที่ไปท่องเที่ยวมีราคาต่ำ เช่น นักท่องเที่ยวที่ถือครองเงินเหรียญสหรัฐฯ ดอลลาร์สหรัฐฯ และเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2538 อัตราในการแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 1 เหรียญสหรัฐฯ เท่ากับ 25 บาท ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2541-2542 อัตราการแลกเปลี่ยนได้เปลี่ยนเป็น 40-50 บาท นักท่องเที่ยวที่ถือเงินเหรียญสหรัฐฯ จึงมีอำนาจในการซื้อเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมประมาณ 2 เท่า การที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรามีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะดังกล่าว ย่อมส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว คือ ประเทศที่มีค่าเงินอ่อนกว่ามีศักยภาพในการเชิญชวน ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากประเทศที่มีค่าเงินแข็งกว่าให้เดินทางมาท่องเที่ยวได้เพิ่มมากขึ้น ในทางกลับกัน ประเทศที่มีค่าเงินแข็งกว่ามักจะประสบปัญหาในการเชิญชวนดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่มีค่าเงินอ่อนกว่า ให้เดินทางไปท่องเที่ยวได้ยากขึ้น เพราะนักท่องเที่ยวเห็นได้ชัดเจนว่าตนจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินทางและการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น
1.3 ภาษีอากร การจัดเก็บภาษีอากรเป็นการแสวงหารายได้ของภาครัฐเพื่อนำมาใช้จ่ายในการบริหารประเทศ โดยจัดเก็บการจากประกอบธุรกิจ หรือการทำธุรกรรมตามกฎหมาย เช่น การซื้อ ขาย โอน และเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน เป็นต้น หรือบางครั้งรัฐอาจใช้ภาษีเป็นเครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน เช่น มาตรการเก็บภาษีเดินทางสำหรับผู้ประสงค์จะเดินทางไปต่างประเทศ หรือ Exit Tax ซึ่งอาจมีผลช่วยลดการเดินทางไปต่างประเทศได้ระดับหนึ่ง เป็นต้น
1.4 นโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล รัฐบาลมีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะนโยบายด้านเศรษฐกิจ หากรัฐบาลให้ความสำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ก็จะกำหนดให้การบริหารและการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นนโยบายสำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้วย เช่น กรณีของประเทศไทย รัฐบาลได้กำหนดแผนพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 การที่รัฐบาลกำหนดให้อุตสาหกรรมหรือธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเป็นนโยบายสำคัญประการหนึ่งในการบริหารประเทศ ย่อมเป็นผลให้มีการนำไปสู่การปฏิบัติ ทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีโอกาสเจริญเติบโต ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากรัฐบาลของประเทศใดไม่ได้ให้ความสนใจ ไม่ให้ความสำคัญหรือไม่มีนโยบายที่เกี่ยวกับการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว โอกาสที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศนั้นจะเจริญเติบโตหรือขยายตัวย่อมเป็นไปได้ยากกว่า
1.5 การรวมตัวเป็นกลุ่มเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ปัจจุบันมีการรวมตัวของประเทศต่าง ๆ เข้าเป็นกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกเพิ่มมากขึ้น เช่น กลุ่มสหภาพยุโรป (European Union--EU) ในทวีปยุโรป กลุ่มประเทศความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก (Asia Pacific Economic Cooperation--APEC) กลุ่มประเทศความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น ในการรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ ดังกล่าว ได้มีการกำหนดแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวรวมกันไว้เป็นส่วนหนึ่งของการเข้าร่วมกลุ่มทางเศรษฐกิจ และมีแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับความร่วมมือหรือการผ่อนปรนกฎหรือระเบียบเกี่ยวกับการเดินทางและการท่องเที่ยว เช่น มีการผ่อนปรนระเบียบพิธีการในการเดินทางเข้า-ออกประเทศภายในกลุ่มเศรษฐกิจ เพื่อให้นักท่องเที่ยว หรือผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศภายในกลุ่มเศรษฐกิจ มีความสะดวกง่ายดายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งช่วยให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศภายในกลุ่มเศรษฐกิจมีโอกาสเจริญเติบโต และขยายตัวเพิ่มมากขึ้นด้วย
1.6 ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งที่จะเกิดขึ้นในระดับประเทศ หรือขยายลุกลามกลายเป็นระดับภูมิภาค เช่น ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เกาหลี อินโดนีเซีย ในช่วงปี พ.ศ. 2540-2541 และลุกลามจนกลายเป็นภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย ย่อมส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว กล่าวคือ ปริมาณการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจากประเทศที่ประสบภาวะวิกฤตน้อยลง เพราะประชากรในประเทศหรือกลุ่มประเทศดังกล่าวมีรายได้ลดลง เนื่องจากปัญหาการว่างงาน ธุรกิจล่มสลายหรือปิดกิจการลง ประชาชนจำเป็นต้องประหยัดและอดออม รวมทั้งต้องระมัดระวังเลือกใช้จ่ายเฉพาะในสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตหรือเลี้ยงดูครอบครัว แทนที่จะมีรายได้เหลือนำไปใช้จ่ายในการพักผ่อนหย่อนใจ หรือเดินทางท่องเที่ยวดังเช่นในช่วงที่ประเทศมีเศรษฐกิจดี
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาประเทศหรือภูมิภาคที่ประสบกับภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจในอีกแง่มุมหนึ่ง ประเทศหรือภูมิภาคดังกล่าวอาจปรับวิกฤตให้เป็นโอกาสในการดึงดูด เชิญนักท่องเที่ยวให้สนใจและกระตุ้นให้ตัดสินใจเลือกเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศหรือภูมิภาคเพิ่มมากขึ้นได้ โดยชูประเด็นการที่ค่าเงินของประเทศอ่อนตัว เป็นโอกาสดีของนักท่องเที่ยวจากประเทศที่ถือครองเงินสกุลที่มีค่าแข็งกว่ามีอำนาจการซื้อมากกว่า ทำให้สามารถเดินทางท่องเที่ยวและใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น เช่น ในกรณีของประเทศไทยซึ่งประสบกับภาวะวิกฤตดังกล่าวแล้วข้างต้น จนกระทั่งธุรกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของประเทศต้องประสบกับภาวะชะงักงัน ถดถอย หรือถึงกับปิดกิจการไป แต่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวหรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวยังสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง และเจริญเติบโตขยายตัวในอัตราร้อยละ 10 เป็นต้น
1.1 รายได้ของประชากร รายได้ส่วนบุคคลหรือรายได้ของครัวเรือน ซึ่งอาจพิจารณาได้ 2 แนวทาง คือ
1.1.1 ความสามารถในการหารายได้ของประชากรเป็นปัจจัยที่ใช้พิจารณาประชาชนหรือนักท่องเที่ยวของประเทศหรือภูมิภาคนั้นมีอำนาจซื้อ (purchasing power) มากหรือน้อย โดยพิจารณาได้จากอัตรารายได้ต่อหัวปี (percapita income) หากเป็นประเทศที่ประชากรของประเทศมีรายได้ต่อหัวปีสูง ก็อาจพยากรณ์ได้ว่า ประชากรของประเทศนั้นน่าจะมีอำนาจซื้อสูงกว่าประชากรของประเทศที่มีอัตรารายได้ต่อหัวต่อปีต่ำกว่า การที่ประชากรหรือนักท่องเที่ยวของประเทศหรือภูมิภาคหนึ่งมีอำนาจการซื้อสูงหรือมีรายได้สูงกว่า ย่อมมีโอกาสที่จะตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวได้มากกว่ากลุ่มประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่า เพราะตามปกติประชาชนที่มีรายได้มักจะจับจ่ายใช้สอยในสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพในลำดับแรก ๆ ก่อน เมื่อมีรายได้หรือเงินทองเหลือแล้ว จึงจะตัดสินใจนำไปใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยว เนื่องจากการเดินทางท่องเที่ยวมิได้เป็นปัจจัยหลักหรือเป็นกิจกรรมที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ แต่เป็นเพียงกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้มีชีวิตที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นเท่านั้น ดังนั้น รายได้ของประชากรหรือนักท่องเที่ยวจึงเป็นปัจจัยประการหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้น หรือลดลงของปริมาณนักท่องเที่ยวหรือการเดินทางท่องเที่ยว
1.1.2 สำหรับรายได้ของประชากรหรือรายได้ส่วนบุคคลของประเทศหรือภูมิภาคที่เป็นที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยว กรณีที่ประเทศหรือภูมิภาคที่เป็นที่ตั้งของแหล่งที่ประชากรมีรายได้สูง หรือรายได้ต่อหัวต่อปีมีอัตราสูง ย่อมเป็นประเทศหรือภูมิภาคที่มีค่าครองชีพสูง และมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวหรือผู้ที่จะตัดสินใจเดินทางไปท่องเที่ยวด้วย เพราะนักท่องเที่ยวต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปท่องเที่ยว พักผ่อน และใช้ชีวิตในประเทศหรือภูมิภาคที่มีค่าครองชีพสูงดังกล่าว เป็นผลให้แนวโน้มปริมาณนักท่องเที่ยวมีน้อยลง และมีเฉพาะนักท่องเที่ยวที่มีฐานะทางการเงินดีเท่านั้น
