8.เศรษฐกิจการท่องเที่ยวในโลก ศึกษาเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในภูมิภาคต่าง ๆ ส่วนแบ่งตลาดการท่องเที่ยวในยุโรป เอเชีย อเมริกา แอฟริกา ออสเตรเลียและโอเชียเนีย
สรุปสถานการณ์ท่องเที่ยวปี 2553
Published on Thursday, 05 May 2011 09:53
Written by สิรินาถ นุชัยเหล็ก
Hits: 5883
สรุปภาพรวมการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศปี 2553
จากรายงานข้อมูลขององค์การการท่องเที่ยวโลก UNWTO World Tourism Barometer ณ เดือนเมษายน 2554 สรุปว่า สถานการณ์การเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ในปี 2553 มีการฟื้นตัวอย่างเข้มแข็ง แม้ว่าจะมีความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจคงอยู่ในบางตลาด พร้อมกับการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ และปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองและสังคมในบางประเทศ โดยมีนักท่องเที่ยวเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศ จำนวน ทั้งสิ้น 940 ล้านคน อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.6 เป็นอัตราการเติบโตที่กลับมาขยายตัว หลังจากที่จำนวนการเดินทางนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศได้หดตัวลงในปี 2552 ในอัตราร้อยละ 3.8 จากการได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรงที่สุด ดังนั้น
ในปี 2553 ประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางทั่วโลกจึงมีจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศปรับเพิ่มขึ้นมากจนสามารถชดเชยความสูญเสียที่เพิ่งผ่านพ้น อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของประเทศต่างๆ ก็มีความเร็วแตกต่างกัน โดยเริ่มต้นฟื้นตัวจากการขับเคลื่อนของประเทศเขตเศรษฐกิจเกิดใหม่ ทั้งนี้ สามารถจำแนกตามรายภูมิภาคได้ดังต่อไปนี้
♣ เอเชีย มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13 หรือมีจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ 204 ล้านคน โดยเป็นภูมิภาคแรกที่มีการฟื้นตัว และเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งที่สุด
♣ แอฟริกา มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7 หรือมีจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ 49 ล้านคน โดยเป็นภูมิภาคเดียวที่มีการเติบโตเป็นบวกต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากแรงขับเคลื่อนทางด้านเศรษฐกิจ และการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาฟุตบอลโลก World FIFA Cup 2010 ที่ประเทศแอฟริกาใต้
♣ ตะวันออกกลาง มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 14 หรือมีจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ 60 ล้านคน โดยเกือบทุกประเทศกลับมาขยายตัวในอัตราสูงกว่าร้อยละ 10
♣ ยุโรป มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 หรือมีจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ 477 ล้านคน ซึ่งฟื้นตัวได้ช้ากว่าภูมิภาคอื่น ๆ เนื่องจากการจราจรทางอากาศได้หยุดชะงักไป จากการเกิดเหตุภูเขาไฟ ระเบิด และความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจของภูมิภาคยุโรป ทำให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงมาก
♣ อเมริกา มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7 หรือมีจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ 150 ล้านคน นับเป็นการฟื้นตัวจากปี 2552 ที่ประสบความยุ่งยากทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในแถบอเมริกาเหนือ และผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ (H1N1) ดังนั้น ในปี 2553 จึงเป็นการกลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง จากปัจจัยทางเศรษฐกิจ ทั้งการกลับมาขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศสหรัฐฯ และการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของประเทศในกลุ่มลาตินอเมริกา ขณะที่ ประเทศในกลุ่มอเมริกากลางและอเมริกาใต้ สามารถฟื้นตัวได้ในระดับดี
สำหรับ ประเทศไทย อัตราการขยายตัวทางด้านจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ เติบโตร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แม้จะประสบวิกฤติทางการเมืองในช่วงเดือนเมษายน –พฤษภาคม โดยเป็นการเติบโตไปในลักษณะเดียวกับภาพรวมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีอัตราการขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 เช่นกัน
สรุปสถานการณ์นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทยปี 2553
ภาพรวมสถานการณ์ตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์นักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทยรายถิ่นพำนัก ปี 2553 มีจำนวนทั้งสิ้น 15.93 ล้านคน อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.63 ซึ่งเป็นการกลับมาเติบโตได้ดีอีกครั้งหลังสิ้นเหตุการณ์วิกฤติการเมืองไทย
จากปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของตลาดต่างประเทศ ดังต่อไปนี้
1. ศักยภาพอันแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ทำให้สามารถฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติได้อย่างรวดเร็วเมื่อสิ้นเหตุการณ์วิกฤติ
2. การฟื้นตัวของภาพรวมเศรษฐกิจโลก แม้ว่า ภาวะเศรษฐกิจในบางภูมิภาคจะมีการฟื้นตัวเป็นไปอย่างเชื่องช้าและค่อนข้างเปราะบาง
3. การดำเนินงานฟื้นฟูตลาด อาทิ การจัด Road Show ในพื้นที่ตลาดเพื่อเร่งสร้างความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวให้กลับคืนมาโดยเร็ว การดำเนินการตลาดแบบ Hard Sale การส่งเสริมการตลาดร่วมกับสายการบินและบริษัทนำเที่ยวในลักษณะ Hand in Hand Partnership รวมทั้ง มาตรการขยายเวลายกเว้นค่าธรรมเนียมในการตรวจลงตราเข้าประเทศไทย และการลดหย่อนค่าธรรมเนียมในการ Parking and Landing สำหรับเที่ยวบินเช่าเหมาลำ เป็นต้น
ขณะที่ต้องเผชิญกับปัจจัยที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเดินทางท่องเที่ยว ดังต่อไปนี้
1. การแข็งค่าของเงินบาท เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินสกุลหลักอื่น ทั้งดอลลาร์สหรัฐ ยูโร และปอนด์ สเตอริง โดยค่าเงินสกุลบาทที่แข็งค่าเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย ยกเว้น ค่าเงินสกุลด่องของประเทศเวียดนามที่มีการอ่อนค่าลงเช่นเดียวกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ
2. เหตุการณ์ความไม่สงบภายในประเทศไทย ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการเดินทางเข้าประเทศ
3. วิกฤติภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั้งในตลาดต่างประเทศ และในประเทศไทย เช่น ภูเขาไฟใต้น้ำระเบิดที่ประเทศไอซ์แลนด์ อุทกภัยครั้งใหญ่ในประเทศปากีสถาน ปัญหาหมอกควันปกคลุมทั่วกรุงมอสโก เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งแรกอย่างรุนแรงช่วงเดือนธันวาคม ที่เมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ หรือแม้กระทั่งการเกิดเหตุอุทกภัยหลายพื้นที่ของประเทศไทย ในช่วงปลายปี 2553
ความเคลื่อนไหวสถานการณ์ตลาดต่างประเทศจำแนกรายไตรมาสปี 2553
สถานการณ์ท่องเที่ยว ในช่วงไตรมาส 1 :
มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทย ทั้งสิ้น 4.65 ล้านคน อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 27.83 โดยเป็นการฟื้นตัวเข้าสู่แนวโน้มปกติ และต่อยอดจากปี 2551 จากปัจจัยสนับสนุนหลักทางด้านภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังฟื้นตัว และไม่เกิดเหตุความวุ่นวายภายในประเทศ ประกอบกับแรงส่งของการส่งเสริมการท่องเที่ยว พร้อมทั้ง มาตรการสนับสนุนของรัฐบาล ในช่วงที่ผ่านมา โดยเกือบทุกกลุ่มตลาดกลับมาขยายตัวได้สูงและต่อยอดจากปี 2551 ยกเว้น เอเชียตะวันออก และอเมริกา
สถานการณ์ท่องเที่ยว ในช่วงไตรมาส 2 :
มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทย ทั้งสิ้น 2.89 ล้านคน อัตราการหดตัวร้อยละ 2.17 ซึ่งเป็นผลจากปัญหาความยืดเยื้อของเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองที่ได้เริ่มมาตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม 2553 ได้มีการพัฒนาไปสู่ความตึงเครียดเป็นระยะ ๆ นำไปสู่บรรยากาศที่ไม่เอื้อต่อการเดินทางท่องเที่ยว จนมีการประกาศใช้ พรก. ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในช่วงเดือนเมษายน 2553 และท้ายที่สุดได้มีการประกาศห้ามออกนอกเคหะสถานในยามค่ำคืน (เคอร์ฟิวส์) ในช่วงระหว่างวันที่ 19-28 พฤษภาคม 2553 จึงทำให้รัฐบาลในต่างประเทศประกาศห้ามการเดินทางเข้าพื้นที่ กรุงเทพมหานครหรือเดินทางเข้าประเทศไทย จำนวน 17 ประเทศ 2 เขตการปกครอง (ฮ่องกง ไต้หวัน) นอกจากนี้ ยังมีการประกาศเตือนให้ทบทวนการเดินทางเข้าประเทศไทย ในจำนวน 23 ประเทศ และกอปรกับในช่วงเวลาดังกล่าวได้เกิดเหตุภูเขาไฟระเบิดในประเทศไอซ์แลนด์ ในช่วงเดือนเมษายน 2553 ทำให้สายการบินจากประเทศในกลุ่มยุโรปจำนวนมากต้องยกเลิกการให้บริการ จึงเป็นแรงกดทับต่อการลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทยในช่วงเวลานั้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อเหตุการณ์วิกฤติต่าง ๆ ได้คลี่คลายลง และรัฐบาลในต่างประเทศมีการปรับลดระดับประกาศคำเตือนการเดินทางเข้ามายังประเทศไทย ทำให้สถานการณ์ท่องเที่ยวไทยมีการปรับตัวดีขึ้น ตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาส 2 เป็นต้นมา ทั้งนี้ กลุ่มตลาดที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเมืองของประเทศไทยมากที่สุด คือ เอเชียตะวันออก ส่วนกลุ่มตลาดอื่นได้รับผลกระทบไม่มากและสามารถฟื้นตัวได้เร็วเมื่อสิ้นเหตุวิกฤติ
สถานการณ์ท่องเที่ยว ในช่วงไตรมาส 3 :
มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทย ทั้งสิ้น 3.76 ล้านคน อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.52 โดยเป็นการฟื้นตัวกลับมาสู่ภาวะปกติและต่อยอดจากปี 2551 ได้อีกครั้งหลังสิ้นวิกฤติ จากปัจจัยทางด้านความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย และเหล่าพันธมิตรที่มีการปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว จากการประสบภาวะวิกฤติที่ผ่านมา ประกอบกับยังมีแรงขับเคลื่อนเดิมที่ผลักดันให้การท่องเที่ยวขยายตัว อาทิ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และการส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐ ทำให้เกือบทุกกลุ่มตลาดสามารถฟื้นตัวกลับมาสู่ภาวะปกติ และต่อยอดเพิ่มขึ้นได้ โดยมีเพียง ยุโรป และ อเมริกา ที่จำนวนนักท่องเที่ยวหดตัวลงจากปีที่ผ่านมา จากการประสบปัญหาทางเศรษฐกิจภายในภูมิภาค ส่งผลให้เงินสกุลยูโร และดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินสกุลบาทของประเทศไทย
สถานการณ์ท่องเที่ยว ในช่วงไตรมาส 4 :
มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทย ทั้งสิ้น 4.61 ล้านคน อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.44 โดยเป็นการเติบโตได้ดีต่อเนื่อง จากฐานเดิมที่มีขนาดใหญ่ในปีที่ผ่านมา โดยเกือบทุกภูมิภาคปรับตัวดีขึ้นต่อยอดจากแนวโน้มเดิม ยกเว้น ภูมิภาคอเมริกา ที่มีอัตราหดตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2551 จากผลกระทบของวิกฤติการณ์ทางการเงินอันเกิดจากปัญหาซับไพรม์ของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ผ่านมา
มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทย ทั้งสิ้น 4.61 ล้านคน อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.44 โดยเป็นการเติบโตได้ดีต่อเนื่อง จากฐานเดิมที่มีขนาดใหญ่ในปีที่ผ่านมา โดยเกือบทุกภูมิภาคปรับตัวดีขึ้นต่อยอดจากแนวโน้มเดิม ยกเว้น ภูมิภาคอเมริกา ที่มีอัตราหดตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2551 จากผลกระทบของวิกฤติการณ์ทางการเงินอันเกิดจากปัญหาซับไพรม์ของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ผ่านมา
สถานการณ์ท่องเที่ยวจำแนกรายภูมิภาคปี 2553
ภูมิภาคเอเชียตะวันออก
สถานการณ์ตลาดนักท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียตะวันออกเดินทางเข้าไทยรายถิ่นพำนัก ในปี 2553 มีจำนวนนักท่องเที่ยว ทั้งสิ้น 8.15 ล้านคน เป็นการฟื้นตัวกลับมาเติบโตได้ดีหลังจากหดตัว ร้อยละ 7 ในช่วงปี 2552 โดยกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้น ในอัตราร้อยละ 15.43 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เป็นผลจากการขยายตัวที่ดีทั้งกลุ่มตลาดอาเซียน และกลุ่มตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ แม้ว่าจะมีการหดตัวลงในช่วงที่เกิดวิกฤติภายในประเทศไทย ในช่วงไตรมาส 2 แต่ตลาดก็สามารถฟื้นกลับมาขยายตัวได้เร็วและเติบโตเป็นไปตามแนวโน้มปกติเมื่อเหตุการณ์ต่าง ๆ เข้าสู่ความสงบ โดยยังมีปัจจัยหนุนเดิมที่ผลักดันให้เกิดความต้องการเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศ คือ การขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียที่ยังมีการเติบโตต่อไปได้ แม้ว่า สภาพเศรษฐกิจของภูมิภาคอื่น ๆ เช่น ยุโรป และอเมริกา ยังประสบกับปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเงินอยู่ รวมทั้ง การเติบโตของธุรกิจสายการบิน โดยเฉพาะเส้นทางในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จึงทำให้การท่องเที่ยวของภูมิภาคนี้มีการเติบโตได้ดี ในปี 2553
เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ : มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยรายถิ่นพำนัก ทั้งสิ้น 3.60 ล้านคน อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.63 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2552 และกลับมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2551 ซึ่งเป็นปีที่มีสถานการณ์ท่องเที่ยวปกติ ทั้งนี้ ในทุกตลาดกลับมาขยายตัวได้ดีหลังสิ้นวิกฤติ โดยปัจจัยสนับสนุนการเดินทางท่องเที่ยว คือ สภาพเศรษฐกิจที่กำลังปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ความต้องการเดินทางออกนอกประเทศกลับมาขยายตัวดีขึ้นในทุกตลาดหลังจากที่มีการหดตัวลงในช่วงปีที่ผ่านมาจากผลของภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา โดยในปีนี้ จำนวนนักท่องเที่ยว ตลาดจีน ได้ก้าวมาเป็นตลาดผู้นำในภูมิภาค ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวจีนสูงกว่าหนึ่งล้านคน ในอัตราการขยายตัวที่สูงเกือบร้อยละ 45 ทำลายสถิตินักท่องเที่ยวจีนเข้าไทยที่ผ่านมา สำหรับ ตลาดอื่น ๆ คือ ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน และ เกาหลีใต้ มีการปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ จากปัจจัยทางด้านภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละประเทศ โดยตลาดส่วนใหญ่สามารถฟื้นกลับมามีจำนวนนักท่องเที่ยวอยู่เหนือระดับ ปี 2552 แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า ปี 2551 เล็กน้อย แสดงถึงแนวโน้มการกลับมาเติบโตของกลุ่มตลาดนี้ที่สามารถเร่งอัตราการขยายตัวได้ดีในช่วงครึ่งปีหลัง เมื่อสิ้นเหตุวิกฤติภายในประเทศไทย นอกจากนี้ โดยสำหรับ ตลาดญี่ปุ่น ยังมีโอกาสเพิ่มขึ้นอีกจากการเปิดสนามบินฮาเนดะเป็นสนามบินระหว่างประเทศ ในช่วงเดือนตุลาคม 2553 ส่งผลให้มีการเพิ่มเที่ยวบินจากญี่ปุ่นมาไทยอีก 21 เที่ยว/สัปดาห์ จากสายการบิน Japan Airlines ,All Nippon Airways รวมทั้ง สายการบินไทย จำกัด (มหาชน)
ในปี 2553 นอกจากประเทศไทยจะประสบเหตุวิกฤติภายในประเทศ ซึ่งเป็นอุปสรรคขัดขวางการเดินทางท่องเที่ยวไทย ในขณะเดียวกัน ยังเกิดเหตุการณ์ที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเดินทางท่องเที่ยวจากภายนอกเกิดขึ้นในบางประเทศ เช่น การเกิดสถานการณ์การสู้รบกันระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ การเกิดเหตุการณ์ข้อขัดแย้งระหว่างจีนและญี่ปุ่น การเกิดเหตุการณ์จับนักท่องเที่ยวฮ่องกงเป็นตัวประกันในประเทศฟิลิปปินส์ หรือแม้แต่ การเป็นเจ้าภาพจัดงาน Shanghai Expo ที่ประเทศจีน ในช่วงเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม 2553 และการจัดการแข่งขันกีฬาเอเซียนเกมส์ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2553 ทำให้เกิดการไหลของตลาดไปยังบางแหล่งท่องเที่ยวไม่คาดฝัน โดยไปยังแหล่งที่มีความสงบแทนพื้นที่ประสบวิกฤติ หรือเคลื่อนย้ายการท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวไม่อยู่ระหว่างข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทระหว่างประเทศ
อาเซียน : มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยรายถิ่นพำนัก ทั้งสิ้น 4.53 ล้านคน เป็นอัตราการเติบโตต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 14.25 จากการขยายตัวได้ดีในทุกตลาด ยกเว้น บรูไน โดยตลาดหลักที่มีการเติบโตดีมาก คือ มาเลเซีย มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 17 ตลาดรองลงมา คือ เวียดนาม ลาว ในขณะที่ ตลาดสิงคโปร์ แม้ว่าจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น แต่คงยังมีความผันผวนสูง โดยจะทรุดตัวลงมากเมื่อเกิดเหตุวิกฤติภายในประเทศไทย และเคลื่อนไหวปรับตัวดีขึ้นและลงตามภาวะเศรษฐกิจที่กำลังค่อย ๆ ฟื้นตัว ส่วนตลาดที่มีขนาดเล็กอื่น คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นสูงถึงสองหลัก (2 digits) เนื่องจากมีปัจจัยบวกจากการเปิดเที่ยวบินของสายการบิน Air Asia ในตลาดอินโดนีเซีย ในเส้นทาง สุระบาย่า – กรุงเทพฯ จำนวน 4 เที่ยว/สัปดาห์ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2553 และเส้นทาง บาหลี – ภูเก็ต จำนวน 4 เที่ยว/สัปดาห์ ในช่วงเดือนธันวาคม 2553 ในขณะที่ ตลาดฟิลิปปินส์ สายการบิน Cebu Pacific มีการขยายเที่ยวบินในเส้นทางกรุงมะนิลา – กรุงเทพฯ จาก 3 เที่ยว/สัปดาห์ เป็น 10 เที่ยว/สัปดาห์ และสถานการณ์ตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชาที่ค่อนข้างสงบ มีการกระทบกระทั่งระหว่างกันน้อย จึงทำให้ตลาดกัมพูชามีการเดินทางเข้าไทยขยายตัวได้ดีในช่วงครึ่งปีหลัง สำหรับ ปัญหาอุทกภัยในพื้นที่หาดใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของตลาดมาเลเซีย และสิงคโปร์ ส่งผลกระทบต่อตลาดเพียงเล็กน้อยเฉพาะในช่วงที่ประสบอุทกภัย และสามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติเมื่อสิ้นเหตุวิกฤติ จากผลของการส่งเสริมการตลาดและจัดกิจกรรมกระตุ้นการท่องเที่ยวของอำเภอหาดใหญ่ในช่วงปลายปี
ภูมิภาคยุโรป สถานการณ์ตลาดนักท่องเที่ยวภูมิภาคยุโรปเดินทางเข้าไทยรายถิ่นพำนัก ในปี 2553 มีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 4.55 ล้านคน ขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ด้วยอัตราร้อยละ 9 โดยมีการขยายตัวในระดับที่ดีมากในช่วงไตรมาส 1 ด้วยอัตราร้อยละ 25 แต่เมื่อเข้าสู่ไตรมาส 2 หลังจากที่ประเทศไทยประสบกับปัญหาความวุ่นวายภายในประเทศไทย กอปรกับการเกิดเหตุการณ์ภูเขาไฟใต้น้ำระเบิดได้เกิดขี้เถ้าของภูเขาไฟลอยขึ้นไปปิดน่านฟ้าหลายประเทศในแถบยุโรป ในช่วงเดือนเมษายน 2553 และยังซ้ำเติมด้วยการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในกลุ่มประเทศยุโรปตอนใต้ คือ กลุ่มประเทศ PIIGs (โปรตุเกส อิตาลี ไอร์แลนด์ กรีซ) จากการที่ปล่อยให้เกิดหนี้สาธารณะขึ้นจำนวนมาก จนหลายประเทศยักษ์ใหญ่ในกลุ่มยุโรปต้องเข้าไปให้การช่วยเหลือ ส่งผลให้ค่าเงินสกุลยูโร และปอนด์สเตอริง ในช่วงไตรมาส 3 มีการอ่อนค่าลง โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย ส่งผลให้ตลาดนักท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศยุโรปเกือบทั้งหมดหดตัวลงหันไปเดินทางท่องเที่ยวภายในภูมิภาคแทนการเดินทางระยะไกล โดยมีเพียง ตลาดรัสเซีย เท่านั้น ที่ยังคงมีการเดินทางเข้าไทยเติบโตอย่างโดดเด่น ด้วยอัตราการเติบโตที่สูงเกือบเท่าตัวเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา จากปัจจัยหนุนทางด้านสภาพเศรษฐกิจที่มีการเติบโตอย่างแข็งแรง และการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินเช่าเหมาลำเข้าประเทศไทยจึงทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวของกลุ่มยุโรปยังสามารถยืนอยู่ในแดนบวกได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงไตรมาส 4 สถานการณ์ท่องเที่ยวกลุ่มตลาดยุโรป มีการปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากตลาดในภูมิภาคยุโรปที่มีศักยภาพบางแห่งเริ่มปรับตัวดีขึ้น คือ ฝรั่งเศส และสวิตเซอร์แลนด์ เนื่องจากได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจไม่มาก แต่สิ่งที่ต้องจับตามองผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ในปี 2554 คือ การขึ้นภาษีอัตราค่าโดยสารทางเครื่องบิน (Air Passenger Duty) ที่ได้เริ่มต้นใช้ในประเทศสหราชอาณาจักร ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2553 และจะประกาศใช้ในประเทศเยอรมันในลำดับถัดไป ทำให้สถานการณ์ท่องเที่ยวของภูมิภาคยุโรปยังคงไม่น่าไว้วางใจในปี 2554