1.2 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ในการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ต้องอาศัยการแลกเปลี่ยนเงินตราเป็นเงินสกุลต่าง ๆ ของประเทศที่ไปท่องเที่ยว หรือไปเยือน นักท่องเที่ยวจากประเทศที่มีค่าของเงินแข็ง เมื่อเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศที่มีค่าของเงินอ่อนกว่า ย่อมมีอำนาจซื้อมากกว่าหรือมีความรู้สึกว่าการใช้จ่ายต่าง ๆ ในประเทศที่ไปท่องเที่ยวมีราคาต่ำ เช่น นักท่องเที่ยวที่ถือครองเงินเหรียญสหรัฐฯ ดอลลาร์สหรัฐฯ และเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2538 อัตราในการแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 1 เหรียญสหรัฐฯ เท่ากับ 25 บาท ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2541-2542 อัตราการแลกเปลี่ยนได้เปลี่ยนเป็น 40-50 บาท นักท่องเที่ยวที่ถือเงินเหรียญสหรัฐฯ จึงมีอำนาจในการซื้อเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมประมาณ 2 เท่า การที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรามีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะดังกล่าว ย่อมส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว คือ ประเทศที่มีค่าเงินอ่อนกว่ามีศักยภาพในการเชิญชวน ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากประเทศที่มีค่าเงินแข็งกว่าให้เดินทางมาท่องเที่ยวได้เพิ่มมากขึ้น ในทางกลับกัน ประเทศที่มีค่าเงินแข็งกว่ามักจะประสบปัญหาในการเชิญชวนดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่มีค่าเงินอ่อนกว่า ให้เดินทางไปท่องเที่ยวได้ยากขึ้น เพราะนักท่องเที่ยวเห็นได้ชัดเจนว่าตนจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินทางและการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น
1.3 ภาษีอากร การจัดเก็บภาษีอากรเป็นการแสวงหารายได้ของภาครัฐเพื่อนำมาใช้จ่ายในการบริหารประเทศ โดยจัดเก็บการจากประกอบธุรกิจ หรือการทำธุรกรรมตามกฎหมาย เช่น การซื้อ ขาย โอน และเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน เป็นต้น หรือบางครั้งรัฐอาจใช้ภาษีเป็นเครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน เช่น มาตรการเก็บภาษีเดินทางสำหรับผู้ประสงค์จะเดินทางไปต่างประเทศ หรือ Exit Tax ซึ่งอาจมีผลช่วยลดการเดินทางไปต่างประเทศได้ระดับหนึ่ง เป็นต้น
1.4 นโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล รัฐบาลมีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะนโยบายด้านเศรษฐกิจ หากรัฐบาลให้ความสำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ก็จะกำหนดให้การบริหารและการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นนโยบายสำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้วย เช่น กรณีของประเทศไทย รัฐบาลได้กำหนดแผนพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 การที่รัฐบาลกำหนดให้อุตสาหกรรมหรือธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเป็นนโยบายสำคัญประการหนึ่งในการบริหารประเทศ ย่อมเป็นผลให้มีการนำไปสู่การปฏิบัติ ทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีโอกาสเจริญเติบโต ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากรัฐบาลของประเทศใดไม่ได้ให้ความสนใจ ไม่ให้ความสำคัญหรือไม่มีนโยบายที่เกี่ยวกับการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว โอกาสที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศนั้นจะเจริญเติบโตหรือขยายตัวย่อมเป็นไปได้ยากกว่า
1.5 การรวมตัวเป็นกลุ่มเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ปัจจุบันมีการรวมตัวของประเทศต่าง ๆ เข้าเป็นกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกเพิ่มมากขึ้น เช่น กลุ่มสหภาพยุโรป (European Union--EU) ในทวีปยุโรป กลุ่มประเทศความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก (Asia Pacific Economic Cooperation--APEC) กลุ่มประเทศความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น ในการรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ ดังกล่าว ได้มีการกำหนดแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวรวมกันไว้เป็นส่วนหนึ่งของการเข้าร่วมกลุ่มทางเศรษฐกิจ และมีแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับความร่วมมือหรือการผ่อนปรนกฎหรือระเบียบเกี่ยวกับการเดินทางและการท่องเที่ยว เช่น มีการผ่อนปรนระเบียบพิธีการในการเดินทางเข้า-ออกประเทศภายในกลุ่มเศรษฐกิจ เพื่อให้นักท่องเที่ยว หรือผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศภายในกลุ่มเศรษฐกิจ มีความสะดวกง่ายดายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งช่วยให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศภายในกลุ่มเศรษฐกิจมีโอกาสเจริญเติบโต และขยายตัวเพิ่มมากขึ้นด้วย
1.6 ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งที่จะเกิดขึ้นในระดับประเทศ หรือขยายลุกลามกลายเป็นระดับภูมิภาค เช่น ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เกาหลี อินโดนีเซีย ในช่วงปี พ.ศ. 2540-2541 และลุกลามจนกลายเป็นภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย ย่อมส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว กล่าวคือ ปริมาณการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจากประเทศที่ประสบภาวะวิกฤตน้อยลง เพราะประชากรในประเทศหรือกลุ่มประเทศดังกล่าวมีรายได้ลดลง เนื่องจากปัญหาการว่างงาน ธุรกิจล่มสลายหรือปิดกิจการลง ประชาชนจำเป็นต้องประหยัดและอดออม รวมทั้งต้องระมัดระวังเลือกใช้จ่ายเฉพาะในสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตหรือเลี้ยงดูครอบครัว แทนที่จะมีรายได้เหลือนำไปใช้จ่ายในการพักผ่อนหย่อนใจ หรือเดินทางท่องเที่ยวดังเช่นในช่วงที่ประเทศมีเศรษฐกิจดี
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาประเทศหรือภูมิภาคที่ประสบกับภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจในอีกแง่มุมหนึ่ง ประเทศหรือภูมิภาคดังกล่าวอาจปรับวิกฤตให้เป็นโอกาสในการดึงดูด เชิญนักท่องเที่ยวให้สนใจและกระตุ้นให้ตัดสินใจเลือกเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศหรือภูมิภาคเพิ่มมากขึ้นได้ โดยชูประเด็นการที่ค่าเงินของประเทศอ่อนตัว เป็นโอกาสดีของนักท่องเที่ยวจากประเทศที่ถือครองเงินสกุลที่มีค่าแข็งกว่ามีอำนาจการซื้อมากกว่า ทำให้สามารถเดินทางท่องเที่ยวและใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น เช่น ในกรณีของประเทศไทยซึ่งประสบกับภาวะวิกฤตดังกล่าวแล้วข้างต้น จนกระทั่งธุรกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของประเทศต้องประสบกับภาวะชะงักงัน ถดถอย หรือถึงกับปิดกิจการไป แต่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวหรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวยังสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง และเจริญเติบโตขยายตัวในอัตราร้อยละ 10 เป็นต้น
2. ปัจจัยด้านสังคม การท่องเที่ยวเป็นพฤติกรรมหนึ่งของมนุษย์ในการอยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งอาจจะมีการบอกเล่าและปฏิบัติตาม ๆ กันมา จนกลายเป็นแบบอย่างการดำเนินชีวิตที่สืบทอดต่อกันมา ดังนั้น การพิจารณาผลกระทบที่มีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จึงอาจพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นปัจจัยด้านสังคมได้ ดังนี้ (สุวรรณชัย ฤทธิรักษ์ และมานิตย์ ศุทธสกุล, 2544, หน้า 339-342)
2.1 ทัศนคติในการดำเนินชีวิตของประชาชน ในสังคมใดที่ประชาชนมีทัศนคติว่า การพักผ่อนและการเดินทางท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่ควรกระทำหรือเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตหรือการใช้ชีวิตแล้ว ก็จะเกิดแนวทางในการบริหารจัดการที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของตนเองหรือครอบครัว โดยมีการแบ่งสรรรายได้ส่วนใหญ่ไว้เพื่อใช้จ่าย สำหรับ ความจำเป็นในการดำรงชีวิต และจัดสรรรายได้อีกส่วนหนึ่งไว้เพื่อเก็บออกไว้ใช้จ่าย ในการเดินทางท่องเที่ยว โดยจัดสรรเวลาไว้เพื่อการพักผ่อนและเดินทางท่องเที่ยวด้วย เมื่อสามารถสะสมเก็บออมรายได้ไว้ในระดับที่เพียงพอสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวแล้ว ก็จะออกเดินทางท่องเที่ยวตามระยะเวลาที่กำหนดไว้และกลับไปทำงานเลี้ยงชีพ พร้อมทั้งสะสมเงินเพื่อใช้สำหรับเดินทางเที่ยวในครั้งต่อไปอีก
การที่ประชาชนในสังคมมีทัศนคติการดำเนินชีวิตดังกล่าว ย่อมเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว และทำให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น แต่หากประชาชนในสังคมใดมีทัศนคติว่าการเดินทางท่องเที่ยวเป็นเรื่องฟุ่มเฟือย ทำให้สิ้นเปลืองเงินทอง อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในสังคมนั้น หรือในสังคมของแหล่งท่องเที่ยวที่มีทัศนคติการดำเนินชีวิตเช่นนั้นย่อมเจริญเติบโตขยายตัวได้น้อย