ภูมิภาคอเมริกา สถานการณ์ตลาดนักท่องเที่ยวภูมิภาคอเมริกาเดินทางเข้าไทยรายถิ่นพำนัก ในปี 2553 มีจำนวนนักท่องเที่ยว ทั้งสิ้น 0.84 ล้านคน ยังมีอัตราการหดตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าแม้สถานการณ์ท่องเที่ยวของภูมิภาคอเมริกามีการปรับตัวดีขึ้นแต่ก็ยังไม่ฟื้นคืนกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งผลมาจากแรงกระแทกอย่างหนักของวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2551 ทำให้ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำยาวต่อเนื่อง เกิดปัญหาการว่างงานในระดับสูง ค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงต่อเนื่อง ทำให้การเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศลดลง นอกจากนี้ จากการที่ประเทศไทยประสบปัญหาความวุ่นวายภายในประเทศ ในช่วงไตรมาส 2 ทำให้นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคนี้เดินทางเข้าไทยทรุดตัวลงอีก โดยตลาดหลักที่ยังมีการหดตัวยาวต่อเนื่อง คือสหรัฐฯ และแคนาดา ในขณะที่ กลุ่มประเทศเกิดใหม่ที่กำลังมีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ คือ บราซิล และอาร์เจนตินาสถานการณ์ท่องเที่ยวมีการฟื้นคืนสู่ภาวะปกติ ตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 แม้ว่าจะสะดุดตัวลงบ้างเล็กน้อยในช่วงไตรมาส 2 แต่ได้ฟื้นตัวกลับมารวดเร็วเมื่อสิ้นเหตุการณ์วิกฤติ แสดงถึงความมีศักยภาพของตลาดในกลุ่มลาตินอเมริกาที่กำลังมีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ
ภูมิภาคเอเชียใต้ สถานการณ์ตลาดนักท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียใต้เดินทางเข้าไทยรายถิ่นพำนัก ในปี 2553 มีจำนวนนักท่องเที่ยว ทั้งสิ้น 0.99 ล้านคน ในอัตราการเติบโตร้อยละ 20 ซึ่งเป็นการขยายตัวที่แรงต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะสะดุดตัวลงเล็กน้อยในช่วงไตรมาส 2 จากปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทยแต่ก็สามารถฟื้นตัวกลับมาขยายตัวในระดับสูงได้อย่างรวดเร็ว โดยตลาดที่มีอิทธิพลต่อภูมิภาคนี้ คือ ตลาดอินเดีย ซึ่งเป็นตลาดหลักของภูมิภาคเอเชียใต้ ครองส่วนแบ่งตลาดเกือบร้อยละ 80 มีอัตราการขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 24 จากปัจจัยสนับสนุนทางด้านการส่งเสริมตลาดเชิงรุก โดยการเปิดสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งใหม่ ณ เมืองมุมไบ ในช่วงปลายปี 2552 มาตรการการยกเว้นค่าธรรมเนียมในการตรวจลงตราเข้าประเทศไทย กอปรกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศอินเดียที่กำลังขยายตัว ประชาชนชาวอินเดียจึงมีความต้องการเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศมากขึ้น และการขยายตัวของธุรกิจสายการบินที่เพิ่มขึ้นในตลาดอินเดียเป็นอย่างมาก อาทิ Kingfisher Airlines เปิดเที่ยวบินใหม่ ในเส้นทาง กรุงเทพฯ –นิวเดลี จำนวน 7 เที่ยว/สัปดาห์ เริ่มวันที่ 17 เมษายน 2553, Air Asia เปิดเที่ยวบินใหม่ ในเส้นทาง กรุงเทพฯ – กัลกัตตา จำนวน 7 เที่ยว/สัปดาห์ และ ในเส้นทาง กรุงเทพฯ – นิวเดลี จำนวน 4 เที่ยว/สัปดาห์ เริ่มวันที่ 1 ธันวาคม นอกจากนี้ Jet Airlines ยังมีการปรับเพิ่มความถี่เที่ยวบิน ในเส้นทางกรุงเทพฯ – มุมไบ จากจำนวน 1 เที่ยว/สัปดาห์ เป็น 2 เที่ยว/สัปดาห์ เริ่มวันที่ 18 สิงหาคม 2553 เป็นต้น ทำให้ตลาดอินเดียมีการเติบโตได้อย่างสดใส นอกจากนี้ ผลจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวกระจายไปยังตลาดรองอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ตลาดที่มีขนาดเล็กอื่น ๆ สามารถเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง
ภูมิภาคโอเชียเนีย สถานการณ์ตลาดนักท่องเที่ยวภูมิภาคโอเชียเนียเดินทางเข้าไทยรายถิ่นพำนัก ในปี 2553 มีจำนวนนักท่องเที่ยว ทั้งสิ้น 0.79 ล้านคน อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7 โดยเป็นการกลับมาขยายตัวได้อย่างมั่นคงและสามารถต่อยอดจากปี 2551 ซึ่งเป็นปีที่สถานการณ์ท่องเที่ยวปกติ ถึงแม้ว่าจะสะดุดตัวลงเล็กน้อยในช่วงไตรมาส 2 จากเหตุวิกฤติภายในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม เมื่อเหตุการณ์ความไม่สงบสิ้นสุด และรัฐบาลของประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ประกาศลดระดับคำเตือนการเดินทางเข้ามายังประเทศไทย สถานการณ์ตลาดนักท่องเที่ยวได้กลับมาเดินทางเข้าไทยเป็นปกติ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน เป็นต้นมา ทั้งนี้ ปัจจัยที่สนับสนุนการขยายตัวของนักท่องเที่ยว คือ สภาพเศรษฐกิจที่มีการฟื้นตัวได้เร็วกว่าที่คาดการณ์ ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในการออกเดินทางท่องเที่ยวและจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น รวมทั้ง สายการบิน Pacific Blue ได้ขยายความถี่เที่ยวบินตรงเข้าแหล่งท่องเที่ยว ในเส้นทางเพิร์ธ - ภูเก็ต จากจำนวน 2 เที่ยวบิน/สัปดาห์ มาเป็นจำนวน 3 เที่ยว/สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2553 ทำให้การเดินทางเข้าไทยมีความสะดวกมากขึ้น สำหรับ การประสบอุทกภัยน้ำท่วมอย่างรุนแรงที่รัฐควีนแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ในช่วงเดือนธันวาคม 2553 ส่งผลให้ประเทศออสเตรเลียได้รับความเสียหายมากกว่า 1,500 ล้านเหรียญ จนทำให้รัฐบาลประกาศขึ้นภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นอีก ร้อยละ 0.5 - 1.0 อาจส่งผลให้ชาวออสเตรเลียชะลอการเดินทางท่องเที่ยวได้ ซึ่งคงต้องจับตามองต่อไปในปี 2554
ภูมิภาคตะวันออกกลาง สถานการณ์ตลาดนักท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกกลางเดินทางเข้าไทยรายถิ่นพำนัก ในปี 2553 มีจำนวนนักท่องเที่ยว ทั้งสิ้น 0.45 ล้านคน อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 21 โดยเป็นการเติบโตดีต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา แม้ว่า อัตราการเติบโตจะแผ่วลง ในช่วงไตรมาส 2 จากเหตุวิกฤติภายในประเทศ ที่ทำให้รัฐบาลของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งนับเป็นประเทศแรกๆ ที่ประกาศห้ามนักท่องเที่ยวเดินทางมายังประเทศไทย ตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2553 โดยปัจจัยที่สนับสนุนการขยายตัวของนักท่องเที่ยว คือ ภาวะเศรษฐกิจที่มีการเติบโต การขยายตัวของธุรกิจสายการบิน พร้อมทั้ง การส่งเสริมการท่องเที่ยวของ ททท. และกระตุ้นตลาดร่วมกับสายการบิน อาทิ การทำ Joint Promotion ร่วมกับสายการบินเอทิฮัด ภายใต้แคมเปญ Thailand Summer Special Offer ที่ครอบคลุมลูกค้าทั่วทั้งภูมิภาค จึงทำให้เกือบทุกตลาดมีการเติบโตเพิ่มขึ้น ยกเว้น ซาอุดิอาระเบีย ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าประเทศไทยหดตัวยาวนานต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา จากปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ตลาดดาวรุ่งที่กำลังเติบโตสูงต่อเนื่องตลอดช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา คือ อิหร่าน จากภาวะเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัว นโยบายการเปิดประเทศ กระแสความต้องการเดินทางออกนอกประเทศ รวมทั้งการขยายเส้นทางบินตรงเข้าไทย ทำให้ตลาดมีการขยายตัวได้สูงอย่างต่อเนื่อง ในอัตราการเติบโตสูงกว่าร้อยละ 50 แม้ว่าประเทศไทยจะประสบปัญหาความวุ่นวายภายในประเทศก็ตาม
ภูมิภาคแอฟริกา สถานการณ์ตลาดนักท่องเที่ยวภูมิภาคแอฟริกาเดินทางเข้าไทยรายถิ่นพำนัก ในปี 2553 มีจำนวนนักท่องเที่ยว ทั้งสิ้น 0.12 ล้านคน อัตราการขยายตัวดีต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ในอัตราร้อยละ 14 โดยสถานการณ์ท่องเที่ยวมีการเติบโตในอัตราที่ดีมากเกือบร้อยละ 20 ในช่วงไตรมาสแรก จากสัญญาณของการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มปรับตัวได้ดี แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงไตรมาส 2 อัตราการขยายตัวแผ่วลง เหลืออัตราการขยายตัวร้อยละ 5 จากปัญหาวิกฤติทางการเมืองของไทย อย่างไรก็ดี เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองของไทยเข้าสู่ความสงบสถานการณ์ท่องเที่ยวเริ่มปรับตัวดีขึ้นมาเป็นปกติได้ ในช่วงกลางไตรมาส 3 ประกอบกับยังมีปัจจัยผลักดันให้การท่องเที่ยวขยายตัวเพิ่มขึ้น คือ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้เปิดเที่ยวบินตรงขึ้นใหม่อีกครั้ง ในเส้นทางกรุงเทพฯ– โจฮันเนสเบิร์ก จำนวน 4 เที่ยวบิน/สัปดาห์ ในวันที่ 2 มิถุนายน 2553 เพื่อรองรับความต้องการเดินทางในช่วงที่มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกที่ประเทศแอฟริกาใต้ หลังจากที่ได้ยกเลิกทำการบิน ในช่วงเดือนมกราคม 2552 จึงทำให้สถานการณ์ท่องเที่ยวตลาดแอฟริกาใต้มีการปรับตัวดีขึ้นมาก
รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ทั้งปี 2553
จากสรุปผลสถิติจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทย ของปี 2553 มีจำนวน 15.93 ล้านคน อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 12.63 สามารถสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ประมาณ 592,794.09 ล้านบาท อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.18 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทย มีระยะเวลาพำนักโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 9.12 วัน มีการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันต่อคน อยู่ที่ 4,078.67 บาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.68 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ภูมิภาคเอเชียตะวันออก
สถานการณ์ตลาดนักท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียตะวันออกเดินทางเข้าไทยรายถิ่นพำนัก ในปี 2553 มีจำนวนนักท่องเที่ยว ทั้งสิ้น 8.15 ล้านคน เป็นการฟื้นตัวกลับมาเติบโตได้ดีหลังจากหดตัว ร้อยละ 7 ในช่วงปี 2552 โดยกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้น ในอัตราร้อยละ 15.43 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เป็นผลจากการขยายตัวที่ดีทั้งกลุ่มตลาดอาเซียน และกลุ่มตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ แม้ว่าจะมีการหดตัวลงในช่วงที่เกิดวิกฤติภายในประเทศไทย ในช่วงไตรมาส 2 แต่ตลาดก็สามารถฟื้นกลับมาขยายตัวได้เร็วและเติบโตเป็นไปตามแนวโน้มปกติเมื่อเหตุการณ์ต่าง ๆ เข้าสู่ความสงบ โดยยังมีปัจจัยหนุนเดิมที่ผลักดันให้เกิดความต้องการเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศ คือ การขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียที่ยังมีการเติบโตต่อไปได้ แม้ว่า สภาพเศรษฐกิจของภูมิภาคอื่น ๆ เช่น ยุโรป และอเมริกา ยังประสบกับปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเงินอยู่ รวมทั้ง การเติบโตของธุรกิจสายการบิน โดยเฉพาะเส้นทางในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จึงทำให้การท่องเที่ยวของภูมิภาคนี้มีการเติบโตได้ดี ในปี 2553
เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ : มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยรายถิ่นพำนัก ทั้งสิ้น 3.60 ล้านคน อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.63 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2552 และกลับมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2551 ซึ่งเป็นปีที่มีสถานการณ์ท่องเที่ยวปกติ ทั้งนี้ ในทุกตลาดกลับมาขยายตัวได้ดีหลังสิ้นวิกฤติ โดยปัจจัยสนับสนุนการเดินทางท่องเที่ยว คือ สภาพเศรษฐกิจที่กำลังปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ความต้องการเดินทางออกนอกประเทศกลับมาขยายตัวดีขึ้นในทุกตลาดหลังจากที่มีการหดตัวลงในช่วงปีที่ผ่านมาจากผลของภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา โดยในปีนี้ จำนวนนักท่องเที่ยว ตลาดจีน ได้ก้าวมาเป็นตลาดผู้นำในภูมิภาค ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวจีนสูงกว่าหนึ่งล้านคน ในอัตราการขยายตัวที่สูงเกือบร้อยละ 45 ทำลายสถิตินักท่องเที่ยวจีนเข้าไทยที่ผ่านมา สำหรับ ตลาดอื่น ๆ คือ ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน และ เกาหลีใต้ มีการปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ จากปัจจัยทางด้านภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละประเทศ โดยตลาดส่วนใหญ่สามารถฟื้นกลับมามีจำนวนนักท่องเที่ยวอยู่เหนือระดับ ปี 2552 แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า ปี 2551 เล็กน้อย แสดงถึงแนวโน้มการกลับมาเติบโตของกลุ่มตลาดนี้ที่สามารถเร่งอัตราการขยายตัวได้ดีในช่วงครึ่งปีหลัง เมื่อสิ้นเหตุวิกฤติภายในประเทศไทย นอกจากนี้ โดยสำหรับ ตลาดญี่ปุ่น ยังมีโอกาสเพิ่มขึ้นอีกจากการเปิดสนามบินฮาเนดะเป็นสนามบินระหว่างประเทศ ในช่วงเดือนตุลาคม 2553 ส่งผลให้มีการเพิ่มเที่ยวบินจากญี่ปุ่นมาไทยอีก 21 เที่ยว/สัปดาห์ จากสายการบิน Japan Airlines ,All Nippon Airways รวมทั้ง สายการบินไทย จำกัด (มหาชน)
ในปี 2553 นอกจากประเทศไทยจะประสบเหตุวิกฤติภายในประเทศ ซึ่งเป็นอุปสรรคขัดขวางการเดินทางท่องเที่ยวไทย ในขณะเดียวกัน ยังเกิดเหตุการณ์ที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเดินทางท่องเที่ยวจากภายนอกเกิดขึ้นในบางประเทศ เช่น การเกิดสถานการณ์การสู้รบกันระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ การเกิดเหตุการณ์ข้อขัดแย้งระหว่างจีนและญี่ปุ่น การเกิดเหตุการณ์จับนักท่องเที่ยวฮ่องกงเป็นตัวประกันในประเทศฟิลิปปินส์ หรือแม้แต่ การเป็นเจ้าภาพจัดงาน Shanghai Expo ที่ประเทศจีน ในช่วงเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม 2553 และการจัดการแข่งขันกีฬาเอเซียนเกมส์ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2553 ทำให้เกิดการไหลของตลาดไปยังบางแหล่งท่องเที่ยวไม่คาดฝัน โดยไปยังแหล่งที่มีความสงบแทนพื้นที่ประสบวิกฤติ หรือเคลื่อนย้ายการท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวไม่อยู่ระหว่างข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทระหว่างประเทศ