2.2 โครงสร้างอายุของประชากร ในสังคมที่มีกลุ่มประชากรในวัยทำงาน (ประมาณ 20-60 ปี) และผู้อาวุโสหลังเกษียณอายุการทำงาน (มากกว่า 60 ปี) แล้วเป็นจำนวนมาก มีแนวโน้มที่เชิญชวน ดึงดูดให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้นจะเป็นผลดี เนื่องจากประชากรในกลุ่มอายุดังกล่าว มักจะมีกำลังทรัพย์เพียงพอที่สามารถเดินทางได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้เกษียณอายุ มักจะเป็นกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่สำคัญกลุ่มหนึ่ง เนื่องจากกลุ่มผู้เกษียณอายุเป็นประชากรที่พ้นภาระผูกพันจากหน้าที่การงาน เป็นผู้ที่มีเวลาว่างมาก มีรายได้จากบำเหน็จ บำนาญ และหากเป็นผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ด้วยแล้ว ก็สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ตลอดเวลา ที่ต้องการ โดยไม่ต้องรอวันหยุดหรือวันลาพักผ่อน เหมือนประชากรที่อยู่ในวัยทำงาน และต้องรับผิดชอบหน้าที่การงานหรือรับผิดชอบครอบครัว
2.3 เชื้อชาติ ในสังคมที่มีความแตกต่างด้านเชื้อชาติหรือสีผิว หรือมีการแบ่งแยกเชื้อชาติและเหยียดสีผิวสังคมอย่างรุนแรง ย่อมทำให้เกิดบรรยากาศของความไม่เป็นมิตรระหว่างประชากรภายในประเทศด้วยกันเอง และเป็นปัจจัยหรือปัญหาที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินของนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปพักผ่อนท่องเที่ยวในประเทศหรือสังคมนั้น อันเป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศหรือสังคมนั้นด้วย เช่น ในกลุ่มประเทศหรือในสังคมยุโรปตะวันออก ในตะวันออกกลาง และในประเทศพม่า เป็นต้น
2.4 วัฒนธรรม วัฒนธรรมเป็นผลรวมของสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และสืบทอดเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน วัฒนธรรมของสังคมหรือชนชาติใดจึงเป็นผลรวมของสิ่งที่บรรพบุรุษของสังคมหรือชนชาตินั้น ๆ ได้สร้างและมีการสืบทอดเป็นมรดกของสังคมหรือชนชาตินั้นต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน วัฒนธรรมหมายรวมถึงค่านิยม ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปะ รูปแบบการดำเนินชีวิตกิจกรรมทางสังคม อุปนิสัยใจคอ พฤติกรรม รวมทั้งสิ่งก่อสร้าง ผลผลิตหรือสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เป็นต้น
วัฒนธรรมจึงเป็นปัจจัยย่อยหรือด้านสังคมที่สำคัญและมีผลกระทบในเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในกรณีที่แหล่งท่องเที่ยวมีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับว่ามีวัฒนธรรมเก่าแก่ ดีงาม สำคัญ และน่าสนใจ ย่อมเป็นปัจจัยที่ดึงดูดผู้สนใจหรือนักท่องเที่ยวให้ตัดสินใจเลือกเดินทางไปท่องเที่ยว ปัจจัยด้านวัฒนธรรมอาจหมายรวมถึงการเป็นแหล่งประวัติศาสตร์หรืออารยธรรมโบราณที่สำคัญของโลกและน่าสนใจ การเป็นที่ตั้งของโบราณสถาน ศาสนสถาน และมีโบราณวัตถุที่สำคัญและเป็นที่ตื่นตาตื่นใจ การมีกิจกรรม ขนบธรรมเนียม หรือประเพณีต่าง ๆ ที่น่าสนใจสนุกสนาน ประชาชนในสังคมนั้นมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ประกอบอาชีพหรือมีผลผลิตที่แปลกน่าสนใจ เช่น ประเทศอียิปต์ ประเทศจีน ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ปิรามิดในอียิปต์ กำแพงเมืองจีนในประเทศจีน วัดวาอาราม พระราชวัง พิพิธภัณฑ์สถานที่จัดแสดงโครงกระดูกของมนุษย์ยุคก่อน ประวัติศาสตร์ที่จังหวัดกาญจนบุรี พิพิธภัณฑ์สถานที่จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ตำบลบ้านเชียงในประเทศไทย ประเพณีสงกรานต์ ลอยกระทง เผาเทียนเล่นไฟ และบุญบั้งไฟของไทย ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ทางภาคเหนือ การผลิตร่มที่จังหวัดเชียงใหม่ และการผลิตมีดอรัญญิกที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น สำหรับพื้นที่ ประเทศ หรือภูมิภาคที่ไม่มีชื่อเสียงหรือลักษณะเด่นในด้านวัฒนธรรม ถือว่ามีปัจจัยที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวน้อยกว่าการดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศหรือภูมิภาคนั้น จึงกระทำได้ยากลำบากกว่า
2.5 ศาสนา หลักการของแต่ละศาสนาที่องค์ศาสดาหรือผู้ให้กำเนิดศาสนา ล้วนแล้วแต่มีความเชื่อและกำหนดขึ้นเป็นลัทธิ คำสอน กฎเกณฑ์ หรือแนวทางการปฏิบัติทางศาสนา เพื่อให้สาวกนักบวชหรือผู้เลื่อมใสศรัทธาในศาสนาหรือลัทธินั้น ๆ ยึดถือและใช้เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตส่วนบุคคล และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคม ปัจจุบันมีศาสนาสำคัญ ๆ ที่เป็นที่เคารพนับถือของประชากรในภูมิภาค หรือประเทศต่าง ๆ ในโลก เช่น ศาสนาคริสต์ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ลัทธิขงจื้อ เป็นต้น ทุกศาสนาต่างมีหลักการที่คล้ายกัน คือ ต้องการให้สมาชิกเป็นคนดี แต่วิถีทาง การปฏิบัติทางศาสนาและการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมคำสอนของแต่ละศาสนามีความแตกต่างกันไปตามความเชื่อที่สืบทอดต่อเนื่องกันมา โดยมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวใน 2 ลักษณะ ดังนี้
2.5.1 การรณรงค์ส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะด้านการตลาดท่องเที่ยวต่างประเทศที่มุ่งหวังเชิญชวนชาวต่างชาติให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศ จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการนับถือศาสนาของนักท่องเที่ยวด้วย ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวการทางการตลาดที่จะเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นได้ กล่าวคือ จึงต้องศึกษาลักษณะธรรมชาติทางพฤติกรรมการนับถือศาสนาของกลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมายอย่างละเอียด เพื่อจะได้จัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกไว้รองรับได้ โดยไม่ขัดกับหลักศาสนา ตัวอย่างเช่น การมุ่งหวังที่จะเชิญชวนนักท่องเที่ยวที่นับถือศาสนาอิสลามให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ต้องศึกษาและทำความเข้าใจในพฤติกรรมการดำเนินชีวิต หรือการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในชีวิตประจำวันของชาวมุสลิมอย่างละเอียด และพยายามตอบสนองหรือจัดการเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับหลักการ คำสอน และข้อปฏิบติของชาวมุสลิม เช่น การจัดเตรียมอาการที่ไม่ขัดต่อความเชื่อทางศาสนาของชาวมุสลิม จัดให้มีห้องละหมาดในบริเวณสนามบิน สถานีชุมทาง การคมนาคมขนส่ง หรือในบริเวณใกล้เคียงกับแหล่งท่องเที่ยวด้วยความสะดวกมากยิ่งขึ้น อันจะเป็นผลดีและทำให้แผนการตลาดที่มุ่งหวังจะดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยวที่นับถือศาสนาอิสลามประสบผลสำเร็จ ในทางตรงกันข้าม หากไม่ศึกษาทำความเข้าใจและไม่ได้เตรียมสิ่งรองรับ และอำนวยความสะดวกที่ไม่ขัดแย้งกับหลักการคำสอนและข้อปฏิบัติของศาสนา ความพยายามที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ
2.5.2 การป้องกันปัญหากระทบกระทั่งความขัดแย้ง หรือไม่พอใจในระหว่างนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนา ศาสนสถาน และความเชื่อ หรือข้อปฏิบัติของพุทธศาสนา เพราะไม่มีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ความเชื่อ คำสอน และหลักปฏิบัติของศาสนาที่เป็นศาสนาประจำชาติของประเทศที่ต้องการส่งเสริมการท่องเที่ยวนั้นเองด้วย เช่น ประเทศไทยมีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ องค์กร หน่วยงาน หรือผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวก็ต้องจัดให้มีการประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่ความรู้ และความ-เข้าใจให้แก่นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศได้ทราบถึง “ข้อปฏิบัติและข้อห้าม” (do and don’t) สำหรับนักท่องเที่ยวที่อย่างเหมาะสม ทั่วถึงและพอเพียง มิฉะนั้น นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่เป็นคนต่างชาติ ต่างศาสนา ก็อาจกระทำ การในสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น การมีพฤติกรรมที่ลบหลู่พระพุทธรูปในศาสนสถานหรือแหล่งท่องเที่ยว เพื่อถ่ายภาพที่ระลึก หรือแต่งกายไม่สุภาพเข้าไปในศาสนสถาน นอกจากนี้ ยังอาจเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้กับนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่ต้องกลายเป็นผู้กระทำความผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้นักท่องเที่ยวได้รับความรู้สึกประทับใจในเชิงลบต่อพื้นที่ ประเทศหรือภูมิภาคที่เดินทางเข้าไปท่องเที่ยวอีกด้วย
2.6 ความปลอดภัยในร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินในสังคม ในประเทศหรือภูมิภาคที่มีความสงบ เรียบร้อย คนในสังคมมีความมั่นคงและปลอดภัยในร่างกาย ชีวิตและทรัพย์สิน ไม่มีปัญหาทางสังคม หรือมีปัญหาบ้างเพียงเล็กน้อยตามปกติธรรมดา นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศมีความมั่นใจที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวในพื้นที่ ประเทศหรือภูมิภาคนั้นด้วยความปลอดภัย ไม่ต้องกังวลกับปัญหาเกี่ยวกับ ร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สิน ในระหว่างที่เดินทางไปเยี่ยมเยือนหรือพักอาศัยอยู่ในพื้นที่หรือประเทศนั้น ๆ ได้แก่ ความปลอดภัยในการใช้บริการคมนาคมขนส่ง ความปลอดภัยในการใช้บริการนำเที่ยว ความปลอดภัยจากการใช้บริการมัคคุเทศก์ ความปลอดภัยในการใช้บริการพักแรม ความปลอดภัยจากการบริโภคอาหาร ความปลอดภัยจากการใช้บริการด้านบันเทิง และความปลอดภัยในการซื้อสินค้าและของที่ระลึก ของนักท่องเที่ยว สภาพการณ์หรือชื่อเสียงดังกล่าว ย่อมเป็นปัจจัยที่ดึงดูดหรือเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศให้ความสนใจและตัดสินใจเดินทางไปพักผ่อนหรือท่องเที่ยว มากกว่าประเทศหรือภูมิภาคที่มีปัญหาหรือมักเกิดปัญหาทางสังคม เกิดความขัดแย้ง ความไม่สงบเรียบร้อย โดยเฉพาะความไม่ปลอดภัยในร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินของคนในสังคมและของนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ สภาพการณ์ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินของนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ และมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว ได้แก่
2.6.1 ความรู้สึกปลอดภัยของนักท่องเที่ยว มักเกิดจากการบอกกล่าวจากญาติมิตร การได้รับทราบข้อมูลข่าวสารจากสื่อสารมวลชนประเภทต่าง ๆ หรืออาจจะเกิดจากประสบการณ์ตรงที่ตนเองได้รับ หากประสบการณ์ที่มีความสุขสบาย ความมั่นคงปลอดภัยหรือความประทับใจทางบวก ก็จะจดจำฝังใจ และบอกต่อ ๆ ไปว่าสถานที่ ที่ตนเองเคยไปท่องเที่ยวมานั้นมีความมั่นคงปลอดภัย ได้รับการคุ้มครอง ดูแล เอาใจใส่ ได้รับความสุขสบายในการท่องเที่ยวมากน้อยเพียงไร
2.6.2 ปัจจัยเกี่ยวกับความปลอดภัยในร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินในสังคม เป็นเรื่องที่ทุกประเทศและทุกสังคมต่างพยายามที่จะป้องกัน ปราบปราม ควบคุม หรือแก้ไขปัญหาให้อยู่ในระดับที่น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากสังคมใดหรือประเทศใดสามารถดำเนินการด้านความปลอดภัย โดยวางแผน ควบคุม บริหารและพัฒนา เพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาปัจจัยด้านต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อนักท่องเที่ยวน้อยที่สุด ก็จะเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว สามารถส่งเสริม เชิญชวน และดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาท่องเที่ยวหรือมาเยือนได้มากขึ้น เนื่องจากธรรมชาติของนักท่องเที่ยวมีความประสงค์ที่จะแสวงหาความสุขกายสบายใจในการพักผ่อน และพยายามหลีกเลี่ยงปัญหาหรือความเดือดร้อนในระหว่างการท่องเที่ยว ดังนั้น หากพื้นที่ใด แหล่งท่องเที่ยวใด เมืองใด หรือประเทศใด มีพื้นฐานที่เป็นปัญหาสังคม หรือมักจะเกิดปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัยในร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สิน ก็จะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ประเทศหรือในภูมิภาคนั้น
3. ปัจจัยด้านการเมือง “การเมือง” เป็นเรื่องเกี่ยวกับการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองและบริหารประเทศ การต่อสู้ แข่งขันในระหว่างพรรคการเมือง กลุ่มอิทธิพล กลุ่มผลประโยชน์ หรือกลุ่มต่าง ๆ ในประเทศหรือภูมิภาค รวมทั้งรูปแบบ ระบบ และวิธีการบริหารประเทศ ตลอดจนการให้ความยอมรับของประชาชนในประเทศหรือในภูมิภาคนั้น ปัจจัยด้านการเมืองที่มีผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ (สุวรรณชัย ฤทธิรักษ์ และมานิตย์ ศุทธสกุล, 2544, หน้า 344- 345)
3.1 กลุ่มอิทธิพลที่เป็นผู้ใช้อำนาจทางการเมือง โดยปกติของการบริหารประเทศจะมีบุคคลและคณะบุคคล ซึ่งได้รับอำนาจปกครองประเทศด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การเลือกตั้งตามระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยหรือจากการปฏิวัติรัฐประหารขึ้นครองอำนาจทางการเมือง ไม่ว่าบุคคลและคณะบุคคลที่ได้รับอำนาจทางการเมือง หรือรัฐบาลจะมีวิธีการได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองโดยวิธีการใดหรือในรูปแบบใดก็ตาม ต่างล้วนมุ่งหวังที่จะเป็นผู้มีบทบาทในการใช้อำนาจทางการเมือง เพื่อทำหน้าที่บริหารประเทศตามอุดมการณ์ นโยบายและวิธีการของตนเอง และเพื่อให้บรรลุถึงความมั่นคงในอธิปไตยแห่งดินแดนของรัฐ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงในสังคม โดยคณะผู้ใช้อำนาจทางการเมืองจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและกรอบทิศทางในการบริหารประเทศ และการพัฒนาประเทศ หากคณะผู้ใช้อำนาจทางการเมืองคณะใด หรือรัฐบาลใด ประกอบด้วยบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในเรื่องเกี่ยวกับการท่องเที่ยวก็จะได้รับการกำหนดไว้เป็นนโยบายหรือแผนงานสำคัญด้านหนึ่งในการบริหารเศรษฐกิจของประเทศด้วย ในทางตรงกันข้ามหากรัฐบาลใดไม่มีความรู้ ความเข้าใจ หรือไม่เห็นความสำคัญของการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว หรือเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวทั้งหลายก็อาจไม่ได้รับการสนับสนุนมากเท่าที่ควร
3.2 สถานการณ์การเมืองในประเทศและระหว่างประเทศ เหตุการณ์ทางการเมืองที่มีผลกระทบต่อการเดินทางท่องเที่ยว ได้แก่ การปฏิวัติ รัฐประหาร การประชุมประท้วงด้วยความรุนแรง สงครามภายในประเทศ หรือระหว่างประเทศในภูมิภาค เป็นต้น ซึ่งสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในประเทศ ต่างประเทศ หรือระหว่างประเทศ ล้วนแต่จะทำให้เกิดผลกระทบในด้านความรู้สึกไม่ปลอดภัยของคนโดยทั่วไป นักท่องเที่ยวมักจะหลีกเลี่ยง หรืองดการเดินทางเข้าไปในบริเวณที่มีปัญหาทางการเมือง ทำให้กระแสการเดินทางท่องเที่ยวเกิดภาวะชะงักงัน และลดน้อยถอยลงได้
3.2.1 สถานการณ์การเมืองในประเทศ เหตุการณ์ทางการเมืองที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว ขึ้นอยู่กับสภาพของเหตุการณ์นั้นว่ามีความรุนแรงและลุกลามขยายขอบเขตมากน้อยอย่างไร หากเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องภายในของประเทศใดประเทศหนึ่ง ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเฉพาะของประเทศไทยเท่านั้น สำหรับประเทศเพื่อนบ้านอาจได้รับผลกระทบทางบวกจากกระแสการเดินทางท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไปจากประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น
3.2.2 สถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศ เหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ เช่น กรณีสงครามอ่าวเปอร์เชียที่มีหลายประเทศเข้าร่วมสงครามด้วย ผลกระทบที่มีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็จะขยายวงกว้างขวางมากขึ้น ครอบคลุมไปทั่วทุกประเทศในภูมิภาคนั้น ทำให้เกิดการชะงักงันหรืองดการเดินทางท่องเที่ยว ทั้งในส่วนที่จะเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวในประเทศหรือภูมิภาคบริเวณอ่าวเปอร์เชีย และมีผลกระทบต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยวในประเทศ หรือในกลุ่มประเทศที่อยู่ในบริเวณที่เกิดสงคราม ซึ่งจะเดินทางไปท่องเที่ยวยังต่างประเทศด้วย
3.3 นโยบายด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในการดำเนินนโยบายด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของประเทศใดก็ตาม หากรัฐบาลมีนโยบายมุ่งกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับต่างประเทศต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ย่อมเป็นการเพิ่มโอกาสให้เกิดการเดินทางไปมาหาสู่กันในระหว่างประชาชนของประเทศที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย เพราะส่วนหนึ่งของการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมักเป็นการตกลงที่จะส่งเสริมให้ประชาชนของทั้งสองประเทศเดินทางไปมาหาสู่ซึ่งกันและกันมากขึ้น โดยมีการผ่อนผันกฎ ระเบียบ หรือพิธีการเกี่ยวกับการเดินทาง เข้า-ออกผ่านดินแดนประเทศของกันและกันด้วย เช่น การเดินทางเข้า-ออก ภายใน 30 วัน ไม่ต้องขออนุญาตหรือขอวีซ่า (visa) เป็นต้น ปัจจุบันประเทศไทยได้ให้สิทธิพิเศษดังกล่าวแก่ประเทศต่าง ๆ ที่มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวสูง ประมาณ 54 ประเทศทั่วโลก เช่น ประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวก จูงใจ และเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวในประเทศต่าง ๆ ดังกล่าว เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น
การให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวในกรณีดังกล่าวข้างต้น เป็นแนวทางและเป็นปัจจัยที่มุ่งส่งเสริมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นหลัก แม้ว่าประเทศเหล่านั้นอาจจะไม่ได้ให้สิทธิตอบแทนตามหลักของความเท่าเทียมกันก็ตาม เช่น ชาวญี่ปุ่นสามารถเดินทางเข้าประเทศไทยและพำนักอยู่ได้ 30 วัน โดยไม่ต้องขอวีซ่า แต่ชาวไทยที่ต้องการเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นไม่ได้รับสิทธิยกเว้น โดยต้องขอวีซ่าและได้รับอนุญาตก่อนจึงจะเดินทางไปได้ เป็นต้น ซึ่งหากพิจารณาโดยคำนึงถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวแล้ว การที่ประเทศญี่ปุ่นมิได้ให้สิทธิตอบแทนกับชาวไทยที่จะเดินทางเข้าในประเทศญี่ปุ่น อาจเป็นปัจจัยที่เป็นอุปสรรคหรือลดจำนวนชาวไทยที่คิดจะเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากเห็นว่าต้องผ่านขั้นตอนและพิธีการตามปกติและไม่สะดวก
3.1 กลุ่มอิทธิพลที่เป็นผู้ใช้อำนาจทางการเมือง โดยปกติของการบริหารประเทศจะมีบุคคลและคณะบุคคล ซึ่งได้รับอำนาจปกครองประเทศด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การเลือกตั้งตามระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยหรือจากการปฏิวัติรัฐประหารขึ้นครองอำนาจทางการเมือง ไม่ว่าบุคคลและคณะบุคคลที่ได้รับอำนาจทางการเมือง หรือรัฐบาลจะมีวิธีการได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองโดยวิธีการใดหรือในรูปแบบใดก็ตาม ต่างล้วนมุ่งหวังที่จะเป็นผู้มีบทบาทในการใช้อำนาจทางการเมือง เพื่อทำหน้าที่บริหารประเทศตามอุดมการณ์ นโยบายและวิธีการของตนเอง และเพื่อให้บรรลุถึงความมั่นคงในอธิปไตยแห่งดินแดนของรัฐ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงในสังคม โดยคณะผู้ใช้อำนาจทางการเมืองจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและกรอบทิศทางในการบริหารประเทศ และการพัฒนาประเทศ หากคณะผู้ใช้อำนาจทางการเมืองคณะใด หรือรัฐบาลใด ประกอบด้วยบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในเรื่องเกี่ยวกับการท่องเที่ยวก็จะได้รับการกำหนดไว้เป็นนโยบายหรือแผนงานสำคัญด้านหนึ่งในการบริหารเศรษฐกิจของประเทศด้วย ในทางตรงกันข้ามหากรัฐบาลใดไม่มีความรู้ ความเข้าใจ หรือไม่เห็นความสำคัญของการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว หรือเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวทั้งหลายก็อาจไม่ได้รับการสนับสนุนมากเท่าที่ควร
3.2 สถานการณ์การเมืองในประเทศและระหว่างประเทศ เหตุการณ์ทางการเมืองที่มีผลกระทบต่อการเดินทางท่องเที่ยว ได้แก่ การปฏิวัติ รัฐประหาร การประชุมประท้วงด้วยความรุนแรง สงครามภายในประเทศ หรือระหว่างประเทศในภูมิภาค เป็นต้น ซึ่งสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในประเทศ ต่างประเทศ หรือระหว่างประเทศ ล้วนแต่จะทำให้เกิดผลกระทบในด้านความรู้สึกไม่ปลอดภัยของคนโดยทั่วไป นักท่องเที่ยวมักจะหลีกเลี่ยง หรืองดการเดินทางเข้าไปในบริเวณที่มีปัญหาทางการเมือง ทำให้กระแสการเดินทางท่องเที่ยวเกิดภาวะชะงักงัน และลดน้อยถอยลงได้
3.2.1 สถานการณ์การเมืองในประเทศ เหตุการณ์ทางการเมืองที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว ขึ้นอยู่กับสภาพของเหตุการณ์นั้นว่ามีความรุนแรงและลุกลามขยายขอบเขตมากน้อยอย่างไร หากเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องภายในของประเทศใดประเทศหนึ่ง ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเฉพาะของประเทศไทยเท่านั้น สำหรับประเทศเพื่อนบ้านอาจได้รับผลกระทบทางบวกจากกระแสการเดินทางท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไปจากประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น
3.2.2 สถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศ เหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ เช่น กรณีสงครามอ่าวเปอร์เชียที่มีหลายประเทศเข้าร่วมสงครามด้วย ผลกระทบที่มีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็จะขยายวงกว้างขวางมากขึ้น ครอบคลุมไปทั่วทุกประเทศในภูมิภาคนั้น ทำให้เกิดการชะงักงันหรืองดการเดินทางท่องเที่ยว ทั้งในส่วนที่จะเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวในประเทศหรือภูมิภาคบริเวณอ่าวเปอร์เชีย และมีผลกระทบต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยวในประเทศ หรือในกลุ่มประเทศที่อยู่ในบริเวณที่เกิดสงคราม ซึ่งจะเดินทางไปท่องเที่ยวยังต่างประเทศด้วย
3.3 นโยบายด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในการดำเนินนโยบายด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของประเทศใดก็ตาม หากรัฐบาลมีนโยบายมุ่งกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับต่างประเทศต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ย่อมเป็นการเพิ่มโอกาสให้เกิดการเดินทางไปมาหาสู่กันในระหว่างประชาชนของประเทศที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย เพราะส่วนหนึ่งของการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมักเป็นการตกลงที่จะส่งเสริมให้ประชาชนของทั้งสองประเทศเดินทางไปมาหาสู่ซึ่งกันและกันมากขึ้น โดยมีการผ่อนผันกฎ ระเบียบ หรือพิธีการเกี่ยวกับการเดินทาง เข้า-ออกผ่านดินแดนประเทศของกันและกันด้วย เช่น การเดินทางเข้า-ออก ภายใน 30 วัน ไม่ต้องขออนุญาตหรือขอวีซ่า (visa) เป็นต้น ปัจจุบันประเทศไทยได้ให้สิทธิพิเศษดังกล่าวแก่ประเทศต่าง ๆ ที่มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวสูง ประมาณ 54 ประเทศทั่วโลก เช่น ประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวก จูงใจ และเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวในประเทศต่าง ๆ ดังกล่าว เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น
การให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวในกรณีดังกล่าวข้างต้น เป็นแนวทางและเป็นปัจจัยที่มุ่งส่งเสริมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นหลัก แม้ว่าประเทศเหล่านั้นอาจจะไม่ได้ให้สิทธิตอบแทนตามหลักของความเท่าเทียมกันก็ตาม เช่น ชาวญี่ปุ่นสามารถเดินทางเข้าประเทศไทยและพำนักอยู่ได้ 30 วัน โดยไม่ต้องขอวีซ่า แต่ชาวไทยที่ต้องการเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นไม่ได้รับสิทธิยกเว้น โดยต้องขอวีซ่าและได้รับอนุญาตก่อนจึงจะเดินทางไปได้ เป็นต้น ซึ่งหากพิจารณาโดยคำนึงถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวแล้ว การที่ประเทศญี่ปุ่นมิได้ให้สิทธิตอบแทนกับชาวไทยที่จะเดินทางเข้าในประเทศญี่ปุ่น อาจเป็นปัจจัยที่เป็นอุปสรรคหรือลดจำนวนชาวไทยที่คิดจะเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากเห็นว่าต้องผ่านขั้นตอนและพิธีการตามปกติและไม่สะดวก
4. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ในการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว มีปัจจัยย่อยหรือประเด็นที่ต้องพิจารณาและวิเคราะห์ในรายละเอียด คือ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และทรัพยากรธรรมชาติของแหล่งท่องเที่ยว พื้นที่ ประเทศ หรือภูมิภาค (สุวรรณชัย ฤทธิรักษ์ และมานิตย์ ศุทธสกุล, 2544, หน้า 346-348)
4.1 ภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่ตามที่ปรากฎอยู่บนส่วนต่าง ๆ ของเปลือกโลก รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านรูปทรงและลักษณะของภูมิประเทศ ซึ่งมีสาเหตุหรือการกระทำที่เกิดขึ้นจากภายในหรือภายใต้เปลือกโลก เช่น ความร้อนใต้เปลือกโลก ทางน้ำใต้ดิน รอยปริหรือรอยแยกของชั้นหินหรือดินที่อยู่ภายใต้เปลือกโลก เป็นต้น หรือสาเหตุหรือการกระทำที่เกิดขึ้นจากภายนอกโลกหรือเหนือเปลือกโลก เช่น ความแห้งแล้ง ปริมาณน้ำฝน หิมะ ธารน้ำแข็ง ไฟป่า เป็นต้น เป็นภูมิประเทศหรือภูมิทัศน์ตามธรรมชาติ ซึ่งอาจจะมีความสวยงามน่าดูชม แปลกประหลาด น่าสนใจ หรือเป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจแก่ผู้พบเห็น เช่น ภูเขา ภูเขาไฟ เนินเขา หน้าผา หุบเขา เหว ถ้ำ น้ำตก เกาะแก่ง แม่น้ำ ทะเล ทะเลสาบ หาดทราย เป็นต้น ภูมิประเทศหรือภูมิทัศน์ในลักษณะดังกล่าว ย่อมเป็นปัจจัยที่ดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวให้ตัดสินใจเดินทางไปท่องเที่ยว และนับเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบในเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว นอกจากนี้ ในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว องค์กรภาครัฐ หน่วยงาน ผู้รับผิดชอบหรือผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องยังอาจอาศัยวิธีการออกแบบ ตกแต่ง เพิ่มเติม หรือปรับภูมิประเทศและภูมิทัศน์ตามธรรมชาติที่มีอยู่ เพื่อเสริมสร้างหรือพัฒนาให้เป็นภูมิประเทศหรือภูมิทัศน์ให้สวยงาม น่าสนใจ และสามารถช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากยิ่งขึ้น
4.2 ภูมิอากาศ โดยปกติสภาพภูมิอากาศของแต่ละพื้นที่ แต่ละประเทศ หรือแต่ละภูมิภาคย่อมผันแปรไปตามฤดูกาล ภูมิอากาศเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่มีผลต่อรูปแบบของการท่องเที่ยว และการตัดสินใจเลือกที่จะเดินทางท่องเที่ยว ลักษณะของภูมิอากาศที่เหมาะสมและดึงดูดใจนักท่องเที่ยว ได้แก่ สภาพภูมิอากาศที่ไม่อบอุ่น ไม่ร้อนจัดและไม่หนาวจัด แสงแดดไม่จัดจนเกินไป และไม่มีฝนตกหรือตกชุกจนเกินไป และไม่มีฝนตกหนักหรือตกชุกจนเกินไป มีลมพัดปานกลางช่วยให้รู้สึกเย็นสบายหรือมีการถ่ายเทอากาศที่ดี แหล่งท่องเที่ยวหรือพื้นที่ท่องเที่ยวแต่ละแห่งจะมีสภาพภูมิอากาศแตกต่างไปตามฤดูกาล และทำให้สภาพตามธรรมชาติและความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยว พื้นที่ และภูมิทัศน์ที่แตกต่างกันไปด้วย เช่น ความแตกต่างของสภาพภูมิอากาศและภูมิทัศน์ ที่ภูกระดึงในฤดูร้อนกับฤดูหนาว และที่น้ำตกไทรโยคในฤดูแล้งกับฤดูฝน เป็นต้น โดยทั่วไปนักท่องเที่ยวมักเลือกเดินทางท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อน หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามทะเลและชายหาดฤดูร้อน ท่องเที่ยวตามแหล่งน้ำตกในฤดูฝนที่มีน้ำหลากและท่องเที่ยวตามภูเขาหรือภูต่าง ๆ ในช่วงฤดูหนาวที่อากาศค่อนข้างเย็นสบายไม่หนาวจัดจนเกินไป
ปัจจัยเกี่ยวกับภูมิอากาศนับเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะกรณีที่มีการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว หากมีการศึกษาเกี่ยวกับภูมิอากาศของแหล่งท่องเที่ยวหรือพื้นที่ต่าง ๆ ในแต่ละฤดูกาลหรือแต่ละช่วงเวลา และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรายละเอียดของภูมิอากาศในแต่ละช่วงเวลา การเตรียมตัวของนักท่องเที่ยว การบริการในการท่องเที่ยว และกิจกรรมที่จัดขึ้นสำหรับนักท่องเที่ยวย่อมช่วยให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจเลือกที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวได้มากขึ้น
4.3 ทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจัยเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาตินอกเหนือจาก ภูมิประเทศ เช่น ภูเขา ถ้ำ น้ำตก แม่น้ำ ลำธาร ทะเล เกาะแก่ง ฯลฯ ซึ่งเป็นธรรมชาติของแต่ละพื้นที่ ประเทศ หรือภูมิภาคแล้ว ยังมี ป่า ดิน น้ำ ต้นไม้ ดอกไม้ หรือพืชตามธรรมชาติ สัตว์ป่า นก ปลา ปะการัง และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว พื้นที่ประเทศ หรือภูมิภาคที่มีทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ดังกล่าวย่อมเป็นที่สนใจและดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจเลือกเดินทางไปพักผ่อนท่องเที่ยว และเป็นปัจจัยที่ใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของพื้นที่หรือประเทศด้วย เช่น การไปเที่ยวชมสัตว์ป่าในทวีปแอฟริกา น้ำพุร้อนในเกาะไอซ์แลนด์และนิวซีแลนด์ ทุ่งบัวตองที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปะการังใต้น้ำที่หมู่เกาะพีพีและหมู่เกาะสิมิลันในประเทศไทย เป็นต้น
การดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะประเทศที่มีหรือเน้นแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ จึงจำเป็นต้องถึงการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของประเทศหรือในภูมิภาค มีการศึกษา วางแผน เตรียมการ และการดำเนินการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ การป้องกันและแก้ไขปัญหา รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ก็จะต้องพิจารณาและดำเนินการโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด หรือเป็นผลกระทบที่อยู่ในเงื่อนไขที่สามารถควบคุมหรือแก้ไขปัญหาได้
แหล่งท่องเที่ยวใดหรือประเทศใดที่มีระบบและวิธีการอนุรักษ์ ป้องกัน แก้ไขปัญหา หรือมีมาตรการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว หรือเป็นที่ประทับใจ และทำให้นักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางกลับไปท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมเยียน พักผ่อน และชื่นชมความสวยงามของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศนั้นย่อมเจริญเติบโตขยายตัวมากยิ่งขึ้น แต่ในทางตรงข้าม ในภูมิภาค ประเทศ หรือแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่มีการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมที่เป็นระบบ หรือมีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมรุนแรง เช่น ปล่อยปละละเลยให้มีการทำลายสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติ เกิดภาวะอากาศเป็นพิษ มีปัญหาน้ำเน่าเสียหรือปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมด้านต่าง ๆ ถึงขั้นที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ ก็มักจะได้รับการต่อต้านจากองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือประชาคมโลก และทำให้นักท่องเที่ยวหลีกเลี่ยงหรือไม่เดินทางไปท่องเที่ยวยังภูมิภาค ประเทศ พื้นที่ หรือแหล่งท่องเที่ยวนั้น ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในภาพรวม
5. ปัจจัยด้านแหล่งท่องเที่ยว (tourist attraction) เป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องการพบเห็น เพื่อพักผ่อน ชื่นชมความสวยงาม หรือศึกษาหาความรู้ ในการวิเคราะห์ปัจจัยเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว สามารถแบ่งพิจารณาเกี่ยวกับประเภทของแหล่งท่องเที่ยวเป็น 2 ประเภท คือ (สุวรรณชัย ฤทธิรักษ์ และมานิตย์ ศุทธสกุล, 2544, หน้า 354)
ประการแรก ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวที่ธรรมชาติได้สร้างสรรค์ไว้ เช่น ถ้ำ ภูเขา น้ำตก หาดทราย ชายทะเล เกาะแก่ง แม่น้ำ ลำคลอง สถานที่ชมวิวทิวทัศน์ต่าง ๆ เป็นต้น
ประการที่สอง ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่น ปราสาท พระราชวัง พระที่นั่งวัดวาอาราม โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ สวนสนุก การเล่นหรือการจัดให้มีการแข่งขันกีฬา รวมทั้งวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เทศกาลงานบุญ เทศกาลหรือกิจกรรมพิเศษลักษณะต่าง ๆ หรือวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมหรือในพื้นที่ เป็นต้น
ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวของพื้นที่ ประเทศ หรือภูมิภาค เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงบวกในอันที่จะเชิญชวน สร้างความน่าสนใจ หรือดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจเลือกเดินทางไปท่องเที่ยวได้มากหรือน้อย ในพื้นที่ ประเทศ หรือภูมิภาคที่มีแหล่งท่องเที่ยวประเภทต่าง ๆ ที่หลากหลาย มีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก หรือมีแหล่งท่องเที่ยวที่เด่น สำคัญ น่าสนใจ น่าประทับใจ แปลกใหม่ เป็นสิ่งตื่นตาตื่นใจ สามารถเชิญชวน จูงใจ หรือดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางไปท่องเที่ยว และช่วยให้การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในพื้นที่ ประเทศ หรือภูมิภาคนั้น ๆ ง่ายขึ้น และมีประสิทธิภาพมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ ประเทศ หรือภูมิภาคที่มีปัจจัยเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวที่มีปริมาณและคุณภาพที่ด้อยกว่า ซึ่งจำเป็นต้องเร่งรัดการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งทำได้ยากใช้เวลานานและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากด้วย
6. ปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจุบันวิทยาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้รับการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าและมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ทำให้มีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารได้ทั่วทุกมุมโลก ประชาชนในประเทศหรือสังคมต่าง ๆ ทั่วโลก หรือนักท่องเที่ยวสามารถค้นคว้าหาข้อมูลข่าวสาร ติดต่อ หรือตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการท่องเที่ยวหรือการเดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่ ประเทศ หรือภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะเลือกเดินทางไปท่องเที่ยวในที่แห่งใดได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น ดังนั้น หากแหล่งท่องเที่ยวหรือประเทศใดก้าวทันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และนำเข้ามาใช้ในการจัดการบริการข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว การบริการท่องเที่ยวทั้งสภาพของดินฟ้าอากาศ อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา ฯลฯ ซึ่งครอบคลุมครบถ้วนและพร้อมที่จะให้บริการแก่ นักท่องเที่ยวได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ ช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อสื่อสาร ค้นคว้า หาข้อมูล และสามารถเข้าถึงระบบสารสนเทศเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเพื่อใช้ประกอบ การตัดสินใจเลือกเดินทางไปท่องเที่ยว หรือเลือกใช้บริการด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เช่น การบริการสารสนเทศ การบริการด้านต่าง ๆ ทางอินเทอร์เน็ต และระบบการซื้อขายอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เป็นต้น แหล่งท่องเที่ยวหรือประเทศดังกล่าวนั้น ย่อมมีโอกาสเข้าถึงลูกค้าได้รับการติดต่อจากลูกค้าอย่างรวดเร็ว รวมทั้งมีนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศสนใจและเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ทำให้แหล่งท่องเที่ยว พื้นที่ และประเทศนั้น ๆ เจริญเติบโต ขยายตัว และเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
ปัจจัยด้านเทคโนโลยีระบบสารสนเทศและสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศ โดยเฉพาะเกี่ยวกับการท่องเที่ยว นับเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบในเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งช่วยเสริมสร้างศักยภาพและประสิทธิภาพในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศให้สามารถแข่งขันในตลาดท่องเที่ยวโลกได้ (สุวรรณชัย ฤทธิรักษ์ และมานิตย์ ศุทธสกุล, 2544, หน้า 356)
ปัจจัยด้านเทคโนโลยีระบบสารสนเทศและสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศ โดยเฉพาะเกี่ยวกับการท่องเที่ยว นับเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบในเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งช่วยเสริมสร้างศักยภาพและประสิทธิภาพในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศให้สามารถแข่งขันในตลาดท่องเที่ยวโลกได้ (สุวรรณชัย ฤทธิรักษ์ และมานิตย์ ศุทธสกุล, 2544, หน้า 356)
7. ปัจจัยด้านการบริการท่องเที่ยว การบริการท่องเที่ยว (tourist services) เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่เป็นสะพานเชื่อมโยงให้ตัวนักท่องเที่ยวได้ไปพบและสัมผัสกับแหล่งท่องเที่ยวตามที่ปรารถนา ทั้งนี้ ปัจจัยย่อยต่าง ๆ เกี่ยวกับการบริการท่องเที่ยว ซึ่งมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว มีดังนี้ (สุวรรณชัย ฤทธิรักษ์ และมานิตย์ ศุทธสกุล, 2544, หน้า 350-353)
7.1 การบริการข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยว เป็นการให้บริการอำนวยความสะดวก เพื่อนำเสนอให้ทราบเกี่ยวกับปัจจัยดึงดูดทางการท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น ถ้ำ ภูเขา ป่าไม้ น้ำตก เกาะแก่ง หาดทราย ชายทะเล และแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น เช่น แหล่งประวัติศาสตร์ โบราณสถาน กิจกรรมงานเทศกาล ขนบธรรมเนียมประเพณี กีฬา สวนสัตว์ สวนสนุก วัฒนธรรม ประเพณี หรือวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เพื่อสร้างความสนใจหรือความต้องการทางการท่องเที่ยว รวมถึงการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ กฎ ระเบียบ พิธีการเข้า-ออกประเทศ สภาพดินฟ้า อากาศ หน่วยเงินตรา ระบบกระแสไฟฟ้า การนับถือศาสนาของประชาชน ข้อควรปฏิบัติและข้อห้ามที่สำคัญสำหรับนักท่องเที่ยว เพื่อให้ผู้ที่สนใจที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวได้รับทราบและเตรียมความพร้อมได้อย่างสะดวก
การจัดให้มีการให้บริการข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นเพียงไร ก็ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อการกระต้นให้มีการเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น หรือกระจายไปยังแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นเพียงนั้น ในทางตรงกันข้าม หากการให้บริการข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวมีน้อย หรือมระบบบริการที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยว พื้นที่ หรืออุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไม่สะดวก มีปัญหา หรืออุปสรรค ย่อมทำให้เกิดปัญหาหรืออุปสรรคในการ-ส่งเสริมหรือพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ทำให้การท่องเที่ยวไม่สามารถขยายตัวหรือพัฒนาไปได้มากเท่าที่ควร
7.2 การบริการคมนาคมขนส่ง เมื่อนักท่องเที่ยวได้รับริการข้อมูลข่าวสารจนมีการตัดสินใจที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวแล้ว ก็จะต้องพิจารณาเลือกว่าจะเดินทางไปวิธีใด ใช้ยานพาหนะอะไร การบริการเกี่ยวกับการคมนาคมขนส่งจึงเป็นปัจจัยที่รองรับนำนักท่องเที่ยวให้ไปสัมผัสกับแหล่งท่องเที่ยว (tourist attraction) โดยวิธีการเดินทางที่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นคมนาคมขนส่งทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ กรณีดังกล่าว นับเป็นเอกลักษณ์พิเศษของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ผู้บริโภคหรือนักท่องเที่ยวจำเป็นต้องเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยว ณ ถิ่นที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ และไม่สามารถสั่งหรือสั่งซื้อแหล่งท่องเที่ยวหรือการท่องเที่ยวไปบริโภค ณ ถิ่นที่อยู่ของตนเองได้ เหมือนกับสินค้าหรือบริการประเภทอื่น ดังนั้น หากแหล่งท่องเที่ยวใด เมืองใด หรือประเทศใด จัดให้มีการคมนาคมขนส่งที่อำนวยความสะดวกให้เข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวหรือพื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก และมีประสิทธิภาพ ย่อมมีโอกาสเพิ่มกระแสการเดินทางท่องเที่ยวหรือพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยว พื้นที่ ประเทศ หรือภูมิภาคนั้นได้มากกว่าแหล่งท่องเที่ยวหรือในประเทศที่มีการคมนาคมขนส่งไม่สะดวก
7.3 การบริการนำเที่ยว เป็นการพัฒนาให้บริการอำนวความสะดวกเพิ่มอีกระดับหนึ่ง ต่อจากการให้บริการ ข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวและการบริการคมนาคมขนส่ง ซึ่งเป็นธรรมชาติที่มนุษย์ต้องการความสะดวกเพิ่มขึ้น จึงมีธุรกิจการจัดนำเที่ยวเกิดขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวเลือกใช้บริการได้ตามอัธยาศัย จะจัดการเดินทางท่องเที่ยวเอง หรือเลือกใช้บริการนำเที่ยวสำเร็จรูปที่ได้เตรียมการไว้แล้วการดำเนินการธุรกิจนำเที่ยว เป็นกระแสการที่เสาะแสวงหาแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจและจัดทำเป็นรายการนำเที่ยว (package tour) เพื่อนำไปเสนอขายแก่นักท่องเที่ยว หรือจัดเตรียมไว้ในรูปของข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว การเดินทางเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว บริการสถานที่พักแรม บริการภัตตาคาร ร้านอาหาร ตลอดจนสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวของแต่ละเส้นทาง เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้ามาใช้บริการและสามารถจัดกำหนด การเดินทางท่องเที่ยวได้ตามความต้องการของตนเอง
ดังนั้น หากกระตุ้น เชิญชวนให้บรรดาบริษัทนำเที่ยวสนใจที่จะเสนอขายการท่องเที่ยวไป ณ แหล่งท่องเที่ยวใด โอกาสที่การท่องเที่ยวนั้นจะเติบโต ขยายตัวก็มีเพิ่มมากขึ้น ในทางตรงกันข้ามหากบริษัทนำเที่ยวไม่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเข้าไปในแหล่งท่องเที่ยวใด การท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวนั้นก็คงจะไม่ขยายตัวเท่าที่ควร
7.4 การบริการมัคคุเทศก์ เป็นปัจจัยให้บริการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวทำหน้าที่ให้บริการต้อนรับ ชี้แจงข้อมูลข่าวสาร ติดตามดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของนักท่องเที่ยวระหว่างการให้บริการนำเที่ยว ซึ่งนับได้ว่ามัคคุเทศก์เปรียบเสมือนเป็นทูตทางวัฒนธรรมที่จะบอกเรื่องราวต่าง ๆ แก่นักท่องเที่ยว เป็นบุคคลแรกที่ต้อนรับแขกหรือนักท่องเที่ยวเข้าสู่ประเทศ และเป็นคนสุดท้ายที่คอยส่งแขกหรือนักท่องเที่ยวกลับออกนอกประเทศ การบริการมัคคุเทศก์ส่วนใหญ่ประเทศต่าง ๆ จะสงวนไว้เป็นอาชีพของประชาชนที่ถือสัญชาติของประเทศนั้น ๆ เช่น ประเทศไทยก็สงวนไว้เป็นอาชีพของคนที่ถือสัญชาติไทยเท่านั้น ทั้งนี้อาจจะเนื่องมาจากความเชื่อที่ว่าคนของแต่ละชาติน่าจะบอกเล่าเรื่องราว หรือแสดงทัศนคติ พฤติกรรมทางขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของชาติตนเองได้เหมาะสมกว่าที่จะให้คนชาติอื่นมาทำหน้าที่แทน
การที่จะเป็นมัคคุเทศก์ได้ ก็ต้องมีกระบวนการ การกลั่นกรองตามมาตรฐานที่กำหนดไว้เป็นเอกสิทธิ์ของแต่ละประเทศ ซึ่งในส่วนของประเทศไทยมีพระราชบัญญัติ ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ กำหนดให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เป็นหน่วยงานที่ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยจัดให้มีขั้นตอนการดำเนินงาน คือ ในขั้นต้น ททท. ได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมมัคคุเทศก์ อาชีพคณาจารย์จากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณาการกำหนดหลักสูตรมาตรฐานมัคคุเทศก์ และมอบหมายให้สถาบันการศึกษานำไปใช้อบรมแก่ผู้สนใจที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น เพราะมีกฎหมายฉบับหนึ่งว่าด้วยการสงวนอาชีพไว้ให้แก่ประชาชนชาวไทย ห้ามชาวต่างชาติประกอบอาชีพเป็นมัคคุเทศก์ในประเทศเมื่อผ่านการอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์แล้วประสงค์จะเป็นมัคคุเทศก์ จะต้องนำหลักฐานที่สำเร็จการอบรมไปยื่นขออนุญาตต่อสำนักงานธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ที่ ททท. กำหนดไว้ เมื่อสำนักงานทะเบียนฯ ตรวจสอบคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนดไว้แล้ว ก็จะออกบัตรอนุญาตให้เป็นมัคคุเทศก์ จึงไปประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ได้ ตามปกติการบริการมัคคุเทศก์จะดำเนินการควบคู่กับการบริการนำเที่ยวของบริษัทนำเที่ยว หากแหล่งท่องเที่ยวใดมีการบริการมัคคุเทศก์ได้หลายภาษา และสามารถให้บริการได้อย่างมีคุณภาพในระดับมาตรฐานสากลก็จะเป็นผลดีที่ทำให้เกิดความประทับใจ และเป็นโอกาสที่บริษัทนำเที่ยวจากต่างประเทศจะส่งนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวได้เพิ่มมากขึ้น หากแหล่งท่องเที่ยวใดหรือประเทศใดมีข้อจำกัด ให้บริการมัคคุเทศก์ได้ไม่สะดวก เช่น ท่องเที่ยวได้เพิ่มมากขึ้น หากแหล่งท่องเที่ยวใดหรือประเทศใดมีข้อจำกัด ให้บริการมัคคุเทศก์ได้ไม่สะดวก เช่น มีจำนวนน้อย คุณภาพไม่ดี ก็อาจเป็นข้อจำกัดส่งผลกระทบทำให้การท่องเที่ยวไม่ขยายตัวเท่าที่ควร
7.5 การบริการที่พักแรม เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวขยายตัวมากน้อยอย่างไร กล่าวคือ หากในแหล่งท่องเที่ยวใดมีสถานที่พักแรมเพียงพอ ให้บริการได้มาตรฐานเป็นที่ประทับใจของนักท่องเที่ยวที่มาเยือน ก็มีโอกาส ทำให้การท่องเที่ยวในแหล่งนั้นขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ หากในแหล่งท่องเที่ยวนั้นขาดสถานที่พักแรมรองรับ หรือมีแต่ให้บริการได้ไม่เป็นที่ประทับใจ ก็พลาดโอกาสที่จะได้ผลประโยชน์จากการพักแรมของนักท่องเที่ยวไปอย่างน่าเสียดาย หรืออาจจะพลาดโอกาสที่จะต้อนรับการมาเยือนของนักท่องเที่ยวได้ เพราะที่พักไม่เพียงพอให้บริการ บริษัทนำเที่ยวก็เลยจัดไปท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวที่มีความพร้อมมากกว่าแทน เป็นต้น
การจัดการที่พักแรม แบ่งได้ 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ในส่วนแรกเป็นการกำกับดูแลของภาครัฐโดยกระทรวงมหาดไทย ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2478 ทำหน้าที่ในการอนุญาตให้ดำเนินการและกำกับดูแลตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ในส่วนที่สองเป็นการดำเนินการของภาคเอกชนที่ขออนุญาตดำเนินธุรกิจสถานที่พักแรม ในปี พ.ศ. 2543 มีจำนวนห้องพักแรมทั่วประเทศประมาณ 280,000 ห้อง ซึ่งผู้ประกอบการได้จัดให้มีอัตราค่าบริการหลายระดับตามความต้องการของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะในระดับมาตรฐานสากลก็สามารถบริการจนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงแรมชั้นหนึ่งของโลก หลายปีติดต่อกัน
7.6 การบริการอาหาร อาหารกินเป็นปัจจัยสำคัญที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งตามปกติจะมีการบริโภคอาหารอย่างน้อย 3 มื้อต่อวัน จึงเป็นสิ่งที่ต้องกำหนดไว้เป็นส่วนหนึ่งของการบริการนำเที่ยวว่าจำนวนนักท่องเที่ยวไปรับประทานอาหารกลางวัน อาหารเย็นที่ไหน อย่างไร ในด้านการพัฒนาและส่งเสริมการบริการภัตตาคาร อยู่ในการดำเนินการร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัด เทศบาล และภาคเอกชน ที่จะประกอบธุรกิจภัตตาคาร ร้านอาหาร ซึ่งได้มีการพัฒนาคุณภาพการประกอบ ปรุงอาหาร ภาชนะใส่อาหาร บุคลากรในภัตตาคาร ร้านอาหาร โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดให้มีโครงการ “Clean food good taste” ขึ้นมารับรองการพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการ ภัตตาคาร ร้านอาหารใด ที่พัฒนาได้มาตรฐานตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ก็จะได้รับเครื่องหมาย Clean food good taste ติดประจำร้าน เชิญชวนให้ผู้บริโภคเลือกใช้บริการต่อไป
ในปัจจุบันทุกฝ่ายได้พยายามเผยแพร่ประชาสัมพันธ์อาหารไทยให้เป็น ที่รู้จักแพร่หลายในสังคมโลกมากยิ่งขึ้น ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้สำรวจสถิติร่วมกับกรมส่งเสริมการส่งออกประมาณได้ว่า มีร้านอาหารไทยเปิดให้บริการอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกไม่น้อยกว่า 5,000 แห่ง
สำหรับในประเทศไทยสามารถกล่าวได้ว่า มีความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องอาหาร การกิน ทั้งอาหารไทยและอาหารต่างประเทศ ตลอดจนผลไม้ที่มีมากมายทุกฤดูกาลตลอดทั้งปี สามารถรองรับการเดินทางมาเยือนของนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี แต่ทุกฝ่ายก็ตระหนักและให้ความสำคัญกับคุณภาพของอาหารอยู่เสมอ เพราะหากนักท่องเที่ยวประสบปัญหาความเดือดร้อนจากการบริโภคอาหาร เช่น โรคท้องเสีย ท้องร่วง ก็จะเป็นผลเสียต่อการท่องเที่ยวได้ ดังนั้น จึงอนุมานได้ว่า แหล่งท่องเที่ยวใดที่ยังไม่มีความพร้อมในเรื่องอาหารการกิน ก็จะส่งเสริมการท่องเที่ยวได้จำกัด หากแหล่งท่องเที่ยวใดมีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์หลากหลาย สามารถให้บริการนักท่องเที่ยวได้หลายชาติ หลายภาษา ก็จะเป็นประโยชน์ในการเชิญชวน ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
7.7 การบริการจำหน่ายสินค้าและของที่ระลึก เป็นบริการเสริมที่ทำให้การเดินทางท่องเที่ยวมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น กล่าวคือ นอกจากการพักผ่อนหย่อนใจ เที่ยวชมความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยวแล้ว ยังได้จับจ่ายใช้สอย ซื้อของใช้ ของฝาก ให้แก่เพื่อนฝูง ญาติมิตร อีกด้วย หรือในอีกแง่มุมหนึ่ง สามารถที่จะนำเอาธุรกิจจำหน่ายสินค้าและของที่ระลึกมาเป็นปัจจัยดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวที่นิยมการซื้อสินค้า (shopping) ได้ การสร้างสรรค์สิ่งดึงดูดความสนใจทำได้หลายรูปแบบ เช่น การเปิดบริการธุรกิจร้านอาหารปลอดอากร (duty free shop) การจัดกิจกรรม ลด แลก แจก แถม เป็นต้น
การดำเนินธุรกิจด้านการบริการจำหน่ายสินค้าและของที่ระลึก หากทุกฝ่ายร่วมมือกันพัฒนาและส่งเสริมด้วยการนำเสนอขายสินค้าดี มีคุณภาพ ราคายุติธรรม สมเหตุสมผล ก็จะเป็นผลดีช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้น เป็นประโยชน์ต่อการสร้างรายได้เข้าประเทศ สร้างงาน สร้างอาชีพแก่กลุ่มผู้ผลิตสินค้าประเภทต่าง ๆ ภายในประเทศได้เป็นอย่างดี แต่หากสร้างปัญหาความเดือดร้อนแก่นักท่องเที่ยว เช่น การเสนอขายสินค้าคุณภาพต่ำราคาสูง หลอกลวงเอารัดเอาเปรียบ ขายของปลอม นอกจากจะเป็นผลเสียต่อธุรกิจนี้แล้วยังเป็นผลเสียต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว ตลอดจนภาพลักษณ์และชื่อเสียงของประเทศด้วย
7.8 การบริการบันเทิง เป็นปัจจัยเสริมให้นักท่องเที่ยวได้พักผ่อนหย่อนใจ และมีความสนุกสนานมากขึ้น เช่น การบริการบาร์ ไนท์คลับ กิจกรรมการแสดงทางวัฒนธรรม เป็นต้น กิจกรรมดังกล่าวหากให้บริการด้วยคุณภาพไม่เอารัดเอาเปรียบ เช่น การจัดกิจกรรมที่อ้างว่าเป็นการแสดงวัฒนธรรมแต่ไม่สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมที่แท้จริง โดยขาดการศึกษาข้อมูลที่แท้จริงเป็นพื้นฐานหรือการโก่งราคาค่าบริการ เป็นต้น ย่อมสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยว ทำให้มีรายได้เข้าประเทศเพิ่มมากขึ้น ในทางตรงกันข้ามบริการที่จัดขาดคุณภาพหรือเอารัดเอาเปรียบ ทำให้เกิดปัญหาความเดือดร้อนแก่นักท่องเที่ยวก็จะเป็นผลกระทบทางลบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ปัจจัยด้านการบริการท่องเที่ยว (tourist services) ที่กล่าวมา เป็นสิ่งให้บริการอำนวยความสะดวก ทำหน้าที่เสมือนสะพานเชื่อมโยงให้นักท่องเที่ยวได้ไปสัมผัสกับแหล่งท่องเที่ยว (tourism attraction) ที่ประสงค์จะไปพบเห็น หากปัจจัยดังกล่าวสามารถให้บริการได้ดีเป็นที่ประทับใจของนักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นการบริการข้อมูลข่าวสารทางการท่องเที่ยว การบริการคมนาคมขนส่ง การบริการนำเที่ยว การบริการมัคคุเทศก์ การบริการภัตตาคาร ร้านอาหาร การบริการสถานที่พักแรม การบริการสินค้าของที่ระลึก และการบริการสถานบันเทิง ซึ่งล้วนแต่ให้ความชื่นชมแก่นักท่องเที่ยวและเมื่อได้พบเห็นแหล่งท่องเที่ยวก็สวยงามถูกใจอีกก็จะทำให้นักท่องเที่ยวมีความทรงจำที่ดี พร้อมถ่ายทอดบอกกล่าวเล่าขาน ในสิ่งที่ดีงามต่อ ๆ กันไป ทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเจริญเติบโต ขยายตัวอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น แต่ในทางตรงกันข้าม หากนักท่องเที่ยวประสบปัญหาความเดือดร้อนจากการใช้บริการท่องเที่ยวประการใดประการหนึ่ง หรือหลาย ๆ ประการ ประกอบกับเมื่อได้สัมผัสกับแหล่งท่องเที่ยวก็ไม่สวยงามตามคาดหวัง นักท่องเที่ยวก็จะมีความทรงจำที่ไม่ดี และคงจะบอกกล่าวเล่าขานต่อ ๆ กัน ไปในทางที่ไม่ดี อันจะเป็นผลทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเสื่อมถ้อยลงได้
Credit : กรณ์กวินท์ จิรไชยกาญจน์. (2553). ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปตะวันตกต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุวรรณชัย ฤทธิรักษ์ และมานิตย์ ศุทธสกุล. (2544). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (หน่วยที่ 6). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น