อาเซียน : มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยรายถิ่นพำนัก ทั้งสิ้น 4.53 ล้านคน เป็นอัตราการเติบโตต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 14.25 จากการขยายตัวได้ดีในทุกตลาด ยกเว้น บรูไน โดยตลาดหลักที่มีการเติบโตดีมาก คือ มาเลเซีย มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 17 ตลาดรองลงมา คือ เวียดนาม ลาว ในขณะที่ ตลาดสิงคโปร์ แม้ว่าจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น แต่คงยังมีความผันผวนสูง โดยจะทรุดตัวลงมากเมื่อเกิดเหตุวิกฤติภายในประเทศไทย และเคลื่อนไหวปรับตัวดีขึ้นและลงตามภาวะเศรษฐกิจที่กำลังค่อย ๆ ฟื้นตัว ส่วนตลาดที่มีขนาดเล็กอื่น คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นสูงถึงสองหลัก (2 digits) เนื่องจากมีปัจจัยบวกจากการเปิดเที่ยวบินของสายการบิน Air Asia ในตลาดอินโดนีเซีย ในเส้นทาง สุระบาย่า – กรุงเทพฯ จำนวน 4 เที่ยว/สัปดาห์ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2553 และเส้นทาง บาหลี – ภูเก็ต จำนวน 4 เที่ยว/สัปดาห์ ในช่วงเดือนธันวาคม 2553 ในขณะที่ ตลาดฟิลิปปินส์ สายการบิน Cebu Pacific มีการขยายเที่ยวบินในเส้นทางกรุงมะนิลา – กรุงเทพฯ จาก 3 เที่ยว/สัปดาห์ เป็น 10 เที่ยว/สัปดาห์ และสถานการณ์ตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชาที่ค่อนข้างสงบ มีการกระทบกระทั่งระหว่างกันน้อย จึงทำให้ตลาดกัมพูชามีการเดินทางเข้าไทยขยายตัวได้ดีในช่วงครึ่งปีหลัง สำหรับ ปัญหาอุทกภัยในพื้นที่หาดใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของตลาดมาเลเซีย และสิงคโปร์ ส่งผลกระทบต่อตลาดเพียงเล็กน้อยเฉพาะในช่วงที่ประสบอุทกภัย และสามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติเมื่อสิ้นเหตุวิกฤติ จากผลของการส่งเสริมการตลาดและจัดกิจกรรมกระตุ้นการท่องเที่ยวของอำเภอหาดใหญ่ในช่วงปลายปี
ภูมิภาคยุโรป สถานการณ์ตลาดนักท่องเที่ยวภูมิภาคยุโรปเดินทางเข้าไทยรายถิ่นพำนัก ในปี 2553 มีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 4.55 ล้านคน ขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ด้วยอัตราร้อยละ 9 โดยมีการขยายตัวในระดับที่ดีมากในช่วงไตรมาส 1 ด้วยอัตราร้อยละ 25 แต่เมื่อเข้าสู่ไตรมาส 2 หลังจากที่ประเทศไทยประสบกับปัญหาความวุ่นวายภายในประเทศไทย กอปรกับการเกิดเหตุการณ์ภูเขาไฟใต้น้ำระเบิดได้เกิดขี้เถ้าของภูเขาไฟลอยขึ้นไปปิดน่านฟ้าหลายประเทศในแถบยุโรป ในช่วงเดือนเมษายน 2553 และยังซ้ำเติมด้วยการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในกลุ่มประเทศยุโรปตอนใต้ คือ กลุ่มประเทศ PIIGs (โปรตุเกส อิตาลี ไอร์แลนด์ กรีซ) จากการที่ปล่อยให้เกิดหนี้สาธารณะขึ้นจำนวนมาก จนหลายประเทศยักษ์ใหญ่ในกลุ่มยุโรปต้องเข้าไปให้การช่วยเหลือ ส่งผลให้ค่าเงินสกุลยูโร และปอนด์สเตอริง ในช่วงไตรมาส 3 มีการอ่อนค่าลง โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย ส่งผลให้ตลาดนักท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศยุโรปเกือบทั้งหมดหดตัวลงหันไปเดินทางท่องเที่ยวภายในภูมิภาคแทนการเดินทางระยะไกล โดยมีเพียง ตลาดรัสเซีย เท่านั้น ที่ยังคงมีการเดินทางเข้าไทยเติบโตอย่างโดดเด่น ด้วยอัตราการเติบโตที่สูงเกือบเท่าตัวเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา จากปัจจัยหนุนทางด้านสภาพเศรษฐกิจที่มีการเติบโตอย่างแข็งแรง และการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินเช่าเหมาลำเข้าประเทศไทยจึงทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวของกลุ่มยุโรปยังสามารถยืนอยู่ในแดนบวกได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงไตรมาส 4 สถานการณ์ท่องเที่ยวกลุ่มตลาดยุโรป มีการปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากตลาดในภูมิภาคยุโรปที่มีศักยภาพบางแห่งเริ่มปรับตัวดีขึ้น คือ ฝรั่งเศส และสวิตเซอร์แลนด์ เนื่องจากได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจไม่มาก แต่สิ่งที่ต้องจับตามองผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ในปี 2554 คือ การขึ้นภาษีอัตราค่าโดยสารทางเครื่องบิน (Air Passenger Duty) ที่ได้เริ่มต้นใช้ในประเทศสหราชอาณาจักร ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2553 และจะประกาศใช้ในประเทศเยอรมันในลำดับถัดไป ทำให้สถานการณ์ท่องเที่ยวของภูมิภาคยุโรปยังคงไม่น่าไว้วางใจในปี 2554
ภูมิภาคอเมริกา สถานการณ์ตลาดนักท่องเที่ยวภูมิภาคอเมริกาเดินทางเข้าไทยรายถิ่นพำนัก ในปี 2553 มีจำนวนนักท่องเที่ยว ทั้งสิ้น 0.84 ล้านคน ยังมีอัตราการหดตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าแม้สถานการณ์ท่องเที่ยวของภูมิภาคอเมริกามีการปรับตัวดีขึ้นแต่ก็ยังไม่ฟื้นคืนกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งผลมาจากแรงกระแทกอย่างหนักของวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2551 ทำให้ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำยาวต่อเนื่อง เกิดปัญหาการว่างงานในระดับสูง ค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงต่อเนื่อง ทำให้การเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศลดลง นอกจากนี้ จากการที่ประเทศไทยประสบปัญหาความวุ่นวายภายในประเทศ ในช่วงไตรมาส 2 ทำให้นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคนี้เดินทางเข้าไทยทรุดตัวลงอีก โดยตลาดหลักที่ยังมีการหดตัวยาวต่อเนื่อง คือสหรัฐฯ และแคนาดา ในขณะที่ กลุ่มประเทศเกิดใหม่ที่กำลังมีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ คือ บราซิล และอาร์เจนตินาสถานการณ์ท่องเที่ยวมีการฟื้นคืนสู่ภาวะปกติ ตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 แม้ว่าจะสะดุดตัวลงบ้างเล็กน้อยในช่วงไตรมาส 2 แต่ได้ฟื้นตัวกลับมารวดเร็วเมื่อสิ้นเหตุการณ์วิกฤติ แสดงถึงความมีศักยภาพของตลาดในกลุ่มลาตินอเมริกาที่กำลังมีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ
ภูมิภาคเอเชียใต้ สถานการณ์ตลาดนักท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียใต้เดินทางเข้าไทยรายถิ่นพำนัก ในปี 2553 มีจำนวนนักท่องเที่ยว ทั้งสิ้น 0.99 ล้านคน ในอัตราการเติบโตร้อยละ 20 ซึ่งเป็นการขยายตัวที่แรงต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะสะดุดตัวลงเล็กน้อยในช่วงไตรมาส 2 จากปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทยแต่ก็สามารถฟื้นตัวกลับมาขยายตัวในระดับสูงได้อย่างรวดเร็ว โดยตลาดที่มีอิทธิพลต่อภูมิภาคนี้ คือ ตลาดอินเดีย ซึ่งเป็นตลาดหลักของภูมิภาคเอเชียใต้ ครองส่วนแบ่งตลาดเกือบร้อยละ 80 มีอัตราการขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 24 จากปัจจัยสนับสนุนทางด้านการส่งเสริมตลาดเชิงรุก โดยการเปิดสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งใหม่ ณ เมืองมุมไบ ในช่วงปลายปี 2552 มาตรการการยกเว้นค่าธรรมเนียมในการตรวจลงตราเข้าประเทศไทย กอปรกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศอินเดียที่กำลังขยายตัว ประชาชนชาวอินเดียจึงมีความต้องการเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศมากขึ้น และการขยายตัวของธุรกิจสายการบินที่เพิ่มขึ้นในตลาดอินเดียเป็นอย่างมาก อาทิ Kingfisher Airlines เปิดเที่ยวบินใหม่ ในเส้นทาง กรุงเทพฯ –นิวเดลี จำนวน 7 เที่ยว/สัปดาห์ เริ่มวันที่ 17 เมษายน 2553, Air Asia เปิดเที่ยวบินใหม่ ในเส้นทาง กรุงเทพฯ – กัลกัตตา จำนวน 7 เที่ยว/สัปดาห์ และ ในเส้นทาง กรุงเทพฯ – นิวเดลี จำนวน 4 เที่ยว/สัปดาห์ เริ่มวันที่ 1 ธันวาคม นอกจากนี้ Jet Airlines ยังมีการปรับเพิ่มความถี่เที่ยวบิน ในเส้นทางกรุงเทพฯ – มุมไบ จากจำนวน 1 เที่ยว/สัปดาห์ เป็น 2 เที่ยว/สัปดาห์ เริ่มวันที่ 18 สิงหาคม 2553 เป็นต้น ทำให้ตลาดอินเดียมีการเติบโตได้อย่างสดใส นอกจากนี้ ผลจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวกระจายไปยังตลาดรองอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ตลาดที่มีขนาดเล็กอื่น ๆ สามารถเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง
ภูมิภาคโอเชียเนีย สถานการณ์ตลาดนักท่องเที่ยวภูมิภาคโอเชียเนียเดินทางเข้าไทยรายถิ่นพำนัก ในปี 2553 มีจำนวนนักท่องเที่ยว ทั้งสิ้น 0.79 ล้านคน อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7 โดยเป็นการกลับมาขยายตัวได้อย่างมั่นคงและสามารถต่อยอดจากปี 2551 ซึ่งเป็นปีที่สถานการณ์ท่องเที่ยวปกติ ถึงแม้ว่าจะสะดุดตัวลงเล็กน้อยในช่วงไตรมาส 2 จากเหตุวิกฤติภายในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม เมื่อเหตุการณ์ความไม่สงบสิ้นสุด และรัฐบาลของประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ประกาศลดระดับคำเตือนการเดินทางเข้ามายังประเทศไทย สถานการณ์ตลาดนักท่องเที่ยวได้กลับมาเดินทางเข้าไทยเป็นปกติ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน เป็นต้นมา ทั้งนี้ ปัจจัยที่สนับสนุนการขยายตัวของนักท่องเที่ยว คือ สภาพเศรษฐกิจที่มีการฟื้นตัวได้เร็วกว่าที่คาดการณ์ ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในการออกเดินทางท่องเที่ยวและจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น รวมทั้ง สายการบิน Pacific Blue ได้ขยายความถี่เที่ยวบินตรงเข้าแหล่งท่องเที่ยว ในเส้นทางเพิร์ธ - ภูเก็ต จากจำนวน 2 เที่ยวบิน/สัปดาห์ มาเป็นจำนวน 3 เที่ยว/สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2553 ทำให้การเดินทางเข้าไทยมีความสะดวกมากขึ้น สำหรับ การประสบอุทกภัยน้ำท่วมอย่างรุนแรงที่รัฐควีนแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ในช่วงเดือนธันวาคม 2553 ส่งผลให้ประเทศออสเตรเลียได้รับความเสียหายมากกว่า 1,500 ล้านเหรียญ จนทำให้รัฐบาลประกาศขึ้นภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นอีก ร้อยละ 0.5 - 1.0 อาจส่งผลให้ชาวออสเตรเลียชะลอการเดินทางท่องเที่ยวได้ ซึ่งคงต้องจับตามองต่อไปในปี 2554
ภูมิภาคตะวันออกกลาง สถานการณ์ตลาดนักท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกกลางเดินทางเข้าไทยรายถิ่นพำนัก ในปี 2553 มีจำนวนนักท่องเที่ยว ทั้งสิ้น 0.45 ล้านคน อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 21 โดยเป็นการเติบโตดีต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา แม้ว่า อัตราการเติบโตจะแผ่วลง ในช่วงไตรมาส 2 จากเหตุวิกฤติภายในประเทศ ที่ทำให้รัฐบาลของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งนับเป็นประเทศแรกๆ ที่ประกาศห้ามนักท่องเที่ยวเดินทางมายังประเทศไทย ตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2553 โดยปัจจัยที่สนับสนุนการขยายตัวของนักท่องเที่ยว คือ ภาวะเศรษฐกิจที่มีการเติบโต การขยายตัวของธุรกิจสายการบิน พร้อมทั้ง การส่งเสริมการท่องเที่ยวของ ททท. และกระตุ้นตลาดร่วมกับสายการบิน อาทิ การทำ Joint Promotion ร่วมกับสายการบินเอทิฮัด ภายใต้แคมเปญ Thailand Summer Special Offer ที่ครอบคลุมลูกค้าทั่วทั้งภูมิภาค จึงทำให้เกือบทุกตลาดมีการเติบโตเพิ่มขึ้น ยกเว้น ซาอุดิอาระเบีย ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าประเทศไทยหดตัวยาวนานต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา จากปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ตลาดดาวรุ่งที่กำลังเติบโตสูงต่อเนื่องตลอดช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา คือ อิหร่าน จากภาวะเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัว นโยบายการเปิดประเทศ กระแสความต้องการเดินทางออกนอกประเทศ รวมทั้งการขยายเส้นทางบินตรงเข้าไทย ทำให้ตลาดมีการขยายตัวได้สูงอย่างต่อเนื่อง ในอัตราการเติบโตสูงกว่าร้อยละ 50 แม้ว่าประเทศไทยจะประสบปัญหาความวุ่นวายภายในประเทศก็ตาม
ภูมิภาคแอฟริกา สถานการณ์ตลาดนักท่องเที่ยวภูมิภาคแอฟริกาเดินทางเข้าไทยรายถิ่นพำนัก ในปี 2553 มีจำนวนนักท่องเที่ยว ทั้งสิ้น 0.12 ล้านคน อัตราการขยายตัวดีต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ในอัตราร้อยละ 14 โดยสถานการณ์ท่องเที่ยวมีการเติบโตในอัตราที่ดีมากเกือบร้อยละ 20 ในช่วงไตรมาสแรก จากสัญญาณของการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มปรับตัวได้ดี แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงไตรมาส 2 อัตราการขยายตัวแผ่วลง เหลืออัตราการขยายตัวร้อยละ 5 จากปัญหาวิกฤติทางการเมืองของไทย อย่างไรก็ดี เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองของไทยเข้าสู่ความสงบสถานการณ์ท่องเที่ยวเริ่มปรับตัวดีขึ้นมาเป็นปกติได้ ในช่วงกลางไตรมาส 3 ประกอบกับยังมีปัจจัยผลักดันให้การท่องเที่ยวขยายตัวเพิ่มขึ้น คือ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้เปิดเที่ยวบินตรงขึ้นใหม่อีกครั้ง ในเส้นทางกรุงเทพฯ– โจฮันเนสเบิร์ก จำนวน 4 เที่ยวบิน/สัปดาห์ ในวันที่ 2 มิถุนายน 2553 เพื่อรองรับความต้องการเดินทางในช่วงที่มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกที่ประเทศแอฟริกาใต้ หลังจากที่ได้ยกเลิกทำการบิน ในช่วงเดือนมกราคม 2552 จึงทำให้สถานการณ์ท่องเที่ยวตลาดแอฟริกาใต้มีการปรับตัวดีขึ้นมาก
รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ทั้งปี 2553
จากสรุปผลสถิติจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทย ของปี 2553 มีจำนวน 15.93 ล้านคน อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 12.63 สามารถสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ประมาณ 592,794.09 ล้านบาท อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.18 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทย มีระยะเวลาพำนักโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 9.12 วัน มีการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันต่อคน อยู่ที่ 4,078.67 บาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.68 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
แนวโน้มสถานการณ์ตลาดต่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทย ปี 2554
จากปัจจัยขับเคลื่อนที่ดีต่อเนื่องจากครึ่งหลัง ของปี 2553 ต่อเนื่องไปยังช่วงต้นปี 2554 โดยในเดือนมกราคม 2554 ยังมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.62 นอกจากนี้ สถานการณ์การเมืองไทยยังอยู่ในความสงบ และภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกกำลังมีการฟื้นตัวดีขึ้น จึงคาดว่านักท่องเที่ยวตลาดต่างประเทศน่าจะมีการขยายตัวได้ดีสู่แนวโน้มสถานการณ์ท่องเที่ยวปกติ
โดยมีข้อมูลสนับสนุนการขยายตัว ดังต่อไปนี้
1. จากข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF : International Monetary Fund) ณ เดือนมกราคม 2554 ปรับประมาณการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ของปี 2554 ดีขึ้นจากประมาณการณ์เดิมอีกร้อยละ 0.2 ดังนั้น ในปี 2554 จะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 และ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ในปี 2555
2. จากข้อมูลขององค์การการท่องเที่ยวโลก (UNWTO World Tourism Barometer) ณ เดือนมกราคม 2554 คาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางระหว่างประเทศ มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4 - 5 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
3. จากข้อมูลขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO : International Civil Aviation Organization) ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2554 คาดว่าในปี 2554 ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเป็นผู้นำการขยายตัวทางด้านการขนส่งทางอากาศ โดยจะสามารถมีอัตราการเติบโตการขนส่งทางอากาศสูงกว่าอัตราการเติบโตการขนส่งทางอากาศในภาพรวมของโลก อีกร้อยละ 2 เป็นอย่างน้อย (คาดว่าภาพรวมของอัตราการขนส่งทางอากาศ ในปี 2554 ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.7)
4. จากข้อมูลจำนวนเที่ยวบินและที่นั่งโดยสารเครื่องบินเข้าประเทศไทย ในช่วงปี 2554 มีอัตราการขยายตัวของจำนวนเที่ยวบิน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.46 และอัตราการขยายตัวของจำนวนที่นั่งโดยสารเครื่องบิน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.22 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
แม้ว่า จะมีปัจจัยที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเดินทางท่องเที่ยว ดังต่อไปนี้
1. การแข็งค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลัก
2. ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น
3. มาตรการการปรับขึ้นภาษีการโดยสารทางอากาศ (APD : Air Passenger Duty) ของกลุ่มประเทศยุโรป
4. การเกิดภัยธรรมชาติ การก่อการร้าย หรือแม้กระทั่ง การอุบัติขึ้นของโรคระบาดใหม่ ๆ ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า
5. การเกิดข้อพิพาทระหว่างไทย - กัมพูชา
6. ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทย
ประมาณการณ์แนวโน้มจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทย ในปี 2554
หากไม่เกิดเหตุวิกฤติใด ๆ อย่างรุนแรงและเกินความคาดหมาย คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ประมาณ 16.8 ล้านคน อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6 ซึ่งจะส่งผลให้เกิดรายได้จากตลาดต่างประเทศ ประมาณ 632,800 ล้านบาท อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา
จากปัจจัยขับเคลื่อนที่ดีต่อเนื่องจากครึ่งหลัง ของปี 2553 ต่อเนื่องไปยังช่วงต้นปี 2554 โดยในเดือนมกราคม 2554 ยังมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.62 นอกจากนี้ สถานการณ์การเมืองไทยยังอยู่ในความสงบ และภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกกำลังมีการฟื้นตัวดีขึ้น จึงคาดว่านักท่องเที่ยวตลาดต่างประเทศน่าจะมีการขยายตัวได้ดีสู่แนวโน้มสถานการณ์ท่องเที่ยวปกติ
โดยมีข้อมูลสนับสนุนการขยายตัว ดังต่อไปนี้
1. จากข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF : International Monetary Fund) ณ เดือนมกราคม 2554 ปรับประมาณการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ของปี 2554 ดีขึ้นจากประมาณการณ์เดิมอีกร้อยละ 0.2 ดังนั้น ในปี 2554 จะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 และ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ในปี 2555
2. จากข้อมูลขององค์การการท่องเที่ยวโลก (UNWTO World Tourism Barometer) ณ เดือนมกราคม 2554 คาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางระหว่างประเทศ มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4 - 5 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
3. จากข้อมูลขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO : International Civil Aviation Organization) ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2554 คาดว่าในปี 2554 ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเป็นผู้นำการขยายตัวทางด้านการขนส่งทางอากาศ โดยจะสามารถมีอัตราการเติบโตการขนส่งทางอากาศสูงกว่าอัตราการเติบโตการขนส่งทางอากาศในภาพรวมของโลก อีกร้อยละ 2 เป็นอย่างน้อย (คาดว่าภาพรวมของอัตราการขนส่งทางอากาศ ในปี 2554 ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.7)
4. จากข้อมูลจำนวนเที่ยวบินและที่นั่งโดยสารเครื่องบินเข้าประเทศไทย ในช่วงปี 2554 มีอัตราการขยายตัวของจำนวนเที่ยวบิน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.46 และอัตราการขยายตัวของจำนวนที่นั่งโดยสารเครื่องบิน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.22 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
แม้ว่า จะมีปัจจัยที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเดินทางท่องเที่ยว ดังต่อไปนี้
1. การแข็งค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลัก
2. ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น
3. มาตรการการปรับขึ้นภาษีการโดยสารทางอากาศ (APD : Air Passenger Duty) ของกลุ่มประเทศยุโรป
4. การเกิดภัยธรรมชาติ การก่อการร้าย หรือแม้กระทั่ง การอุบัติขึ้นของโรคระบาดใหม่ ๆ ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า
5. การเกิดข้อพิพาทระหว่างไทย - กัมพูชา
6. ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทย
ประมาณการณ์แนวโน้มจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทย ในปี 2554
หากไม่เกิดเหตุวิกฤติใด ๆ อย่างรุนแรงและเกินความคาดหมาย คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ประมาณ 16.8 ล้านคน อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6 ซึ่งจะส่งผลให้เกิดรายได้จากตลาดต่างประเทศ ประมาณ 632,800 ล้านบาท อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา